ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เลขาสคบ.แจงหนังสือ/ตำราไม่ต้องมีมอก.แต่ควรบอกผู้บริโภค
08 พ.ย. 2566

 นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ใช้   เฟซบุ๊กชื่อ “Theerapat Charoensuk” ลงข้อความเผยแพร่แบบสาธารณะ หัวข้อ "สรุปเรื่อง หนังสือต้องมีฉลาก วิบากกรรม สคบ." รวมถึงกรณีที่มีข่าวจากเว็บไซต์ www.voicetv.co.th หัวข้อ “จรัญ หอมเทียนทอง อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ โวย ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กำหนดให้หนังสือ แบบเรียน ต้องมี มอก. ชี้กระทรวงอุตสาหกรรมควรยกเลิก” ภายหลังจากที่เกิดกระแสข่าวดังกล่าว สคบ. ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เนื้อหาที่เผยแพร่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคม และส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้าง

ทั้งนี้ สคบ. ได้เผยแพร่ข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ผ่านทางเฟซบุ๊ก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2566 โดยระบุเนื้อหาว่า คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้แบบเรียน หนังสือ เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ในการให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงแก่ผู้บริโภค เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าโดยข้อมูลที่ระบุในฉลากเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ชื่อผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเพื่อขาย สถานที่ตั้ง ในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิต ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ ราคา เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่เพียงพอในการเลือกซื้อสินค้า

ส่วนที่ นายจรัญ หอมเทียนทอง ให้ข่าวออกไปว่าการกำหนดประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากเป็นการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย นั้น  เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจาก สคบ. เพียงกำหนดให้สินค้าที่ควบคุมฉลากต้องให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อผู้บริโภค ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรฐานของสินค้าแต่ประการใด ในเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) 

 นายธสรณ์อัฑฒ์ฯ กล่าวต่อไปอีกว่า  “ตามข้อสั่งการของ ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ สคบ. ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดทันทีภายหลังจากที่ทราบข่าว ซึ่งเบื้องต้น สคบ.
ได้ทำการชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊กของ สคบ.  และจะนำประเด็นนี้ เสนอต่อคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เพื่อพิจารณาความเหมาะสม และจะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจและประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายต่อไป”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...