“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอง ยิ่งในยุคสมัยนี้ด้วยแล้ว เด่นชัดยิ่ง เพราะการผุดขึ้นของศูนย์ออกกำลังกายหรือ ฟิตเนส Fitness ที่ขึ้นมาให้ใช้บริการกันอย่างมากมาย ย่อมบ่งบอกได้อย่างชัดแจ้ง
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เราคงไม่ได้มาพูดถึงว่า จะออกกำลังกายกันในแบบไหนดี แต่จะเรื่องที่นำท่านผู้อ่านมารู้จักกับบุคคลสำคัญผู้หนึ่ง ที่กำลังเข้ามาเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันการกีฬาของประเทศไทยให้รุดหน้า โดยเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมาหมาดๆ นี้เอง ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง คือ “มงคล วิมลรัตน์” รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขึ้นเป็น “อธิบดีกรมพลศึกษา” คนที่ 31 ที่วันนี้ อปท.นิวส์เชิญเป็นแขกฉบับนี้ จะพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับตัวตนของอธิบดีป้ายแดงคนนี้
“อธิบดีฯ มงคล” กล่าวได้ว่าเป็นผู้มีร่างกายกำยำลํ่าสัน สมสัดส่วนของร่างกายเป็นอย่างดี บอกกับเราว่า ปัจจุบันมาอายุอานาม 54 ปีพอดี ย่างเข้าสู่ 55 โดยเกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2514 เป็นลูกน้ำเค็มเกิดที่อำเภอจังหวัดชลบุรี คุณพ่อเป็นข้าราชการครู เป็นศึกษานิเทศ ส่วนคุณแม่เป็นแม่ค้าขายไข่ ทั้งสองท่านมาเจอกันเพราะน้องสาวพ่อเป็นเพื่อนกับคุณแม่ จึงทำให้ทั้งสองท่านได้มาพบเจอกัน ดังนั้น ในวัยเด็กจึงมีประสบการณ์เปรียบเสมือนคนสองน้ำ ตรงที่ว่า ด้านหนึ่งเป็นลูกของข้าราชการครู อยู่ในอำเภอเมืองชลบุรี ซึ่งสมัยก่อนย้อนไปสัก 50 กว่าปีที่แล้ว ชลบุรียังเป็นชนบทไม่เหมือนกับเมืองที่เป็นอุตสาหกรรมในสมัยนี้ ซึ่งในอดีตพื้นที่ชลบุรีเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ ทำนา ไม่เหมือนสมัยนี้ที่เปลี่ยนไปแล้ว
“ที่นี้สองน้ำคือ คุณพ่อเป็นข้าราชการครู ส่วนคุณแม่เป็นแม่ค้าก็ทำให้รู้วิถีวิตทั้งสองแบบ ข้าราชการครูเขาทำกันยังไง ส่วนแม่ค้าก้เชาขายของกันยังไง เคยติดตามพ่อไปทำงานราชการก็เห็นเขาทำงานยังไง สอนหนังสือยังไง อีกด้านหนึ่งก็ติดตามแม่ไปขายไข่ คือคุณแม่ผมทำไข่เค็ม ไปซื้อไข่เป็ดมาจากเล้าเป็ด แล้วมาแปรรูปเป็นไข่เค็ม แล้วก็ใส่กระจาดไปขายตลาดแล้วผมก็เดินตามคุณแม่ไป ในสิ่งที่ได้ประสบการณ์ก็คือ เวลาขายไข่นี่ จะมีไข่อยู่ 2 แบบ ไข่ที่คัดแล้วที่เป็นไข่ดีที่ไม่แตก ซึ่งไข่ดีมันขายง่าย ส่วนไข่แตกไม่มีคนกิน แม่ผมก็ชอบให้ผมเอาไข่แตกไปขายตามตลาด ซึ่งมันขายยาก เวลาผมไปขายก็จะร้องไห้ ในการร้องไห้นี่มันทำให้คนเดินผ่านไปผ่านมาสงสารแล้วก็หันมาซื้อ” อธิบดีฯ มงคล พูดพร้อมรอยยิ้มเมื่อให้นึกถึงเรื่องในอดีต
