กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้เน้นย้ำถึงความกังวลทั่วโลกเกี่ยวกับ การแพร่กระจายของคําพูดที่แสดงความเกลียดชัง และได้ลงมติให้มีการส่งเสริม การเจรจาระหว่างศาสนา วัฒนธรรม และความอดทนในการต่อต้านคําพูดที่สร้างความเกลียดชัง มติดังกล่าวตระหนักถึงความจําเป็นในการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ ความเกลียดชังชาวต่างชาติ และคําพูดแสดงความเกลียดชัง และยังเรียกร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงรัฐต่างๆ เพิ่มความพยายามในการจัดการกับปรากฏการณ์นี้ ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และประกาศให้วันที่ 18 มิถุนายนเป็นวันสากลเพื่อต่อต้านคําพูดที่สร้างความเกลียดชัง International Day for Countering Hate Speech โดยต่อยอดจากยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสหประชาชาติ ว่าด้วยคําพูดที่สร้างความเกลียดชัง ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562
ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยถูกถมทับด้วย Hate Speech ของคนในชาติที่ขยายตัวรวดเร็วเป็นเท่าทวีคูณราวกับแบคทีเรีย Hate Speech แสดงออกมาในหลายรูปแบบ จากผู้คนหลากหลาย ทั้งข้อมูลจริง ข้อมูลบิดเบือน การคาดเดา จินตนาการ ผสมผสานกับฝักฝ่าย ผลประโยชน์ อารมณ์ หรือความสะใจ
นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส (António Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ส่งสารในโอกาสวันสากลเพื่อต่อต้าน Hate Speech 18 มิถุนายน 2568 เปรียบว่า คําพูดที่แสดงความเกลียดชังเสมือนพิษในบ่อน้ำของสังคม ที่เคยปูทางไปสู่ความรุนแรงและความโหดร้ายในช่วงที่มืดมนที่สุดของของประวัติศาสตร์มนุษย์ ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนา มักต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ การกีดกัน และอันตราย
ในวันนี้ คําพูดแสดงความเกลียดชังเดินทางเร็วขึ้นและไกลกว่าที่เคย โดยขยายด้วยปัญญาประดิษฐ์ อัลกอริทึมที่มีอคติ และแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่กําลังแพร่กระจายเนื้อหาที่เป็นพิษ และสร้างพื้นที่ใหม่สําหรับการล่วงละเมิด ข้อตกลงดิจิทัลระดับโลก จากการประชุมสุดยอดแห่งอนาคต Summit of the Future เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มงวดขึ้นเพื่อจัดการกับความเกลียดชังทางออนไลน์ซึ่งมีรากฐานมาจากสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศ
เราต้องการความร่วมมือในทุกระดับ ระหว่างรัฐบาล ภาคประชาสังคม บริษัทเอกชน และผู้นําศาสนาและชุมชน เราจําเป็นต้องต่อต้านการเล่าเรื่องที่เป็นพิษ ด้วยข้อความเชิงบวก และให้อํานาจแก่ผู้คนในการรับรู้ ปฏิเสธ และยืนหยัดต่อต้านคําพูดที่สร้างความเกลียดชัง
เราผลักดันระบบนิเวศข้อมูลที่ปลอดภัยและมีมนุษยธรรมมากขึ้น ให้เรามุ่งมั่นที่จะไม่ใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือแห่งความเกลียดชัง แต่เป็นพลังแห่งความดี ขอให้เรายืนหยัดเป็นหนึ่งเดียวในการแสวงหาสันติภาพ เคารพซึ่งกันและกัน และสร้างความเข้าใจสําหรับทุกคน
การร่วมมือกันเพื่อต่อต้าน Hate Speech สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 เป้าหมาย
เป้าหมายที่ 3 Good Health and Well-being
: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย
เป้าหมายที่ 16 Peace, Justice and Strong Institutions
: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ และ
เป้าหมายที่ 17 Partnerships for the Goals
: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
การต่อต้านการบิดเบือนข้อมูล ยังเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน