ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
กสทช.เร่งปิดหมายเลขใน3กรณีสกัดแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์
09 ธ.ค. 2566

ที่สำนักงาน กสทช. ศ.นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช., พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมาย นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. เรียกประชุมด่วน ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน)โดยมีผู้บริหาร ตัวแทนผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม เข้าร่วมประชุมพร้อมด้วย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. และคณะ ผู้แทนกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้เนื่องจากตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มอบนโยบายเร่งด่วนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการแก้ไขปัญหาแก๊ง คอลเซ็นเตอร์ กสทช.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้หารือร่วมกับผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด, บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน), สอท. และผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางในการระงับ การใช้หมายเลขโทรศัพท์ต้องสงสัยแบบฉับพลัน ดังนี้

1. เบอร์ที่มีการโทรออกบ่อยครั้งไปยังผู้รับที่หลากหลาย เช่น เกินกว่า 100 ครั้งต่อวัน

2. เบอร์ที่ผูกกับบัญชีม้ารองรับการโอนเงินจากเหยื่อ

3. เบอร์ที่มีการโทรบริเวณแนวชายแดนบ่อยครั้งผิดปกติ

โดยมีขั้นตอนการสั่งระงับเบอร์ต้องสงสัย มอบหมายให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สอท. กสทช. ส่งผู้แทนเข้าร่วมกันทำงานเพื่อกลั่นกรองเบอร์ต้องสงสัย เมื่อผู้แทนทั้งสามฝ่ายพิจารณาแล้วว่าเป็นเบอร์ต้องสงสัย หรือ เป็นเบอร์ที่ใช้ในการกระทำความผิดแจ้งให้ผู้ประกอบการระงับการใช้งานเบอร์นั้นๆ ทันที กสทช. เร่งรัดแก้ไขปรับปรุงกฎหมายวันเดียวกัน พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมาย และประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม เรียกประชุม อนุกรรมการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายฯ ครั้งที่ 8/2566 เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง สามารถรับมือกับอาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยอำนวยความสะดวกในการก่ออาชญากรรม สืบเนื่องจากการมาของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และความเป็นอัจฉริยะของโทรศัพท์มือถือ ทำให้เทคโนโลยี สื่อสารเกิดการหลอมรวม ปัจจุบันเราสามารถฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ คุยโทรศัพท์ เล่นอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ได้บนมือถือ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ทำให้เกิดวิธีการปฏิบัติ และอาชญากรรมรูปแบบใหม่

” จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กสทช. อย่างเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสามารถแจ้งเตือนภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งสามารถรับมือ กับอาชญากรรมสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ”

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...