อธิบดีฯ มงคล กล่าวต่อไปว่า ต่อจากนั้นพอเราเริ่มรู้เกี่ยวชีวิตข้าราชการกับชีวิตแม่ค้ามี 2 แบบ ข้าราชการก็เป็นอีกแบบมีระบบครอบ ส่วนแม่ค้าต้องดิ้นรนเอาตัวรอด ดังนั้น การที่โตมาท่ามกลางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทำให้เข้าใจ ทั้งชีวิตข้าราชการและชีวิตนักธุรกิจ ถ้าเปรียบเทียบกัน คุณแม่ก็น่าจะเป็นพวก SME ระดับเล็กๆ
สำหรับพี่น้องนั้น อธิบดีฯ มงคล บอกว่า มีด้วยกัน 3 คน อธิบดีฯ เป็นคนโต และมีน้องสาวอีก 2 คน ขณะที่การศึกษาร่ำเรียนที่ชลบุรีมาตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยม โดยโรงเรียนมัธยมก็ไม่ได้เป็นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดด้วยแต่โรงเรียนสหชายหญิง เป็นโรงเรียนกึ่งวัด พอเรียนจบมัธยมศึษาตอนปลายสำเร็จก็มุ่งสู่การสอบคัดเลือก (เอนทรานซ์) เข้ามหาวิทยาลัย
เรายิ่งคำถามว่า ตอนนั้นนอธิบดีฯ ใฝ่ฝันไว้บ้างหรือไม่ว่าอนาคต อธิบดีฯ มงคล ตอบด้วยเสียงอุทานทันทีว่า โอ้ยไม่คิดอะไรมากเลย ตอนนั้นนะเริ่มมีอิสเทิร์นซีบอร์ด เริ่มมีกิจกรรมปิโตรเคมีมาตั้งที่ระยองแล้ว แล้วก็มีท่าเรือแหลมฉบัง สมันนั้นตอนเรียนมัธยมปลาย ก็คิดแค่ทำงานอิสเทิร์นซีบอร์ด ตอนนั้นก็สอบเพื่อเข้าเรียนต่อทั้งเทคนิคในระดับ ปวช.ที่เกี่ยวกับปิโตรเคมีและในระดับปริญญาตรี
“ตอนนั้นผมสอบติดทั้งสองแห่ง ทั้งเทคนิคและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ก็คิดว่า ปวช.เรียนแค่ 2 ปี ก็ออกมาทำงานได้แล้ว แต่ถ้าเรียนปริญญาตรีต้องใช้เวลาเรียนถึง 4 ปี คุณพ่อที่เป็นคุณครูอยู่แล้ว เขามองไกล ก็บอกว่าให้ไปเรียนปริญญาตรีเลย เพราะที่บ้านก็ไม่ได้ลำบากอะไรมากนัก สุดท้ายก็เลือกไปเรียนมหาวิทยาลัยที่เกษตรศาสตร์ที่บางเขน”
อธิบดีฯ มงคล เล่าต่อไปว่า การได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ต้องไปอยู่หอ มีเพื่อนๆ เยอะจากหลายคณะ จบปริญญาตรีเสร็จปุ๊บ จบเศรษฐศาสตร์สมัยก่อนก็ทำงานแบงค์กัน ตอนนั้นก็เข้าแบงก์กรุงไทยได้ ไปอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ที่นานาเหนือ ไปทำเรื่องการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับอิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต โดยอยู่ในส่วนของอิมปอร์ต เกี่ยวกับเรื่องของ ไอซี ใบคำสั่งซื้อนำเข้า ก็ทำอยู่ประมาณเกือบๆ 2 ปี ระหว่างนั้นก็ยังสามารถเรียนต่อปริญญาโทได้อีก
