ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
เริ่มวันนี้ รฟท. เปิดเดินขบวนรถทางไกลและขบวนรถชานเมือง
11 มิ.ย. 2563

11 มิ.ย. 63 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดให้บริการเดินขบวนรถโดยสารทางไกล ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถท้องถิ่น ภายหลังมาตรการผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยสารสาธารณะสามารถเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาเคอร์ฟิวได้ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป ผู้โดยสารสามารถจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าก่อนเดินทางได้ 30 วัน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. มีการผ่อนคลายการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด และให้ยานพาหนะ ผู้โดยสาร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะที่เป็นการขนส่งคนหรือสินค้าระหว่างจังหวัดที่เริ่มออกเดินทางจากจังหวัดต้นทางก่อนเวลา 23.00 น. และถึงจังหวัดปลายทางหลังเวลา 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น สามารถเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาห้ามออกนอกเคหะสถานได้ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกและตามผลการประเมินสถานการณ์ของฝ่ายสาธารณสุข

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า จะมีประชาชนมีความต้องการในการเดินทางมากขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางโดยรถไฟ ทั้งการเดินทางภายในเขตเมือง ระหว่างเมือง และทางไกลข้ามเขตพื้นที่จังหวัด รฟท. จึงได้ประกาศเปิดเดินขบวนรถโดยสารทางไกล ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถท้องถิ่น (เพิ่มเติม) จำนวน 106 ขบวน เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรการผ่อนคลายการเดินทาง ระยะที่ 3 เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สำหรับขบวนรถที่เปิดให้บริการในเส้นทางต่างๆ มีดังนี้

1. ขบวนรถโดยสารทางไกล เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป จำนวน 20 ขบวน (ไป - กลับ) ดังนี้

1.1 สายเหนือ (เที่ยวไป) จำนวน 2 ขบวน ขบวนรถด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) ที่ 7 และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 9 (กรุงเทพ – เชียงใหม่) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2563 (เที่ยวกลับ) จำนวน 2 ขบวน ขบวนรถด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) ที่ 8 และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 10 (เชียงใหม่ – กรุงเทพ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. 2563

1.2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ (เที่ยวไป) จำนวน 2 ขบวน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 23 ขบวนรถด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) ที่ 71 (กรุงเทพ – อุบลราชธานี) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 25 (กรุงเทพ – หนองคาย) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2563 (เที่ยวกลับ) จำนวน 2 ขบวน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 24 ขบวนรถด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) ที่ 72 (กรุงเทพ – อุบลราชธานี) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 26 (หนองคาย – กรุงเทพ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. 2563

1.3 สายใต้ (เที่ยวไป) จำนวน 3 ขบวน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 31 (กรุงเทพ – ชุมทางหาดใหญ่) ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37 (กรุงเทพ – สุไหงโกลก) และขบวนรถด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) ที่ 43 (กรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี) (ขบวนรถที่ 31 และ 37 งดให้บริการรับ – ส่งผู้โดยสารที่ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเวลาเคอร์ฟิว) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2563 (เที่ยวกลับ) จำนวน 3 ขบวน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 32 (ชุมทางหาดใหญ่ – กรุงเทพ) ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 38 (สุไหงโกลก – กรุงเทพ) และขบวนรถด่วนพิเศษ (ดีเซลราง) ที่ 40 (สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพ) (ขบวนรถที่ 32 และ 38 งดให้บริการรับ – ส่งผู้โดยสารที่ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเวลาเคอร์ฟิว) ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. 2563

2. ขบวนรถชานเมือง และขบวนรถธรรมดา และขบวนรถท้องถิ่น จำนวน 88 ขบวน (ไป – กลับ) ตั้งแต่วันที่ 11 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ดังนี้

2.1 สายเหนือ ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถท้องถิ่น จำนวน 15 ขบวน

2.2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถท้องถิ่น จำนวน 12 ขบวน

2.3 สายใต้ ขบวนรถธรรมดา และขบวนรถท้องถิ่น จำนวน 18 ขบวน

2.4 สายตะวันออก ขบวนรถธรรมดา จำนวน 15 ขบวน

2.5 สายแม่กลอง – บ้านแหลม ขบวนรถท้องถิ่น จำนวน 6 ขบวน

2.6 สายวงเวียนใหญ่ – มหาชัย ขบวนรถธรรมดา จำนวน 22 ขบวน

นอกจากนี้ รฟท.ได้ขยายระยะเวลาให้บริการขบวนรถโดยสารพิเศษ ที่ 9051/9052 (กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ) ขบวนรถโดยสารพิเศษ ที่ 9071/9072 (กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ) และขบวนรถโดยสารพิเศษ ที่ 9075/9076 (กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ) เพิ่มอีก 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. – 17 ก.ค. 2563 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเพิ่มเติม

สำหรับมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 รฟท. ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมอย่างเคร่งครัด โดยให้พนักงานด้านปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ถุงมือยาง และ Face shield ตลอดเวลาที่ให้บริการ ตรวจคัดกรองผู้โดยสารอย่างเข้มข้น จัดให้มีแอลกอฮอล์เจลบริการอย่างเพียงพอและทั่วถึงทั้งบริเวณสถานีและบนขบวนรถ การรักษาระยะห่าง Social Distancing ให้มีจุดยืน/นั่งให้ชัดเจนทั้งที่สถานีและขบวนรถ โดยจำกัดการจำหน่ายตั๋วโดยสารไว้ที่ร้อยละ 50 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด การงดจำหน่ายอาหารบนขบวนรถ และติดตั้ง application “ไทยชนะ” ที่สถานีและบนขบวนรถเป็นรายตู้/โบกี้ เพื่อใช้ควบคุมการเข้าออกของผู้โดยสารที่ใช้บริการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...