ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
(คลิป) 6 ทศวรรษ PEA พลิกโฉมองค์กรสู่การเป็น Digital Utility
11 ก.ย. 2563

นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า 6 ทศวรรษที่ผ่านมา PEA ให้บริการพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจทั้งด้านคุณภาพและบริการ โดยการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและเป็นองค์กรชั้นนำที่ทันสมัยในระดับภูมิภาค มุ่งมั่นให้บริการพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างครบวงจร มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่มั่นคง ปลอดภัยและมุ่งมั่นให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ 

 สำหรับในอนาคต  PEA ได้พลิกโฉมองค์กรสู่การเป็น Digital Utility รองรับยุคเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไฟฟ้าโดย Electrification Decentralization & Digitalization (E2D) เปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือโครงสร้างที่มีในปัจจุบัน PEA จึงปรับตัวเพื่อเป็น Digital Organization นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับขั้นตอนการดำเนินงานให้รวดเร็ว ถูกต้อง ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เช่น โครงการ Micro Grid และติดตั้งระบบกักเก็บ พลังงานไฟฟ้า Battery Storage ชนิด Lithiumion ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง เป็นแห่งแรกในประเทศไทยเพื่อให้พื้นที่อำเภอแม่สะเรียงมีความมั่นคงในระบบไฟฟ้ามากขึ้น โดยระบบ Micro Grid จะจ่ายกระแสไฟฟ้า ในเขตพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถจ่ายไฟแบบอิสระได้โดยไม่ต้องเชื่อมโยงกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิม 

การติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ จำนวน 62 สถานี ทุกระยะ 100 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลัก อำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบแผนที่นำทางไปยังสถานี ตรวจสอบสถานะหัวชาร์จที่ต้องการและจองคิวอัดประจุไฟฟ้าผ่าน PEA VOLTA Application และรองรับระบบการเติมเงิน (Prepaid) เพื่อชำระค่าบริการ

วางแผนการยกระดับระบบไฟฟ้าให้เป็นเลิศด้วยดิจิทัล เชื่อมโยงลูกค้าด้วยเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนสู่องค์กรทันสมัย เสริมสร้างบุคลากรแห่งอนาคตและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้บริการไฟฟ้าที่มั่นคง ปลอดภัย มุ่งมั่นให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ 100% “สว่างทั่วทิศ สร้างคุณภาพชีวิตทั่วไทย” Brightness for Life Quality

     ด้านภารกิจและโครงการที่สำคัญที่ผ่านมาของ PEA ที่ดำเนินการมา เช่น โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ : PEA สนับสนุนโครงการดังกล่าว เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรับปรุงระบบไฟฟ้าเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน ระยะทางจังหวัดละ 1 – 2 กิโลเมตร โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการก่อสร้างระบบไฟฟ้าเคเบิลใต้ดินทั้งหมด

     โครงการปรับปรุงระบบจำหน่าย : PEA ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำเพื่อแก้ไขปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก โดยในปี 2563 ไม่มีเรื่องร้องเรียนปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก พร้อมปรับหลักเกณฑ์ระเบียบงานขยายเขตให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ปรับลดค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่และผู้ใช้ไฟฟ้าอัตรา TOU
 โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้า : PEA พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Microgrid) บนพื้นที่เกาะพะลวย จังหวัดสุราษฎร์ธานี แบบ Off – Grid โดยการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนเกาะและสามารถบริหารจัดการ (ผลิต กักเก็บ จำหน่ายไฟ) ได้เอง (บนเกาะ) ไม่ต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าหลักบนฝั่ง

    การจัดระเบียบสายสื่อสาร : ดำเนินการนำสายที่ไม่ได้ใช้งาน (สายตาย) ออกทั้งหมดและจัดระเบียบสายเข้าคอนในพื้นที่ที่กำหนด ตามเส้นทางวิกฤต 3,891 เส้นทาง ซึ่งดำเนินการแล้วคิดเป็น 99% และดำเนินการพิจารณาจัดระเบียบสายสื่อสารในเส้นทางย่านธุรกิจการค้า เทศบาล สถานที่สำคัญ สถานที่ท่องเที่ยว

     โครงการ 1 ตำบล 1 ช่างไฟฟ้า : ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพช่างไฟฟ้าในท้องถิ่นให้ได้รับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ฝึกทักษะ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ได้อย่างต่อเนื่อง โดยลดข้อจำกัดจากระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ระยะเวลาดำเนินการปี 2560 – 2565 มีช่างไฟฟ้าผู้ผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นช่างไฟฟ้าประจำตำบลกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้วจำนวนกว่า 5,500 คน โดยประชาชนสามารถใช้บริการช่างไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการช่างไฟฟ้า (PEA Care and Service Application)

 โครงการ PEA ส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อวิสาหกิจชุมชน : ใช้พลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง รวมถึงการบริหารจัดการใช้ระบบพลังงานทดแทนที่เหมาะสม เช่น การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตสินค้า เพื่อให้ได้คุณภาพของสินค้าที่มีมาตรฐาน จะทำให้เพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับชุมชน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีชุมชนที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้การสนับสนุน  รวมแล้ว 11 แห่ง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...