“ตอนสอบปริญญาโทนี่ ผมก็สอบได้ทั้ง 2 แห่งอีก ได้ที่นิด้า และก็ที่ ม.เกษตรฯ แต่เนื่องจากที่ม.เกษตรฯ นี่มีเพื่อนเยอะ แล้วตอนเรียนปริญญาตรีก็สนุก ก็เลยเลือกเรียนต่อที่ม.เกษตรฯ ตอนนั้นทีแรกตั้งใจจะขอทุนแบงค์ เพราะว่าที่ผมสอบได้เป็นภาคปกติเรียนจันทร์-ศุกร์ สมัยก่อนภาคพิเศษไม่ค่อยอีกอย่าง ผมทำงานได้ไม่ถึง 2 ปี ก็ไม่สามารถขอทุนได้ ก็ตัดสินใจออกมาเรียนต่อและก็เป็นสาขาที่ผมชอบคือการดูแลทรัพยากรและสิงแวดล้อม”
อย่างไรก็ตาม ขณะเรียนก็มีอาจารย์ที่คณะฯ ชวนไปทำงานวิจัย อันนี้คือจุดเปลี่ยนเหมือนกัน คือทำให้รู้กระบวนการทั้งหมดของงานวิจัย จริงๆ หลักสูตรเรียนสัก 2 ปีครึ่งก็จบ แต่ผมกว่าจะจบปริญญาโทได้ก็ 4 ปี เพราะผมเข้าไปทำงานกับอาจารย์ที่เขาทำงานวิจัยไงที่รับโครงการวิจัยมาจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้เยอะมาก และระหว่างระหว่างทำงานวิจัย ก็ไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.) ไปด้วย
“กรมเจ้าท่าเรียกไปสอบ กรมทรัพยากรธรรีก็เรียกไปสอบ แต่ผมก็มาได้อีก 2 แห่ง เหมือนกันเลย เจ้าท่ากับกรมทรัพยากรธรณี ตอนนั้นก็ไม่คิดอะไรมาก เรียนการจัดการทรัพยากรเราก็เป็นนักวิชาการ ทำงานวิจัยมาเยอะ ก็เลยเลือกไปกรมทรัพยากรธรณี ก็ได้ไปดูเรื่องเหมือง ในสมัยนั้นก็อยู่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นกรมที่ใหญ่มาก หน้าที่ผมตอนนั้นก็ไปดเรื่องเหมืองโปแตช ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ 2 แห่ง ที่ บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กับที่ จังหวัดอุดรธานี”
“ผมไปอยู่โครงการหลวงเป็นโครงการโปแตชอาเซียน ไปอยู่บำเหน็จณรงค์ แต่ผมเป็นเศรษฐกร เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ได้เป็นวิศวกรก็ไม่ได้ไปประจำเหมือง เดือนหนึ่งก็จะไปสักครั้ง คือหน้าที่เศรษฐกรคือ ดูความเป็นไปได้ที่จะเอาแร่ที่ขุดขึ้นมาไปขายหรือเซ็ตอัพโรงงาน คือตอนที่เราจ้างเขาศึกษา เราก็ต้องไปประกบเขา เพราะเขาจะทำเป็นอุตสาหกรรมเคมีเคมีคอล อันนี้โครงการใหญ่โต แต่สุดท้ายก็ไปไม่ได้”
