ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา เผยผลสำเร็จ แก้ปัญหาโรคเหี่ยวในกล้วยหินที่แรก
01 ส.ค. 2563

ทั้งนี้ จากปัญหาของโรคเหี่ยวในกล้วยหินของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ จ.ยะลา ที่มีการปลูกกล้วยหินในพื้นที่โดยเฉพาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งทำให้ในข่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา มีการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทำให้กล้วยหินตายไปเกือบทั้งหมดนั้น

ล่าสุด ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดยะลา อ.ธารโต จ.ยะลา นายศุกร์ เก็บไว้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้มีการคิดค้นนำเอาสารสกัดชีวภาพชีวภัณฑ์มาจัดการกับเชื้อโรคตัวนี้ ซึ่งสภาพแปลงกล้วยที่นี่เองเมื่อ 5 ปีแล้ว ก็มีการระบาดหนักของโรคเหี่ยวในกล้วยหินด้วยเช่นกัน จนกระทั่งเรามีวิธีการจัดการและให้ผลผลิตลูกใหญ่ที่ดีพอ

"ถามว่า ทำไมเกษตรกรหลายคนบอกว่า มีการนำเอาไปใช้แล้วแต่ไม่ได้ผล บางคนก็บอกว่า มาเอาเชื้อที่นี่แล้ว แต่ไม่ได้ผล อยากนำเรียนว่า การจัดการทำอะไรก็แล้วแต่ ต้องทำให้ครบถ้วน ไม่ใช่ว่าต้นที่เราเห็นเป็นโรคอยู่แล้ว เราก็ไม่ได้ไปทำอะไรเลย ไปถึงก็เอาสารสกัดชีวภัณฑ์ไปราดที่โคนเพียงแค่นั้น ไม่ได้ผลแน่นอน คือการเริ่มต้นต้องเริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมดิน การเตรียมหลุม ต้องจัดการตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้ครบถ้วนตามกระบวนการวิชาการที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ เราไปรักษาที่ปลายเหตุ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง"

ขณะที่ นางสาวพรพยุง คงสุวรรณ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยพืชสวนและศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ได้นำผลงานวิจัยของสำนักอารักขาพืช ซึ่งเป็นงานวิจัยมาแล้ว เอามาใช้ประโยชน์บวกกับเทคโนโลยีการผลิตกล้วย วิธีการคือ จะเริ่มบีเอสเดือนละ 1 ครั้ง ในอัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 4 ลิตร รดเดือนละ 1 ครั้ง จากนั้นก็จะดูแลรักษา จะมีการตัดแต่งทางใบ ให้ปุ๋ยปกติ แต่สิ่งที่สำคัญในเรื่องของโรคนั้น เนื่องจากว่าอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งของโรค เราไม่แน่ใจที่อื่นเป็นโรคไหม ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรจะต้องมีการล้างมีดก่อนตัดแต่งโดยผสมน้ำลงไปแล้วก็ปรับ

อันที่ 2 คือเรื่องของการดูแลพื้นที่ ก็ต้องตัดหญ้าให้สะอาดไม่ให้รก กล้วยสังเกตเวลาตัดออกจะไม่เหมือนเมื่อก่อน ถ้าทำแบบนั้นจะทำให้เกิดการสะสมของโรค เพราะว่าชาวบ้านเรายังปลูกวิธีแบบเดิมๆ ก็ตัดกล้วยเสร็จก็เอาลงที่โคน มันก็จะเป็นแหล่งสะสมของโรคเหมือนเดิม ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกกล้วยหิน

"อย่างแปลงแห่งนี้ เดิมทีเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ต้องเอาเทคนิคการผลิตกล้วยเข้ามาจัดการสวน ใช้ชีวภัณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร เข้ามาในการลดและป้องกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว ผลออกมาคือกล้วยยังไม่เป็นโรคเลย ผลออกมาคือจากที่เราเก็บข้อมูลแล้วก็คือถามว่า เก็บข้อมูลยังไงบ้าง คือเราส่งดินวิเคราะห์ทุกเดือน ก็ปรากฏว่าตอนนี้กล้วยทั้งหมดในแปลง 100% ไม่เป็นโรคแล้ว ทั้งๆ ที่เดิมและเป็นพื้นที่ที่โรคระบาดรุนแรง โดยหากเกษตรกรที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเหี่ยวในกล้วยหิน สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ตั้งอยู่ที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา"

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...