ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ก.คมนาคม เปิดอบรมการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้านเทคโนโลยีของกระทรวงคมนาคม
29 ส.ค. 2566

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง ประจำกระทรวง (Ministry Chief Information Officer: MCIO) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หัวข้อ “การรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อระบบและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวงคมนาคม” โดยมีผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมอบรม ในวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมคมนาคม อาคารคมนาคม 2 กระทรวงคมนาคม

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) การกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สอดรับกับแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมของกระทรวงฯ ฉบับปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาโครงข่ายและบริการระบบขนส่ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และแผนพัฒนาด้านดิจิทัลกระทรวงฯ (แผนคมนาคมดิจิทัล 2027) ได้กำหนดนโยบายให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาและขับเคลื่อนงานและภารกิจของกระทรวงฯ ให้ก้าวไปสู่การเป็นคมนาคมขนส่งแบบอัตโนมัติ (Autonomous Transport) ซึ่งจากนโยบายและการปฏิบัติงานตามภารกิจอย่างเข้มแข็งของหน่วยงานในสังกัด ทำให้กระทรวงฯ มีแผนงานโครงการจำนวนมากที่มีการพัฒนา ปรับปรุง และทดแทนระบบสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นการดีต่อการยกระดับการคมนาคมขนส่งให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรงเวลา มีการขนส่งในหลายรูปแบบ สามารถรองรับการใช้งานของประชาชนในทุกกลุ่มช่วงวัย การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนางานบริการให้ทันสมัย จะสร้างความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน และเพิ่มศักยภาพให้ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ แต่การพัฒนาต้องคำนึงถึงเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่หน่วยงานได้พัฒนาควบคู่กันด้วย ที่ผ่านมามีข่าวการโจมตีเว็บไซต์ และการโจรกรรมข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐผ่านทางสื่อโซเชียลต่าง ๆ ปัจจุบันปัญหาทางไซเบอร์และการโจรกรรมข้อมูล ทั้งข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลองค์กรมีความรุนแรงและหลากหลายมากขึ้น ถ้าหากไม่มีการระวังหรือรู้ไม่เท่าทันกลลวงอาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อตนเองหรือลุกลามไปในระดับองค์กร ดังนั้น ทุกหน่วยงานจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรในมิติอื่น ๆ สำหรับการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ กระทรวงฯ ไม่สามารถสู้หรือรับมือได้เพียงลำพัง จะต้องมีพันธมิตรในการร่วมป้องกัน รับมือ และแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างกระทรวงฯ กับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อร่วมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงรูปแบบของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน รวมถึงเรียนรู้วิธีการหรือแนวทางในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างถูกต้อง และนำความรู้มาใช้วางมาตรการเฝ้าระวังให้กับหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...