ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ถอดรหัสผู้นำจีน กับBRIในทศวรรษที่สอง
20 พ.ย. 2566
ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีนหนึ่งในกูรูจีนที่สังคมยอมรับ ให้เกียรติช่วยวิเคราะห์ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ( Belt and Road Initiative : BRI) ของจีน หลังจากเดินหน้ามาครบรอบหนึ่งทศวรรษแรก( 2013 – 2023) ว่าได้เห็นอะไรกันบ้าง และในย่างก้าวสู่ทศวรรษที่สองมีอะไรที่แตกต่างหรือน่าติดตามกว่าเดิม การประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation หรือ BRFที่ปักกิ่งในเดือนตุลาคม 2023 มี 151 ประเทศ กับอีก 41 องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม รวมจำนวนคนกว่า10,000 คน ดร.ไพจิตรมองว่า ถือเป็นการประชุมที่ใหญ่ที่สุดของจีนในรอบปีเป็นงานใหญ่ที่สุดในยุคหลังโควิด ใครๆก็อยากมีส่วนร่วมแม้จะเล็กน้อย เราไม่ค่อยเห็นงานใหญ่ระดับนี้ที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นเจ้าภาพ
10ปีที่ผ่านมาของBRI ประการแรก คือประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จีนทำหลายสิ่งที่เดิมเป็นความฝันให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
เราไม่คิดว่าจากเดิมแต่ละปีมีการทดลองวิ่งรถไฟขนสินค้าจากเมืองอี้อู ทางภาคตะวันออกของจีนไปยังยุโรปใช้เวลา 28 วัน ทดลองปีละ 1 เที่ยว วันนี้สามารถวิ่งได้สัปดาห์ละหลายสิบเที่ยว
ขนสินค้าไปค้าขายระหว่างจีนกับเอเชียกลาง ยาวไปจนถึงยุโรปตะวันออก ต่อไปตะวันตกสะท้อนให้เห็นว่า BRI ที่จีนเคยขายฝันไว้ในอดีต วันนี้เป็นรูปธรรมแล้ว ตัวอย่างใกล้บ้านของไทยคือ รถไฟจีน-ลาว อาจจะมีคลิปที่โจมตีว่าลาวหลงไปเป็นหนี้จีนแต่ถ้ามีโอกาสได้คุยกับชาวลาว ได้เห็นสิ่งที่พวกเขาได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเส้นทางรถไฟจีน-ลาว อาจกล่าวได้ว่าประเมินค่าไม่ได้ เพราะตลอดเส้นทางได้นำความเจริญมาถึงผู้คนมาก สมัยก่อนจากเวียงจันทน์ไปถึงหลวงพระบางต้องใช้เวลาเดินทางเป็นวัน หรือต้องเตรียมเสบียงไว้เผื่อรถเสียหรือติดหล่มกลางทาง แต่เดี๋ยวนี้เดินทางด้วยรถไฟจีน-ลาว เพียงไม่ถึง 2 ชั่วโมง และค่าโดยสารก็อยู่ในระดับที่คนลาวใช้จ่ายได้ ไม่ใช่สูงจนจับต้องไม่ได้และคนท้องถิ่นไม่ได้รับประโยชน์  ให้ผู้คนระดับหัวเมืองมีการติดต่อสื่อสารมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น เจอหน้ากันง่ายขึ้น เกิดมิติด้านการท่องเที่ยว ขยายตัวด้านการค้าการลงทุน และมิใช่เพียงชาวลาว แต่ชาวต่างชาติก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย
 
จากโครงการรถไฟจีน-ลาว มีผลให้ชาวลาว 3,000 – 4,000 คน มีงานประจำทำ แน่นอนว่าบางส่วนเป็นเรื่องของช่างเทคนิคที่ต้องเรียนรู้ อาจต้องใช้คนจีนบ้าง แต่ในงานบริการเป็นคนลาวล้วน
ทวีปแอฟริกาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้รับประโนชน์จากBRI สูงมาก เพราะจีนเข้าไปเชื่อมพื้นที่ต่างๆด้วยโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ สนามบิน ถนน สะพาน อุโมงค์ จัดสรรเงินกู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี จนกระทั่งแอฟริกาได้รับประโยชน์มาก เปลี่ยนแปลงไปมาก สนามฟุตบอลที่มีแต่ดินฝุ่นแดงตอนนี้เปลี่ยนเป็นสนามหญ้าเทียม คุณภาพชีวิตของชาวแอฟริกันจำนวนไม่น้อยที่ดีขึ้นจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างชัดเจน ตอนนี้หากไปแอฟริกาเราอาจจะตกใจเมื่อพบว่าคนแอฟริกันหลายประเทศในหลายชุมชนสามารถพูดภาษาจีนได้อย่างคล่องปาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมิติด้านการศึกษา มิติด้านการสาธารณสุขก็เป็นส่วนหนึ่งที่BRIเข้าไปแตะ เพราะเดิมแอฟริกามีปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บมากจีนไม่ได้มองBRIว่าทำแค่การเชื่อมถนนหนทางเท่านั้น จีนวางแผนไปถึงเรื่องการปลดล็อคกฎระเบียบต่างๆ ทำยังไงให้สินค้าระหว่างกันจะเคลื่อนย้ายโดยคิดขัดเรื่องภาษีหรือกฎระเบียบได้น้อยลง หรือให้คนไปมาหาสู่กันได้ง่ายขึ้น