อธิบดีฯ มงคล บอกต่ออีกว่า มาอยู่กรมทรัพยากรธรณีได้สัก 4-5 ปี กรมทรัพยากรธรณีก็ปฏิรูปอีก ออกมาเป็น 1 กระทรวงเลยนะ ก็คือกระทรวงพลังงาน มาจากกรมเชื้อเพลิง และกรมทรัพย์ฯ ก็แยกออกเป็น 3 ส่วน เอาไป 1 กระทรวงกับอีก 3 กรม เป็นกรมทรัพย์ที่ไปดูเรื่องไดโนเสาร์อย่างเดียว แล้วก็ไปกรมเหมืองแร่ แล้วก็เป็นกรมน้ำบาดาล ผมไปอยู่กรมเหมืองแร่ อยู่ต่อจากนั้นได้ประมาณสัก 4-5 ปี ก็มีการปฏิรูประบบราชการอีกรอบหนึ่ง ก็มีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเกิดขึ้นมา แล้วมีการรับโอน เขาก็อยากได้คนมีความรู้ด้านการท่องเที่ยวเข้ามาช่วย
ผมก็เข้าไปสมัคร ก็โอนจากกรมเหมืองไปอยู่กรมการท่องเที่ยว ตอนนั้นสักประมาณปี 2551 ผมเข้ารับราชการประมาณปี 2541 ประมาณ 10 ปีพอดีก็ย้ายมากระทรวงการท่องเที่ยวฯ พอมาอยู่กรมการท่องเที่ยวประมาณสัก 7-8 ปลัดกระทรวงที่เขามาจากจากกระทรวงการคลังสมัยนั้น เขาได้คุยกับผมก็มีแนวคิดไปด้วยกัน เขาเป็นนักเศรษฐกิจ เขาก็เลยชวนจากกรมท่องเที่ยวมาสำนักงานปลัดของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ทำเรื่อง Policy maker
ผมเติบโตจากเดิมมาจากกรมการท่องเที่ยว ก็เป็นนักพัฒนาทางท่องเที่ยว แล้วก็ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการไอที จากนั้น ก็มาเป็นผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกีฬา จากนั้นก็มาเป็นผู้อำนวยการแผนงาน จากแผนงานก็มาเป็นผู้ช่วยปลัด มาเป็นรองปลัด จากนั้นก็ได้รับความไว้วางใจให้มาขับเคลื่อนเรื่องกีฬาที่กรมพลศึกษา
ย้อนกลับมาถามถึงที่พักอาศัยจากเข้ามาเรียนจนถึงปัจจุบัน อธิบดีฯ มงคล บอกว่า ตอนที่เรียนปริญญาโท ยังอาศัยอยู่หอพักที่เรียกว่าหอพักนอก อยู่มาได้สัก 2-3 ปี คุณแม่ก็ได้มาซื้อบ้านที่บางกรวย กรุงเทพฯ ต่อจากคุณน้า ก็เลยได้ย้ายมาอยู่ที่นั่นมานานจนถึงมาอยู่กรมการท่องเที่ยว จนกระทั่งย้ายไปอยู่ที่สำนักงานปลัด ก็มาเจอแฟนผมที่นี่ เพราะตอนย้ายจากกรมท่องเที่ยวมาที่สำนักงานปลัด แฟนผมก็ย้ายมาจากกระทรวงการคลังมาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวพร้อมกัน ก็ถือเป็นบุพเพสันนิวาส จากนั้นก็แต่งงานกันและย้ายมาอยู่ที่ท่าอิฐ นนทบุรี ในปัจจุบัน อธิบดีฯ มงคล กล่าวอย่างอารมณ์ดี พร้อมบอกด้วยว่า
“ตอนอยู่โรงเรียนประถม มัธยม ผมก็เป็นนักกีฬาแล้ว เป็นนักฟุตบอล มามัธยมก็เรียกว่า บ้าฟุตบอลได้เลย พอมาเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรฯ มีชมรมกีฬา ผมเลือกไปอยู่ชมรมว่ายน้ำ ผมเป็นนักโปโลน้ำ แต่ก็ยังเล่นฟุตบอลไปด้วยนะ ก็ถือว่าชอบกีฬาเรื่อยมา ถ้าถามถึงทีมฟุยบอลอังกฤษแต่เดิมนี่ ผมชอบทีม “อิปสวิช” สมัยอยู่มัธยม แต่มาตอนนี้ก็ “ลิเวอร์พูล” มวยผมก็ชอบนะ แต่พอมาช่วงปริญญาโทก็ห่างเรื่องกีฬาออกไปเพราะต้องโฟกัสเรื่องวิจัย แต่ก็ติดตามเรื่อยมา เพราะผมชอบดูกีฬาโดยเฉพาะฟุตบอล นี่ก็เป็นแรงบันดาลใจของผมที่อยากเข้ามานั่งตรงนี้”
