ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
(คลิป) สมาพันธ์ SME แนะบริการช่วย SME จบในที่เดียว แนะหลัก “4 อยู่” เคล็ดลับอยู่ให้รอดในยุคโควิด
12 มี.ค. 2564

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช เลขาธิการสมาพันธ์ SME ไทย กล่าวว่า สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการในสถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบัน มีอยู่ 3 เรี่องได้แก่ 1.เรื่องการเงิน ที่ยังดำเนินกิจการต่อไปได้เพียงแต่อาจจะติดเรื่องแหล่งทุน รวมไปถึงขาดทุนหมุนเวียน 2. ปรับตัวการเพิ่มขีดความสามรถรูปแบบธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มก็มีความสามารถหรือความเข้าใจในการปรับตัวที่แตกต่างกัน 3. ยอดขายที่ลดลง จากสภาวะลูกค้าที่กล้าใช้จ่ายลดน้อยลงผลของภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดี รวมไปถึงช่องทางการตลาดแบบผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อที่จะส่งเสริมยอดขาย

โดยในด้านการของการปรับตัวของผู้ประกอบการนั้นในกลุ่ม SME จะมีอยู่ 3 ระดับคือ ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME Micro ที่มีอยู่ 2,700,000 ราย ซึ่งมีขีดความสามารถในการปรับตตัวที่ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งอาจมาจากกลไกด้านข่าวสารหรือความช่วยเหลือของภาครัฐที่อาจยังเข้าไม่ถึงผู้ประกอบการกลุ่มนี้มากเท่าที่ควร ด้วยการปรับตัวที่ยังมีปัญหาอยู่เยอะ ขณะที่ผู้ประกอบการรายขนาดย่อม 400,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นนิติบุคคล ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการปรับตัวได้ดีกว่ากลุ่ม Micro   หรือขนาดกลาง ซึ่งมีอยู่ 40,000 ราย ก็มีบางส่วนที่ได้รับผลกระทบ โดยภาพรวม SME นอกจากสภาพคล่องทางการเงินแล้วแล้ว การปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันคือสิ่งมสำคัญ แต่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ SME ทุกกลุ่มสามารถปรับตัวได้ ถ้าหากมีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษามาทำงานอย่างใกล้ชิด จะทำให้การปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“ถ้าเราบ่มเพาะและเร่งการเติบโต SME เราก็จะมีธุรกิจ SME ที่เข้มแข็งส่งผลให้มีเศรษฐกิจเข้มแข็ง เหมือน เยอรมัน หรือฝั่งเอเชียคือ ญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ ขณะที่ภาครัฐพยายามเร่งพยายามปรับปรุงพัฒนา มีหลายส่วนที่ทำได้ดีเช่น โครงการคนละครึ่ง ที่ SME และหลายภาคส่วนได้รับประโยชน์ ซึ่งเราเองได้เสียงชื่นชมจากผู้ประกอบการค่อนข้างเยอะ หรือของธนาคารออมสินที่ถือเป็นธนาคารที่อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการ SME ก็มีโครงการ “มืที่มีเงิน” ที่จะมาช่วยรองรับธุรกิจท่องเที่ยวและ Supply Chain แต่เนื่องจากมีงบประมาณดำเนินโครงการแค่ 10,000 ล้านบาท เปิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เกลี้ยง ซึ่งอยากให้โครงการนี้มีไปต่อ อยากให้นำงบประมาณส่วนอื่นมาเพิ่ม เพื่อพยุงให้ผู้ประกอบการสามารถพ้นปีนี้ไปได้” เลขาธิการสมาพันธ์ SME ไทย กล่าว

แสงชัย เผยอีกว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการ สินเชื่อ “SMEs One” จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ที่เป็นสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยเพียง 1% โครงการนี้ทางสมาพันธ์ SME ไทย รวมถึงเครือข่ายภาคเอกชนมากมายได้ทำร่วมกับ ธพว. ในการรับสมัคร SME ในเครือข่าย รวมถึงทางสมาพันธ์ มีคณะกรรมการบริหารกลั่นกลองช่วยดูเอกสารและให้คำแนะนำให้กับผู้ประกอบการร่วมกับ ธพว. เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อน และต้องการสินเชื่อเพื่อไปเสริมสภาพคล่องหรือปรับเปลี่ยนนั้นเข้าถึงการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวได้ทั้งสองกลุ่มนั้นคือ นิติบุคคลอยู่สามารถขอสินเชื่อได้ประมาณ 3 ล้านบาทและบุคคลธรรมดาอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท

ลดสุดสมาพันธ์ SME ได้ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ร่วมกันดำเนินโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่มีหลักให้นำงบประมาณของแต่ละปี ต้องซื้อสินค้า SME ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้ากับภาครัฐ ทั้งสินค้าและบริการ ไม่ต่ำกว่า 30% ของและหน่วยงาน เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เม็ดเงินกระจายสู่ SME ได้ รวมไปถึง SME ท้องถิ่นสามารถเข้าถึงได้ ผ่านการลงทะเบียนออนไลน์หรือเว็บไซต์ www.thaismegp.com ก็จะเพิ่มอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียน สสว. และเพิ่มโอกาสเป็นคู่ค้าในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งตอนนี้ยังมี SME เข้าร่วมไม่มากนัก และทาง สมาพันธ์ SME ก็ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชนอื่นต่อไป

