ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ศูนย์คุณธรรมมุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยคนรุ่นใหม่
01 ก.ย. 2565

"ศูนย์คุณธรรม" เปิดตัว MORAL HACKATHON ออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี65 ชี้ อนาคตเป็นโจทย์ท้าทาย ในการสร้างสังคมดิจิทัล ควบคู่การเปลี่ยนแปลง ระบุ ต้องใช้ความสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม MORAL HACKATHON 2022 : การออกแบบนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2565 ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ชั้น 3 โดยมี รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อํานวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เป็นประธาน และ ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 

ภายในงานยังมีกิจกรรม Mini Talks หัวข้อ “ร่วมออกแบบอนาคตสังคมคุณธรรม” โดยมีแขกรับเชิญพิเศษที่จะมาเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) การจัดแข่งขันครั้งนี้ ประกอบด้วย นายรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Fixzy, นายบีอิ้ง แซ่อัง Data Scientist at Health Tech Start up นักพัฒนา AI ; Visual Computing เข้าร่วมพูดคุยถึงแนวคิด /แรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรม ร่วมกับรศ.นพ. สุริยเดว

รศ.นพ. สุริยเดว กล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตการพัฒนาสังคมคุณธรรมกับนวัตกรรม มองว่าในโลกอนาคตซึ่งเป็นโลกดิจิทัลนั้น โจทย์ที่ท้าทายสังคมคือ เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้มีความสุขซึ่งหัวใจสำคัญคือต้องเดินควบคู่ไปกับโลกดิจิทัลและสังคมที่มีคุณธรรม ศูนย์คุณธรรมได้เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงได้ร่วมมือกับ depa ในการสร้างสังคมดิจิทัลควบคู่ไปกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่สังคม โดยใช้พลังบวกของคนรุ่นใหม่ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมทั้งส่งมอบคุณค่าที่ดีให้แก่คนในสังคม

ขณะที่นายรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ มองว่า ในฐานะที่เป็นผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ ต้องให้ความสำคัญต่อคุณค่าของพนักงานหรือกลุ่มแรงงาน เพราะเขาจะมีส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆซึ่งทาง Fixy นั้น ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่รวบรวมรายชื่อช่างที่มีคุณภาพเพื่อส่งมอบความสะดวกให้คนในสังคม ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้น นักพัฒนานวัตกรรมต้องเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่าไปหลงเชื่อ หลงรัก สิ่งที่ตนเองเชื่อหรือเป็นมาตลอด และต้องมีความหวังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นด้วยพลังบวก 

นอกจากนั้น นายบีอิ้ง ได้กล่าวถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานในวงการสตาร์ทอัพ สิ่งแรกต้องมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และความพยายามที่จะทำงานออกมาให้สำเร็จและดีที่สุด โดยต้องยอมรับตนเอง มั่นใจในตัวเอง และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นคุณบีอิ้งได้กล่าวถึงเคล็ดลับของการเก็บข้อมูล เราไม่สามารถเก็บ data ครั้งเดียวแล้วได้ข้อมูลสมบูรณ์ที่สุด เราต้องเก็บหลายครั้ง และนำข้อมูลครั้งแรกมาเป็นเทรนด์ เพื่อใช้มองภาพพัฒนางานต่อไปในอนาคต

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งสามคนมองตรงกัน และเป็นจุดร่วมที่จะทำให้เกิดการพัฒนาด้านนวัตกรรมในอนาคตคือ การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้คนเกิดความสุข ซึ่งจะทำให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ความยั่งยืนได้ 

โดยรศ.นพ.สุริยเดว ทิ้งท้ายว่าผู้ที่สนใจการแข่งขันในครั้งนี้ว่า อยากเห็นพลังบวกของคนรุ่นใหม่ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่จะส่งผลผลิตที่ดีให้กับผู้คนในสังคม และที่สำคัญคือการส่งมอบความสุขให้กับคนในสังคม การแข่งขัน Moral Hackathon 2022 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาในรั้วอุดมศึกษา และผู้ที่ทำงานในแวดวงเทคโนโลยีและธุรกิจสตาร์อัพ (Start-up) ได้พัฒนาแนวคิด / วิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาคุณธรรมในสังคมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์คุณธรรมจึงได้กำหนดโจทย์การแข่งขันครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด“Make a Change : ทุกคนเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน เพื่อรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยแนวคิดดังกล่าวต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผู้ที่ชนะการแข่งขัน จะได้รับเงินรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรจากศูนย์คุณธรรมรวมกว่า 150,000 บาท เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 19 กันยายน 2565 ที่เว็บไซต์ www.moralhackathon.com ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้ารับการอบรม (Workshop) และแข่งขัน (Hack day) ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) จำนวน 3 วัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...