อธิบดีฯ มงคล บอกด้วยว่า “ผมอยากให้บอลไทยไปฟุตบอลโลก ที่นี้การได้มาอยู่ที่นี่ โอกาสอันหนึ่งก็คือพยายามสร้างประชากรนักกีฬาให้มีตัวเลือกเยอะๆ ต้องเริ่มมาดูเรื่องกีฬาพื้นฐาน ก็อยากไปทุกชนิดไปไปสู่ระดับโลก ไม่ใช่เฉพาะฟุตบอล โดยเฉพาะประเภททีมที่เราได้ไประดับโลกยังน้อย ที่น่าสนใจอีกประเภทคือ “วอลเลย์บอลหญิง”
อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนถามถึงความแตกต่างระหว่างการทำงานงานวิจัย จนมาทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไรบ้าง อธิบดีฯ มงคล บอกว่า งานวิจัยสิ่งที่ได้ก็คือความเป็นวิชาการ และ process ในงานวิจัยให้ได้มาเรื่ององค์ความรู้ใหม่ อันนี้สำคัญมาก มันสำคัญยังไง พอมาทำราชการ มันจะมีโครงการเยอะที่ต้องศึกษา เวลาเราทำโครงการและต้องจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาวิจัยอะไรอย่างนี้แล้วก็มาเสนองานเรา เขาหลอกเราไม่ได้ ผมเอามาผสมผสานในการทำงานจนถึงทุกวันนี้ ด้านสิ่งแวดล้อม ถามว่าทุกวันนี้เราก็ใส่ใจอยู่แล้วในเรื่องของผลกระทบ ในการทำอะไรก็แล้วแต่ อย่าให้มันมีผลกระทบ หรือก็ให้น้อยที่สุด
สุดท้ายถามถึงการได้เข้ามานั่งทำงานด้านกีฬามีนดยบายอะไรบ้าง อธิบดีฯ มงคล บอกว่า ก็ไม่มีอะไรมาก เพราะจริงๆ ก็เตรียมตัวก่อนจะมาแล้ว เป้าหมายอย่างแรกเลย อยากขับเคลื่อนภาระกิจของกรมพลศึกษาให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ก็คือ คนไทยออกกำลังกาย เล่นกีฬา นันทนาการ เป็นวิถีชีวิต เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน แต่ลึกๆ ผมอยากสร้างประชากรนักกีฬา เพื่อส่งต่อให้สมาคมหรือความเป็นเลิศทางกีฬา เช่น ตอนที่ผมอยู่ส่วนกลาง ก็ได้มีโอกาสทำงานกับการกีฬาแห่งประเทศไทย และองค์กรที่เกี่ยวข้องมาต่อเนื่อง
“คือเราต้องจัดลำดับความสำคัญ โดยเฉพาะหลักๆ ก็คือเป้าหมายของกรมพลศึกษา สนับสนุนทุกกีฬามวลชนพื้นฐาน แล้วก็นันทนาการ เพื่อสู่เป้าก็คือวิสัยทัศน์ของกรมพลศึกษ แต่ลึกๆ ที่อยากผลักดันดันเยอะๆ ก็คือ ประชากรนักกีฬาแต่ละประเภท แล้วก็ท้ายสุดส่วนใหญ่ก็อยากให้คนไทยแข็งแรง โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เพราะภาระกิจของกรมพลศึกษา คือ ทำให้คนใส่ใจในเรื่องของการออกกำลังกายมากขึ้น เพราะจะช่วยให้มีอายุยืนขึ้น นันทนาการถ้าเกิดรู้ เอาปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวันก็จะทำให้มีความสุขมากขึ้น พูดง่ายๆ ว่า ภารกิจของกรมพลศึกษา คือจะดูในเรื่องคุณภาพกายกับคุณภาพใจ ซึ่งมันตรงข้ามกับกระทรวงสาธารณสุข เขารักษา แต่อันนี้ป้องกัน”
