ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ราชกิจจาฯ ประกาศ เพิ่มเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง จาก 60 เท่า เป็น 70 เท่า มีผลบังคับใช้แล้ว
28 พ.ค. 2568

วันที่ 27 พ.ค.2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ลงนามโดย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565 เพื่อขยายอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินนอกจากค่าชดเชย สำหรับบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568"

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2568 เป็นต้นไป)

ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ 15 อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 (3) ให้จ่ายในอัตราไม่เกินเจ็ดสิบเท่า (70 เท่า) ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ระเบียบดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค.2568 เป็นต้นไป สาระสำคัญคือ การเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ในกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย จากเดิม 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน เป็น 70 เท่า

โดยมาตรการนี้จัดทำผ่านกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบกรณีนายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ให้สามารถได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดการปรับปรุงระเบียบครั้งนี้สะท้อนเจตนารมณ์ของกระทรวงแรงงานในการดูแลลูกจ้างให้มีหลักประกันที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน และสร้างความมั่นใจว่า เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ลูกจ้างจะไม่ถูกปล่อยให้เผชิญปัญหาแต่เพียงลำพังสำหรับลูกจ้างที่ต้องการขอรับเงินสงเคราะห์ตามระเบียบใหม่นี้ ต้องเป็นผู้ที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน และมีคำสั่งเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ระเบียบมีผลบังคับใช้ โดยให้พนักงานตรวจแรงงานทุกพื้นที่ชี้แจงสิทธินี้กับลูกจ้างอย่างทั่วถึง เพื่อให้เข้าถึงการคุ้มครองตามกฎหมายได้อย่างแท้จริง

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 พ.ค. 2568
หากจะพูดถึง “ภาพยนตร์ไทย” แล้ว ผ่านสถานการณ์ลุ่มๆ ดอนๆ มาเป็นระยะ นั่นอาจเป็นเพราะมีปัญหาด้วยกันหลายด้าน แต่ที่สำคัญก็คือ “ความนิยม” ที่ได้รับจากผู้ชมชาวไทย แต่ก็ใช่ว่า ภาพยนตร์ไทยจึงถึง จุดอับเป็นเสียทีเดียว เพราะก็มีบางเรื่อง “...