ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
คมนาคมเตรียมของบ 1.5 พันล.อุ้มสายการบิน-บขส.
14 มี.ค. 2563

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2563 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส CIVID-19 ซึ่งนอกจากมาตรการเยียวยาสายการบินแล้ว กระทรวงฯ จะต้องเสนอขอรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ชดเชยรายได้ที่หายไปจากการเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ประกอบไปด้วย กรมท่าอากาศยาน (ทย.) เสนอขอรับเงินอุดหนุน 500 ล้านบาท และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ขอรับเงินอุดหนุน 700-1,000 ล้านบาท จากการนำรถโดยสารไปให้บริการรับส่งผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ

สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบของสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส CIVID-19 ใน 6 มาตรการ ได้แก่ มาตรการลดค่าใช้จ่ายของสายการบิน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2563 ได้แก่ 1. ปรับลดค่าบริการท่าอากาศยานที่สายการบินถูกเรียกเก็บจากผู้ประกอบการท่าอากาศยาน โดยปรับลดค่าบริการการขึ้น-ลงอากาศยาน (Landing charge) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) ลดลงอัตราร้อยละ 50 สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศและเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ทำการบินเข้าหรือออกประเทศกลุ่มเสี่ยง การปรับลดค่าใช้จ่ายที่ท่าอากาศยานอย่างอื่น ซึ่งมีผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการสายการบินสัญชาติไทยตามความเหมาะสม อาทิ ค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน เป็นต้น

2.ปรับลดค่าบริการเดินอากาศ (Air navigation service charge) ที่ถูกเรียกเก็บจากผู้ให้บริการเดินอากาศ ลดลงในอัตราร้อยละ 50 สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศและลดลงในอัตราร้อยละ 20 สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ทำการบินเข้าหรือออกประเทศกลุ่มเสี่ยง

3.ปรับลดค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (Regulatory fee) ที่เรียกเก็บจากสายการบินตามจำนวนผู้โดยสาร จากอัตราคนละ 15 บาท ลดลงเป็นคนละ 10 บาท สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ทำการบินเข้าหรือออกกประเทศกลุ่มเสี่ยง 4. ขอขยายการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นจากเดิมมีผลถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2563

มาตรการอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ของสายการบิน ได้แก่ 1.ด้านการจัดสรรเวลาการบิน โดยจะผ่อนผันการตัดสิทธิในฤดูกาลถัดไปให้สายการบินที่ยกเลิกเที่ยวบินจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยจะไม่ถูกนำมาใช้คำนวณเงื่อนไขการทำการบินของเวลาการบินต่อเนื่องที่ได้รับการจัดสรร เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของสายการบิน การประสานงานหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินในต่างประเทศที่สายการบินได้ยกเลิกเที่ยวบิน อาทิ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น เพื่อขอคงสิทธิในเวลาการบินที่ได้รับจัดสรรเดิม

2. ด้านการกำกับดูแลทางเศรษฐกิจ โดยทบทวนหลักเกณฑ์การขอจัดสรรเส้นทางบินใหม่ในเส้นทางภายในประเทศและปรับปรุงกระบวนการพิจารณาจัดสรรเส้นทางให้รวดเร็วขึ้น การเจรจาสิทธิการบินในเส้นทางระหว่างประเทศที่สายการบินของไทยมีศักยภาพในอนาคต อาทิ อินเดีย ปากีสถาน เกาหลีใต้ เป็นต้น

มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางทางอากาศ ได้แก่ 1. ออกประกาศรองรับสิทธิของสายการบินในการปฏิเสธผู้โดยสารที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส COVID-19  2.ประชาสัมพันธ์มาตรการด้านการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางทางอากาศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางทางอากาศ อาทิ กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย วิธีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในห้องโดยสาร เป็นต้น

มาตรการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว  ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ

มาตรการทางการเงิน ได้แก่ 1. ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ (Credit terms) ค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนที่สายการบินถูกเรียกเก็บจากผู้ประกอบการท่าอากาศยาน ผู้ให้บริการการเดินอากาศ และผู้ประกอบการจำหน่ายและบริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง 2.จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิ สายการบิน โรงแรม ภาคบริการต่าง ๆ เป็นต้น 

มาตรการอื่นๆ เช่น ลดค่าเช่าพื้นที่ลงร้อยละ 50 จากราคาค่าเช่าที่เพิ่งปรับขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการลดลงของผู้โดยสารตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยที่อัตราการจัดเก็บค่าเช่าหลังหักส่วนลดต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่กรมธนารักษ์กำหนด เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม – สิงหาคม 2563       

ทั้งนี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว และกระทรวงคมนาคมจะเสนอมาตรการดังกล่าวเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในวันที่ 17 มีนาคม 2563

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...