ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
โทษ “หว่ามก๋อ” ภัยธรรมชาติทำโครงการที่จอดเรือพัทยาพินาศ สุดท้ายผลสอบไม่คืบ ผ่านมา 15 ปี ยังทิ้งซากประจานความอัปยศ ที่ต้องสูญงบหลายร้อยล้าน แต่ไม่สามารถใช้งานได้จริง
29 มี.ค. 2567

       โครงการใหญ่ระดับประเทศที่หวังยกระดับความจัดเระบียบเรือท่องเทียวกว่า 800 ลำที่แต่เดิมใช้ลานเอนกประสงค์ท่าเทียยบเรือบาลีฮาย พัทยาใต้ทำเป็นที่จอด ซึ่งนอกจากจะนกมาซึ่งความไม่เป็นระเบียบแล้ว ยังมปัญหาในเรื่องของความสกปรกและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวที่เสียหาย กระทั่งต่อมาในยุค คสช.ได้มีการระดมกำลังพลเพื่อจัดระเบียบโดยให้ย้ายเรือทั้งหมดอ ออกจากลานเอนกประสงค์เพื่อนำปใช้งานอื่นได้อย่างเต็มที่ โดยหวังว่าเรือทั้งหมดจะเข้ามาจอดและใช้บริการของ“โครงการที่จอดเรือพัทยา” ที่เมืองพัทยาตั้งงบ ประมาณสร้าง 300 กว่าล้าน เพื่อจัดทำที่จอดเรือแบบไฮดรอริกส์ที่สามารถรองรับเรือได้ทั้งหมดกว่า 300 ลำ ตั้งแต่ปีงบประ มาณ 2551 โดยว่าจ้างทีมที่ปรึกษา คณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาจากกิจการร่ววมค้า Ping เข้ามาดำเนินการและกำหนดสเปควิธีการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งแนวกันคลื่น กันลม และที่จอดเรือมาตร ฐาน ซึ่งคาดว่าจะนำมาให้เกิดความสวยงามและความเป็นระเบียบรวมทั้งมีความทันสมัยของท่าเรือที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย


  
      นอกจากนี้ท่าจอดเรือแล้วเมืองพัทยายังพ่วงแผนการจัดสร้างอาคารที่จอดรถแบบใหม่ขึ้นอีก บริเวณหน้าท่าเทียบเรือแปลมบาลาย ซึ่งมีลักษระเป็นฮดรอกริกยกรถขึ้นไปเก็บไว้ด้านบนต่อๆกัน โดยรวมทั้ง 2 โครง การคอ ที่จอดรถ-จอดเรือ มูลค่ารวมกว่า 733 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้มีการส่งมอบงานในช่วงเดือนพฤศจิกายนปี 2556 แต่พบว่าจะมีเพียงอาคารจอดรถเท่านั้นที่ยังพอเปิดให้บริการได้ แต่ขณะที่ท่าจอดเรือนั้นปรากฏว่าหลังเวลาผ่านไปนานนับปีก็ยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้จริง
  
