ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ทีมมช.เจ๋งวิจัยเมล็ดมะเกี๋ยงต้านมะเร็งปากมดลูก
13 เม.ย. 2567

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทีมวิจัย BMBL และ OSRL ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับเครือข่ายวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการศึกษาวิจัย เพื่อปรับปรุงโครงสร้างทางเคมีที่แยกได้จากเมล็ดมะเกี๋ยง ด้วยการเติมหมู่ของกรดอะมิโน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งปากมดลูก และตรวจสอบศักยภาพในการต้านมะเร็งปากมดลูกในระดับหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยการวิเคราะห์วัฏจักรเซลล์ และการวิเคราะห์เอ็มอาร์เอ็นเอ  ภายใต้งานวิจัย หัวข้อ 2',4'-Dihydroxy-6' methoxy-3',5'-dimethylchalcone and its amino acid-conjugated derivatives induce G0/G1 cell cycle arrest and apoptosis via BAX/BCL2 ratio upregulation and in silico insight in SiHa cell lines

ผลการศึกษาพบว่า สารประกอบ 4'-O-(L-alanylated) DMC มีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งปากมดลูกชนิดสเควมัสเซลล์คาร์ซิโนม่า (SiHa) ด้วยการยับยั้งวัฏจักรเซลล์ที่ G0/G1 และมีการเพิ่มของระดับอาร์เอ็นเอของ TP53 และ CDKN1A ซึ่งส่งผลให้เพิ่มขึ้นของ BAX และมีการลดลงของ CDK2 ที่นำไปสู่การหยุดของวัฏจักรเซลล์และอะพอทโทซิส จากอัตราส่วนของ BAX/BCL2 มีการเพิ่มขึ้นของระดับอารเอ็นเอที่นำไปสู่กระบวนการอะพอทโทซิสภายในเซลล์ ซึ่งการค้นพบใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่า 4'-O-(L-alanylated) DMC มีศักยภาพในการต้านมะเร็งปากมดลูก และสามารถนำเอาองค์ความรู้ใหม่ของกลไกเชิงลึกในการต้านมะเร็งปากมดลูก ไปต่อยอดงานวิจัยในระดับสัตว์ทดลอง (in vivo) ได้

การศึกษาวิจัยนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนายาต้านมะเร็งปากมดลูกในระดับต้นน้ำ ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการต้านมะเร็งปากมดลูกชนิดใหม่ของอนุพันธ์ชาโคล ที่สามารถนำไปต่อยอดงานวิจัย สำหรับการทดลองในระดับสัตว์ทดลอง (in vivo) เพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตยาต้านมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ลดการนำเข้ายาราคาแพงจากต่างประเทศได้

ทีมผู้วิจัยนำโดย รศ.ดร.พัชณี แสงทอง ร่วมกับ รศ.ดร.พุฒินันท์ มีเผ่าพันธ์ เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัย พร้อมด้วย นาย ไกรกริช อุตมะ นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้รับทุนโครงการสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (TGIST) และนายนพวิชญ์ คำโทะ นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)

ทั้งนี้ ร่วมกับเครือข่ายวิจัยทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ ดร.สิทธิรักษ์ รอยตระกูล ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ผศ.ดร.จิราภรณ์ กันทะพันธ์ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาลัยเชียงใหม่  ผศ.ดร.จอมขวัญ มีรักษ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ดร.ไพฑูรย์ อบเชย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร European Journal of Pharmaceutical Sciences Volume 184, 1 May 2023 ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0928098723000210

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...