ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เปิดมุมมอง เมืองสุขภาพดี จากนโยบายสู่การขับเคลื่อนเมืองสีเขียว ในงาน Active City Forum
10 เม.ย. 2568

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกลุ่ม we!park และภาคีเครือข่าย จัดงาน “ Active City Forum :Activate city for healthier Life ปลุกเมืองให้สุขภาพดี ด้วยเราทุกคน” ในงานมีการเสวนาถึงบทบาทของนโยบายภาครัฐสู่การปฏิบัติ : กลไกขับเคลื่อนสู่เมืองสุขภาวะ

นางจินนา ตันศราวิพุธ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงบทบาทนโยบายระดับชาติต่อเมืองสุขภาวะว่า มีการระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนระยะ5ปี  โดยมีการพูดถึง “เมืองน่าอยู่ อัจฉริยะ” ปลอดภัยและยั่งยืน ปัจจุบันคนไทยร้อยละ 34 อาศัยอยู่ในเมือง ดังนั้นการพัฒนาเมืองจะต้องมีฐานข้อมูลแต่ละพื้นที่ เพื่อยืนยันศักยภาพนำเสนอโครงการ และต่อยอดจากฐานเดิม มองหาจุดเด่นของแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดว่ามีศักยภาพด้านไหนในการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่ สุขภาพดี เพื่อกำหนดแผนงาน วางเป้าหมายสู่การลงมือปฏิบัติ
“ความท้าทายของแผนในระดับท้องที่คือยัง missing Link ความต้องการของท้องที่จะต้องเป็นสิ่งที่เขาต้องการจริงๆเพื่อเสนอแผนโครงการพัฒนาเมืองน่าอยู่ให้ตรงกับศักยภาพที่มี” นางจินนา กล่าว

นางสาวอิสริยา เฉลิมศิริ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พูดถึงพลังเอกชนสู่กลไกขับเคลื่อนเมืองว่า BOI เป็นตัวเชื่อมระหว่างภาคเอกชนกับชุมชนด้วยมาตราการด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆเพื่อส่งเสริมให้เอกชนมีการลงทุนด้าน Green Investment มากขึ้น และส่งเสริมให้เอกชนมี Green Transition เพื่อลดการปล่อยก๊าซในกระบวนการผลิต และส่งเสริมให้มีการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์ พบว่าตั้งแต่ปี 2565-2567 ตัวเลขการขอสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่า  ส่วนมาตราการการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมภาคเอกชนให้ความสนใจถึง 84 โครงการ มากกว่า 550 ชุมชนทั่วประเทศที่ได้ประโยชน์

ด้านนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าวถึง ต้นแบบการพัฒนา “ยะลาโมเดล” พื้นที่พหุสังคมที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา และยังต้องเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบ  แต่วันนี้สามารถพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะ โดยใช้ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ทุนมนุษย์ และระบบการสื่อสาร ในการพัฒนา ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อนาคตตั้งเป้าลดอุณหภูมิของเมืองปีละ 2 องศา นอกจากต้นทุนที่กล่าวมา ยังมีปัจจัยอะไรที่ทำให้นครยะลา ก้าวมาถึงจุดนี้ได้
“หัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วม รับฟังและให้ความรู้แก่ประชาชน  มีเวทีให้ชาวบ้านนำเสนอผ่านช่องทางต่างๆ  และใช้ต้นทุนที่เรามีมาขับเคลื่อนกับสิ่งที่เป็นเทรนของโลกคือเทคโนโลยี  ทำให้เมืองมีสิ่งแวดล้อมดีด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว  ส่วนเรื่องอากา เราออกกฎต่างๆเพื่อทำให้การไหลเวียนของอากาศในเมืองดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ต่อยอดจากต้นทุนที่มีทั้งนั้น เราทำให้ชาวบ้านเห็นว่า ต้นทุนทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ความสะอาด ความเป็นระเบียบ และการศึกษา  คือทางอยู่รอด ทำให้เมืองเดินไปข้างหน้าได้”

นอกจากนี้ จังหวัดยะลา ยังโดดเด่นในการจัดการพื้นที่สีเขียวที่มีถึง 17 ตารางเมตรต่อคน เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้เมืองควรมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน และยังได้จัดซื้อที่ดินนอกเขตเทศบาลจำนวน 150 ไร่ เพื่อชดเชยการเติบโตของเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ได้ออกกฎควบคุมความสูงของอาคารที่อยู่ใกล้พื้นที่สาธารณะไม่ให้เกิน 15 เมตร เพื่อป้องกันปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island) ในย่านกลางเมือง

“ความสำเร็จของยะลาโมเดล ดูได้จากตัวชี้วัดของจำนวนคนที่มาใช้พื้นที่สีเขียว ความเป็นเมืองที่คนเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น ราคาที่ดินยะลาติด 1 ใน 10 ของประเทศไทยที่แพงขึ้นแสดงว่ายะลาตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน” นายกเทศมนตรี กล่าวทิ้งท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...