      และเมื่อโครงการดังกล่าวที่ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ จึงปล่อยให้มีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงอย่างต่อ เนื่อง โดยผู้ประกอบการเรือระบุว่าที่ไม่นำเรือเข้ามาจอดนั้นเพราะก่อนหน้าเสร็จโครงการได้มีการทดลองนำเรือมาจอดในทาและยกเรือขึนด้วยระบบไฮดรอริกพ้นน้ำแต่กลับไม่สามารถรองรับและใช้งานจอดเรือได้จริง เรื่องนี้เมืองพัทยาเองควรจะมาการศึกษาและสอบถามความคิดเห็นจากผู้ประกอบการก่อนออกแบบเพราะมีประสบ การณ์ด้านการเดินเรือมากกว่าแล้วค่อยลงมาจัดการตามคำนำเสนอ ทำให้สุดท้ายแล้วเมื่อมีการก่อสร้างจนแล้วเสร็จก็ไม่สามารรถใช้งานจริงตามที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ปัญหาอื่นๆยังมีเรื่องของการเคลื่อนไหวของตะกอนทรายใต้น้ำจากกระแสนำ และสุดท้ายกับปัญหาสำคัญที่นำมากล่าวอ้างว่าที่โครงการไม่สามารถเปิดใช้งานเพราะรับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติคือ “พายุหว่ามก๋อ” ที่สร้างความเสีย หายต่อโครงการอย่างหนักในช่วงปี 2558 ทำให้โครงการพังเสียหาย ชำรุดเกินกว่า 50 % สุดท้ายก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาใดๆด้วยต่างโยนความผิดกันไปมาว่าเสียหายเพราะภัยธรรมชาติ หรือการออกแบบที่ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริงกัแน่ จนเป็นปัญหาคาราคาซังมาจนถึงปัจจุบันกระทั่งมีการตั้งคณะ กรรมการจากหลายฝ่ายขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งในส่วนของ ปปช.และ สตง.ขณะที่สภาเมืองพัทยาเองที่ผ่านมาเคยมีการนำเรื่อเสนอเป็นญัตติเพื่อของบปรมาณซ่อมแซมแต่สุดท้ายก็ไม่มีการอนุมัติงบประมาณในการซ่อมแซมท่าเรือที่เสียหายให้ เพราะเกรงว่าจะถูกสังคมมองว่าใช้งบประมาณไปเอื้อผู้ประกอบการที่ไม่เข้ามาดำเนินการแก้ไขรับผิดชอบโครงการที่เสียหาย 


  
       จวบจนยุค คสช. ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาบริหารราชการเมืองพัทยา ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกหนึ่งชุดเพื่อสำรวจความเสียหาย และข้อเท็จจริงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุของภัยธรรมชาติหรือปัญหาเรื่องของหลักทางวิศวกรรมกันแน่ โดยขอความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานหลักด้านวิศวกรรมทะเลและชายฝั่งจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมแกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระ บัง ที่จะเข้ามาร่วมตรวจสอบ จนสุดท้ายได้มีการเปิดเผยผ่านทาง พ,.ต.ต.อนันต์ เตริญชาศรี นายกเมืองพัทยาในสมัยนั้นได้ออกมาเปิดเผยว่าผลสอบเสร็จสิ้น โดยแยกความผิดออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องเข้าข่ายการละเมิด ผิดพลาด ปล่อยปละละเลยโดยไม่เปิดใช้งานจริง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินราชการ และส่วนที่สองคือความเสียหายจากภัยธรรมชาติ จนโครงการไม่สามารถใช้การได้ แต่จนถึงปัจจุบันเรื่องดังกล่าวก็เงียบหายเข้ากลีบเมฆเช่นเดิม แต่ยังคงมีภาพของเศษวัสดุทุ่นลอยไปถูกกองทิ้งไว้เหมือนกองขยะที่มูลค่านับสิบล้านบาทเป็นจำนวนมากที่สนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออกเพื่อหลบสังคม
 
       มีรายงานว่าปัจจุบันโครงการนี้เมืองพัทยาได้ส่งเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางไปเพื่อให้เอาผิดกับบริษัทผู้ออกแบบให้มารับผิดชอบกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น โดยระบุว่าการออกแบบไม่รัดกุม แต่ปรากฏว่าล่าสุดศาลปกครองกลางได้พิพากษาออกมาแล้วว่าผู้รับจ้างไม่มีความผิดต่อความเสียหายของโครงการที่เกิด ขึ้น โดยเฉพาะความผิดจากการออกแบบโครงสร้างของโครงการตามที่เมืองพัทยาฟ้องร้อง
 
ดังนั้นเมืองพัทยาจึงจำเป็นที่ต้องทิ้งสภาพของโครงการและวัสดุไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพื่อรอผลการพิจารณาใหม่ด้วยหลังทราบผลคำพิพากษาจากศาลปกครองกลางแล้ว เมืองพัทยาก็ยืนยันที่จะขอต่อสู้ต่อไปตามขั้นนตอนของกฎหมายโดยได้อุทธรณ์และส่งเรื่องฟ้องร้องต่อไปยังศาลปกครองสูงสุดต่อไป...

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...