ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
TCELS ห่วงคนไทยป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 10 ล้านคน
20 ก.พ. 2567

           พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ข้อมูลจากกรมอนามัย ระบุว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังมากกว่า 11 ล้านคน  และมีมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องรักษาด้วยการล้างไตและฟอกเลือดซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

            การเลือกบริโภคอาหารจึงเป็นวิธีป้องกันโรคไตตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการลดอาหารที่มีรสชาติ หวาน มัน เค็ม พร้อมเพิ่มปริมาณการรับประทานผักและผลไม้ รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตรวจคัดกรองโรคไต ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการสืบค้นโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้ไตเสื่อมสภาพไปจนเกิดภาวะไตวายในที่สุด

            ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS: Thailand Center of Excellence for Life Sciences) เปิดเผยว่า TCELS ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ร่วมผลักดันนวัตกรรม ““ชุดตรวจคัดกรองไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ” ซึ่งเป็นชุดตรวจคัดกรองโรคได้ด้วยตัวเอง (Self Test)  ที่วิจัยและพัฒนาโดยคนไทย ช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

           “ชุดตรวจคัดกรองไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ” หรือ “ชุดตรวจคัดกรองโรคไต”  เป็นผลงานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้สำหรับการตรวจคัดกรองโรคไตในประชาชนทั่วไป และประชาชนกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้ป่วยโรคความดันสูง เบาหวาน และผู้ที่มีประวัติผู้ป่วยโรคไตในครอบครัว นวัตกรรมนี้จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย เนื่องจากสามารถตรวจคัดกรองเองได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวตั้งแต่ระยะแรก ๆ ส่งผลต่อการดูแลและป้องกันตั้งแต่ต้น ช่วยยืดระยะเวลาในการเป็นโรคไตเรื้อรัง ลดอัตราความรุนแรงของโรคไตในระยะท้าย ๆ ที่ต้องอาศัยการล้างไตและฟอกเลือด ซึ่งต้องใช้งบประมาณอย่างมหาศาล ทั้งนี้หากผลระบุว่าเข้าข่ายเป็นโรคไต สามารถเข้ารับการตรวจยืนยันกับทางโรงพยาบาล พร้อมการดูแลรักษาจากแพทย์ต่อไป

      ในปี 2566 ปี TCELS และ สปสช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพผลงานจากนักวิจัยไทย โดยการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์และสังคม ด้วยการสนับสนุนการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ พร้อมการผลักดันเข้าสู่สิทธิประโยชน์ในระบบ สปสช. ภายในปี 2566 จำนวน 3 รายการ  ประกอบด้วย “ชุดอุปกรณ์สำหรับเก็บสิ่งขับถ่ายจากทางช่องเปิดลำไส้หรือรูทวารเทียม” หรือ “ถุงทวารเทียม” สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  “รากฟันเทียม” สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันทั้งปาก  และ  “แผ่นปิดกะโหลกศีรษะเฉพาะบุคคลผลิตจากโลหะไทเทเนียม” สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเปิดกะโหลกเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ หรือเป็นโรคเนื้องอกในสมอง และโรคหลอดเลือดสมอง 

      และภายในไตรมาส 1 ปี 2567 จะมีนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพเข้าสู่สิทธิประโยชน์ในระบบ สปสช. อีก 3 รายการ ประกอบด้วย  “เท้าเทียมไดนามิกส์” สำหรับผู้พิการขาขาดบริเวณใต้เข่าลงไป  “ชุดตรวจคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ในตับ”  และ  “ชุดตรวจคัดกรองไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ”  

       ดร.จิตติ์พร กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ เป็นแนวทางการใช้องค์ความรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยความร่วมมือระหว่าง TCELS และ สปสช. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม อีกทั้งผลิตภัณฑ์ทุกตัวจะมีการติดตามประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Monitoring & Evaluation: M&E) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการใช้งานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        ขณะที่ชุดตรวจคัดกรองโรคด้วยตัวเอง (Self Test)  ถือเป็นการพัฒนานวัตกรรมที่เท่าทันยุคสมัย เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ผ่านมา วงการแพทย์และสุขภาพทั่วโลก ต่างหันมาตระหนักในการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพที่เข้าถึงได้อย่างสะดวกโดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล รวมทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล เพิ่มความเท่าทันในการรักษาโรคก่อนไปถึงระยะสุดท้าย ช่วยลดประมาณด้านหลักประกันสุขภาพจากทางภาครัฐ และเพิ่มศักยภาพและจำนวนของนวัตกรรมฝีมือคนไทย อันมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ สนับสนุนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพของไทยได้อย่างยั่งยืน

         "TCELS มุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมหลักที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนและสิ่งแวดล้อม “TCELS MAKE EVERY LIFE BETTER” ศึกษารายละเอียดและบริการของ TCELS ได้ที่ www.tcels.or.th Facebook: TCELS THAILAND"              

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...