ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
นายกฯ ไฟเขียว ทีพีไอ เดินหน้าทำเหมืองสระบุรี
22 ก.ย. 2564

นายกฯ เตือน กลุ่มสามมิตร หยุด เล่นการเมือง กลั่นแกล้งภาคเอกชน จี้ “สุริยะ-สมศักดิ์” ต้องผ่อนผัน “ทีพีไอ” เอกชนใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 A-1ฺB ที่ เหมืองสระบุรี หลังทำทุกอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอน ย้ำต้องเร่งเดินหน้า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.ย.2564 ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอการขอผ่อนผันให้บริษัท “ทีพีไอโพลีน” จำกัด (มหาชน)ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 A และ 1 B เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีการชลอไว้ระยะหนึ่งแล้ว ควรเร่งเดินหน้าเนื่องจากเป็นโมเดลทางเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้เรื่องดังกล่าว เป็นไปตามคำขอประทานบัตรที่ 2 – 3/2553 และที่ 1 – 8/2555ที่จังหวัดสระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2533 และที่ 1 – 8/2555 ที่จังหวัดสระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2533 วันที่ 21 ก.พ. 2538 และวันที่ 6 ก.พ.2544 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป

สาระสำคัญคือ ทีพีไอเป็นผู้ถือประทานบัตร จำนวน 10 แปลง ในพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 2 – 3/2553 และที่ 1 – 8/2555 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน และ หินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย และ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี รวมเนื้อที่ 2,706 ไร่ 79 ตารางวา

โดยการขอผ่อนผันการใช้พื้นที่เพื่อการทำเหมืองในครั้งนี้ เป็นการยื่นคำขอประทานบัตรใหม่ทับพื้นที่ประทานบัตรเดิม ทั้งนี้การทำเหมืองในพื้นที่เดิม ซึ่งยังมีปริมาณและคุณภาพแร่เพียงพอเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในพื้นที่เดิมอย่างคุ้มค่า การทำเหมืองใช้เทคโนโลยีทันสมัย และเทคโนโลยีสะอาดเพื่อช่วยรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองจะมีลักษณะเป็นบ่อขนาดใหญ่ จากแผนการฟื้นฟูพื้นที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีความจุประมาณ 39.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรองรับการใช้ในพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมได้ 36,000 ครัวเรือน

โครงการเหมืองหินดังกล่าวอยู่บนหลักโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการขอทำเหมืองในครั้งนี้เป็นการขอในพื้นที่เดิมซึ่งไม่มีสภาพป่าไม้หรือสภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เหลืออยู่ รวมถึงได้รับการพิจารณาแล้วว่า ผลดีจากการทำเหมืองมีมากกว่าผลเสียที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน การดำเนินการในขั้นตอนนี้ไม่ได้เป็นการพิจารณาอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ แต่เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 A และ 1 B

สำหรับ มติครม.ดังกล่าวในการพิจารณาการขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 A และ 1B นั้น ครม.ได้อนุมัติหลังจากทีพีไอดำเนินการเรื่องนี้อย่างถูกต้อง เเต่มีการชะลอเรื่องนี้ไว้ กระทั่งบริษัทเอกชน ต้องแจ้งกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อชี้เเจงว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้องเเละขอให้ช่วยเร่งพิจารณาเพราะกระทบการดำเนินงานของทีพีไอ

กรณีดังกล่าว พล.อ. ประยุทธ์ รับทราบเเล้วจึงสั่งการกระทรวงอุตสาหกรรมให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง จนทราบว่าทีพีไอดำเนินการถูกต้องโปร่งใส ทำให้พล.อ. ประยุทธ์ประสานไปที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ให้เร่งเสนอเรื่องนี้ให้ครม.พิจารณา เพราะตัองทำให้ทุกอย่างโปร่งใส

ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรื่องนี้ล่าช้ามาจากฝ่ายการเมืองที่กำกับดูเเลกระทรวงอุตสาหกรรมดึงวาระนี้ไว้ เพราะกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น “กลุ่มสามมิตร” ในพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) โดย นายสุริยะ เป็นผู้รับผิดชอบ เเละในอดีต นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เเกนนำ”กลุ่มสามมิตร” เคยร่วมงานการเมืองกับนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารทีพีไอเมื่อหลายปีก่อนในการตั้งพรรคมัชฌิมาธิปไตย เเละต่อมามีปัญหาเเตกคอกันอย่างรุนแรง

“เมื่อทีพีไอดำเนินการเรื่องนี้ตามขั้นตอนเเละถูกตัอง เเต่อาจล่าช้าจากฝ่ายการเมืองบางกลุ่มในรัฐบาล เมื่อพลเอกประยุทธ์ทราบเรื่องเเละสั่งให้ตรวจสอบ จนทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด จึงสั่งให้ครม.พิจารณาและมีมตินี้ออกมา พล.อ.ประยุทธ์ยังกำชับครม.เสมอๆว่า ต้องบริหารงานเเบบโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เอนเอียงเเละเลือกปฏิบัติ” รายงานข่าวระบุ

Cr : https://www.mtoday.co.th/81675

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...