สำหรับสิ่งที่อยากให้ทางภาครัฐได้เร่งส่งเสริมมาตรการช่วย SME ในช่วงวิกฤตโควิดนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันยังได้มีการออกมาตรการพักชำระหนี้ แต่ไม่ได้พักดอก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการบางกลุ่มอาจอยู่ในสภาวะหนี้เสียหรือ NPL ดังนั้นจะทำอย่างให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ สามารถมีกองทุนฟื้นฟู NPL เพื่อให้เขาจะได้ปรับสภาพปรับตัวบ่มเพาะสามารถเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ได้หรือไม่ เปลี่ยนจากเอาสินทรัพย์ NPL ขายทอดตลาดในราคาถูก มาเป็นเพิ่มมูลค่าแทน

ซึ่งอาจรวมไปถึงทำการตลาดให้กับ SME ได้มีที่ยืนในตลาดในปัจจุบัน โดยสมาพันธ์ SME ได้ร่วมกับ สสว. เปิดตัวโครงการ Star Market (starmarket.in.th) เป็นอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มสำหรับจำหน่ายสินค้าจาก SME ทั่วประเทศ เพื่อให้แพลทฟอร์มเป็น E-commerce ระดับประเทศ ที่รวบรวมสินค้า SME ที่ได้มาตรฐาน ให้สามารถเลือกซื้อได้ในราคาที่ยุติธรรม

โดยส่วนหนึ่งปัญหาของ SME ไทยต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มหรือช่องทางของผู้ให้บริการต่างชาติ เช่น Facebook หรือ LINE จึงเป็นแนวคิดของการสร้างเว็บไซต์ Star Market ขึ้นมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการไทย

เว็บไซต์ Star Market ไม่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพราะมีผู้ประกอบการไทยทำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับขายของอยู่แล้วคือ lnwshop จึงเป็นการนำระบบของ lnwshop มาปรับแต่งให้เหมาะสมกับ SME และสนับสนุนด้านการโปรโมท การให้ความรู้กับผู้ขายเป็นหลัก พ่วงด้วยบริการจัดส่งถึงบ้าน

นอกจากตัวแพลตฟอร์มแล้ว ผู้ประกอบการที่เข้าร่วม Star Market ยังจะได้รับบริการถ่ายภาพสินค้าฟรี และช่วยทำเนื้อหาโปรโมทสินค้าจำนวน 3 รายการต่อร้านค้า มีบริการที่ปรึกษาออนไลน์ให้คำแนะนำเรื่องการขายสินค้าด้วย

ในเบื้องต้นมีผู้ประกอบการชุดแรกเข้าร่วมขายสินค้าบน Star Market จำนวน 280 ราย แบ่งเป็น 4 หมวดหมู่คือ

1.อาหารวัตถุดิบและอาหารแปรรูป เช่น อาหาร ขนม อาหารทานเล่น วัตถุดิบ เครื่องปรุง ผัก ผลไม้ เครื่องดื่ม

2.ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น สปา สมุนไพร

3.สินค้าตกแต่งบ้านและของใช้ เช่น อุปกรณ์ตกแต่ง ภาชนะใช้ภายในบ้าน ห้องอาหาร ห้องครัว

4.กลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆ

ซึ่งร้านค้าที่จะเข้าร่วม Star Market ต้องเป็นสมาชิกของ สสว. และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของ สสว. เช่น สินค้าต้องได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรัฐ หรือได้รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ, เป็นสินค้ามีชื่อเสียงติด Top 3 ของจังหวัด, ผลิตจากวัตถุดิบท้องถิ่น, สินค้า GI ของท้อง

“การจะอยู่ให้รอดในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้นั้นต้องมีอยู่ 4 อยู่ ได้แก่ 1.อยู่ให้รอด คืออยู่ให้รอดจากโควิด ปลอดภัย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง 2.อยู่ให้เป็น คือการ SME ปรับตัวรู้จักการเปลี่ยนแปลง ยอมรับและใช้ข้อมูลข่าวสารคิดกลยุทธ์ใหม่ ๆ ออกมา 3.อยู่เย็น คืออยู่ให้สบาย โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้วิกฤตเศรษฐกิจเข้ามาก็ยังอยู่ได้ เพราะเราไม่ได้ทำอะไรเกินตัวและ 4.อยู่ยาว คืออยู่ให้เกิดความยั่งยืน เราต้องรู้จักบริหารความเสี่ยง ดำเนินธุรกิจให้มีธรรมาภิบาล รวมถึงการบริหารจัดการด้านความเสี่ยง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้ SME อยู่รอดได้” แสงชัย กล่าวทิ้งท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...