จีนเตรียมเปิดวีซ่าฟรีให้คนทางแถบคาซัคสถานสามารถเดินทางไปมากับจีนได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องของวีซ่า การช่วยปลดล็อคคนให้หลุดพ้นจากความยากจนหลายสิบล้านคน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่สั่งสมเรียนรู้มานาน 40ปีก่อนจีนมาดูงานด้านเกษตรที่ไทย ตอนนี้ได้ทำการผ่องถ่ายเทคโนโลยีการเกษตรให้คนประเทศอื่นที่ต้องการใช้ประโยชน์ในแถบแอฟริกาและ
ระเบียงเศรษฐกิจ แม้แต่เทคโนโลยีชะลอการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย แต่กำลังสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการของจีนพัฒนาสายพันธุ์พืชและโมเดลธุรกิจที่จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทะเลทราย เพื่อประโยชน์ด้านการเกษตรและด้านพลังงาน ซึ่งน่าจะเกิดในทศวรรษที่สองของBRI ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของBRI จีนได้ร่วมมือกับนานาประเทศพัฒนาโครงการต่างๆมากกว่า 3,000 โครงการ หรือเฉลี่ยปีละ 300 โครง หรือวันละเกือบ 1 โครงการ หากประเทศไม่มีความพร้อมไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีระบบนิเวศที่ดี โครงการต่างๆเหล่านี้ก็ยากที่จะเกิดเพราะเป็นโครงการระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดีมีผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่ามีประมาณ 1 ใน 3 หรือ 1,000 โครงการที่มีปัญหา มี 2,000 โครงการที่ดำเนินการต่อไปได้ มั่นใจว่าBRIจะดำเนินการต่อไปในระยะยาว เพราะจีนได้เอาBRIไปใส่ในธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่จะต้องสานต่อในระยะยาว อย่างน้อยก็ต้องมีมากกว่า 2,000 โครงการที่ดำเนินต่อไป มีคำถามว่าทำไมในสมัยของสี จิ้นผิง จึงผลักดันเรื่องนี้มาก ก็เพราะจีนเวลาจะทำอะไรมักจะมีมิติของการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กัน สิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่คือสี จิ้นผิง เอาเรื่องของBRIเป็นเสมือนเสาหลักของการพัฒนา หรือเป็นวิสัยทัศน์ของการต่างประเทศของจีน ไอเดียที่บอกว่าจีนขายฝัน อยากสร้างสังคมโลกที่มีอนาคตร่วมกันจะกระทำผ่านยุทธศาสตร์BRIนี้ ดังนั้นหากเอาBRIออก หรือไม่เดินหน้าต่อ ก็เท่ากับว่าวิสัยทัศน์ของผู้นำจะขาสดกลไก จะขาดแขนขาในการสร้างสิ่งที่เป็นรูปธรรม จีนมองระเบียบสังคมโลกในระยะยาว หากเราดูคำกล่าวของสี จิ้นผิง มีท่อนหนึ่งที่น่าสนใจ เขากล่าวว่าการที่จีนและประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องมาร่วมกัน เหมือนช่วยกันปลูกต้นไม้ 10ปีจากนี้เราน่าจะได้ลิ้มรสได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากดอกผลที่จะเกิดขึ้น นั่นแปลว่าBRIจากนี้ไปไม่ใช่แค่การลงทุนสร้างอย่างเดียว แต่การลงทุนที่ทำไปแล้วตลอด 10 ปีที่ผ่านมากำลังจะสร้างประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องตามแนวหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอย่างเป็นรูปธรรมในระดับที่สูงขึ้นเรื่องConnectivity ยังเป็นเรื่องใหญ่เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่จีนทำไปยังเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆของสิ่งที่จีนฝัน ยังมีอีกหลายระเบียงเศรษฐกิจที่จีนฝัน เช่นการทำโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกๆคน (Infrastructure for All) ซึ่งจะต้องขยายทั้งเชิงปริมาณและยกระดับเชิงคุณภาพ หรือโครงการ Ice Silk Road ที่เพิ่งอยู่ในขั้นเตาะแตะ ไม่ต้องอื่นไกลแค่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่คุยมานานแต่เริ่มไปได้นิดเดียว ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องผลักดันกันต่อไปให้สำเร็จในทศวรรษที่สองของ BRI นี้แหละ 
 
โลกของจีน / ชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...