ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ผู้ตรวจการแผ่นดิน เชื่อมั่น ปัญหาขาดแคลน 'หน้ากาก-เจล' มีแนวโน้มดีขึ้น
28 มี.ค. 2563

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวานนี้ (27 มี.ค.2563) ต่อกรณีปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจล โดยในการประชุมดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า เรื่องการขาดแคลนหน้ากากอนามัยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ได้เข้ามาบริหารจัดการหน้ากากอนามัยที่ใช้ทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศทั้งหมด 100% ซึ่งมีการเพิ่มกำลังการผลิต 2.3 ล้านชิ้นต่อวัน

นอกจากนั้น การที่กรมศุลกากรได้ลดภาษีศุลกากรนำเข้าหน้ากากอนามัยและวัสดุที่ใช้ทำหน้ากากอนามัยแล้ว จึงคาดว่าจะมีการนำเข้าหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้น แต่ยังพบว่ามีปัญหาเรื่องราคาวัสดุที่ใช้ผลิตหน้ากากอนามัยซึ่งแพงขึ้นถึง 10 เท่า โดยกระทรวงพาณิชย์จะมีการหารือกับผู้ประกอบการต่อไปเพื่อให้มีวัสดุในการผลิตหน้ากากอนามัยไม่ขาดแคลน และอาจจะมีการสนับสนุนผู้ประกอบการในเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

สำหรับการจัดสรรหน้ากากอนามัยให้บุคลาการทางการแพทย์ก็มีแนวโน้มดีขึ้น ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้จัดสรรให้บุคลาการทางการแพทย์เป็นลำดับแรก คิดเป็น 70-80% ซึ่งก็ถือว่าดีขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและจำนวนผู้ติดเชื้อ เพราะการใช้หน้าการอนามัยจะต้องใช้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยด้วย ส่วนเรื่องการควบคุมราคากระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศควบคุมราคาหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศในราคา 2.50 บาท ส่วนหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากต่างประเทศหรือหน้ากากอนามัยชนิดอื่นที่ผลิตในประเทศนั้น ตามประกาศคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กำหนดให้มีการเหลื่อมราคา หรือกำไร เพิ่มขึ้นจากจุดนำเข้าหรือจุดที่ผลิตได้ 60% หากขายเกินจากนั้นจะมีความผิด

ส่วนเรื่องแอลกอฮอล์เจล กรมสรรพสามิตได้ออกประกาศยกเว้นภาษีโรงงานผลิตเอทานอล เปิดทางให้ส่งแอลกอฮอล์ไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์เจล เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแล้ว และมีการทยอยขนส่งเอทานอลในสต๊อกไปผลิตแอลกอฮอล์เจลแล้ว 5 ล้านลิตร และยังเหลืออีก 30 ล้านลิตร ที่อยู่ระหว่างรอขนส่งไปโรงงานผลิตแอลกอฮอล์เจล จึงคาดว่าเมื่อมีปริมาณแอลกอฮอล์เจลมากขึ้นจะทำให้ราคาปรับตัวลดลงตามไปด้วย และเชื่อว่าไม่มีความจำเป็นที่ผู้ผลิตแอลกอฮอล์เจลจะกักตุนเอทานอลดังกล่าว เพราะไม่เป็นประโยชน์ที่จะกักตุนไว้ เพราะในสถานการณ์นี้มีแต่จะต้องรีบผลิตออกมาขาย และหากผู้ประกอบการฉวยโอกาสขายแพงเกินราคา จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...