“ทุกวันนี้เราก็คุยกับผู้บริหารของกรม ก็ให้งานในปี 68 ที่ได้แผนงานโครงการหรืองบประมาณเดินไปตามแผนและขอให้เป้าหรือการเบิกจ่ายก็ดีหรือตัวชี้วัดก็ดีได้สัมฤทธิ์ผล โดยงบประมาณของกรมฯ ตกปีละประมาณ 700 ล้านบาท”
ต่อข้อถามถึงความสัมำชพันธ์ ระหว่างการกีฬากับการท่องเที่ยวเป็นอย่างไร อธิบดีฯ มงคล บอกว่า การกีฬาที่กรมพลศึกษาเป็นเจ้าภาพ เราก็พยามยามที่อยากจะให้พื้นที่ที่จัดการแข่งขันได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรืผู้ประกอบการ เราก็อยากให้เขาแยกประโยชน์นะครับ โดยอาจจะมีการเชื่อมโยงกับโครงการในพื้นที่ ก็อาจจะโปรโมทให้ผู้ปกครองที่มาเชียร์เด็กมาใช้บริการมาซื้อสินค้าหรือมาจับจ่ายใช้สอยหรือมาเที่ยว มาเที่ยวก่อนแข่งขัน หรือแข่งขันแล้วไปเที่ยวต่อไม่ตกใจใช้ต่อให้รอดอาจจะมาเที่ยวมาเที่ยวเกาะแข่งขันหรือมาแข่งขันเสร็จแล้วก็ไป เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่
ส่วนภาระกิจของกรมพลศึกษาที่เชื่อมต่อกับท้องถิ่น อธิบดีฯ มงคล บอกว่า เรามีกลไกแขนขาอยู่ คือเจ้าหน้าที่พลศึกษาทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็จะนำภารกิจของกรมฯไปเผยแพร่ทุกตำบลทุกหมู่บ้าน แล้วเจ้าหน้าที่พลศึกษาก็จะพยายามไปสร้างอาสาสมัครออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่า อสก.ขึ้นมาด้วย เมื่อคนในพื้นที่ออกกำลังกายกันมากขึ้น สุขภาพก็จะแข็งแรง เมื่อประสบความสำเร็จและมีการจัดกีฬาพื้นฐานมากขึ้น นักกีฬาหน้าใหม่มีมากขึ้น
สำหรับปรัชญาการนินชีวิต การบริหารงานเป็นอย่างไร อธิบดีฯ มงคล บอกว่า จากวัยเด็กจนเติบโตขึ้นมาก็มีเปลี่ยนแปลงไป แต่มาถึงปัจจุบันก็พูดได้ว่า ตกผลึกแล้ว คือ สิ่งที่ค้นพบสำหรับตัวเองก็คือ เอาความตั้งใจ ความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง ผมเชื่อว่าเป้าหมายหรือสิ่งที่เราอยากทำ โอกาสประสบความสำเร็จจะสูง แต่จะต้องบริสุทธิ์ใจนะ ตั้งใจบริสุทธิ์ถามว่าเพราะอะไร จากประสบการณ์ของผม พบว่าถ้าเรามีสิ่งนี้ก็จะมีตัวช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริม ทำผมเชื่ออย่างนั้น ถ้าจะพูดภาษาธรรมะ ก็คล้ายๆ กับการอธิษฐาน แต่ต้องบริสุทธิ์นะ อธิบดีฯ มงคล กล่าวในที่สุด