ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
โครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (ส่วนเพิ่ม) ระยะที่ 1 ควบคุมการปล่อยมลสารทางอากาศได้ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
31 มี.ค. 2563

             โครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (ส่วนเพิ่ม) ระยะที่ 1 ของ กฟผ. แหล่งพลังงานไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มาพร้อมกับเทคโนโลยีการควบคุมมลสารทางอากาศที่มีมาตรฐาน เน้นการรักษามาตรฐานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ความมั่นใจกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ว่าสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

              การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (ส่วนเพิ่ม) ระยะที่ 1 ดำเนินการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในเขตนครหลวง กรุงเทพและปริมณฑล เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยมีแผนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ในปี พ.ศ. 2571 ก่อนการก่อสร้างจะต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่รอบโครงการให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เสียง น้ำผิวดิน อากาศ เป็นต้น สำหรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ(ส่วนเพิ่ม)ระยะที่  1 ได้ออกแบบโรงไฟฟ้าให้มีค่าการระบายมลสารต่ำ มีระบบ Low NOx Burner เพื่อควบคุมปริมาณก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง พร้อมทำการติดตั้งระบบตรวจติดตามการระบายมลสารทางอากาศแบบต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring System ; CEMS) เพื่อตรวจสอบค่าความเข้มข้นของก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนที่ระบายออกจากปล่อง

             มลสารที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าจะถูกควบคุมให้มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้าตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 โดยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนจะถูกควบคุมให้ไม่เกิน 70 ส่วนในล้านส่วน สำหรับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ควบคุมให้ไม่เกิน 10 ส่วนในล้านส่วน และควบคุมค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง (PM) ควบคุมให้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่สภาวะอากาศแห้ง และออกซิเจนส่วนเกินจากการเผาไหม้ ร้อยละ 7

            สำหรับการดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการฯ ได้ดำเนินการตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งจะศึกษาให้ครอบคลุมทุกด้าน จากนั้นจะประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน เพื่อนำไปกำหนดเป็นมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่โครงการฯ ต้องถือปฏิบัติโดยการตรวจวัดคุณภาพอากาศ โครงการฯ จะใช้วิธีการตรวจวัดตามมาตรฐานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดโดยมีการตรวจวัดแบบต่อเนื่อง และแสดงผลให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องโรงไฟฟ้าผ่านจอแสดงผล ที่ติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ และบริเวณถนนบางกรวย-ไทรน้อย และการตรวจวัดแบบครั้งคราวโดยหน่วยงานที่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีการวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานราชการ

กฟผ. ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้า  ควบคู่ไปกับภารกิจรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงไฟฟ้าเป็นสำคัญ เพื่อให้โรงไฟฟ้าและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จจะช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของเขตนครหลวงในระยะยาว และตอบสนองต่อความต้องการต้องการใช้ไฟฟ้าในทุกสถานการณ์ และ กฟผ. ยังทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรม สังคม และทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...