ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรผู้ผลิตกาแฟดอยช้าง ก้าวข้ามกับดักหนี้ สู่การสร้างอาชีพ
16 ม.ค. 2566
​ธ.ก.ส. ลุยช่วยเกษตรกร ก้าวข้ามผลกระทบจาก COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว วางมาตรการดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้ที่ตรงกับความต้องการแบบครบวงจร ควบคู่การฟื้นฟูเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่านโมเดล D&MBA ชูต้นแบบวิสาหกิจชุมชมผู้ผลิตกาแฟดอยช้าง ที่เข้าไปจัดการปัญหาของสมาชิกแบบรายคน และนำจุดแข็งของกลุ่มที่มีการรวมพลังในการผลิตกาแฟที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาเป็นฐานสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
วันนี้ (14 มกราคม 2566) นายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายไพศาล หงษ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. เยี่ยมชมงานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟดอยช้าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกเป็นชนเผ่าอาข่าและลีซู กว่า 1,500 ครัวเรือน โดยรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า บนพื้นที่กว่า 24,500 ไร่ มีการพัฒนากระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ทั้งการปลูก การรวบรวม แปรรูป สู่การตลาด และได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศว่าเป็นกาแฟชนิดพิเศษคุณภาพสูง (Specialty Coffee) ซึ่งความตั้งใจในการผลิตกาแฟคุณภาพ และการเอาใจใส่ในมาตรฐาน ช่วยเสริมสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สมาชิกมากว่า 20 ปี โดยในช่วงที่ผ่านมาสมาชิกในกลุ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 และวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ไม่สามารถส่งออกกาแฟไปยังประเทศคู่ค้า รวมถึงร้านกาแฟดอยช้างไม่สามารถเปิดให้บริการ เนื่องจากมาตรการป้องกันของรัฐบาลและจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ขาดรายได้และส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้
จากสถานการณ์ดังกล่าว ธ.ก.ส. ได้ร่วมกับชุมชนเข้าไปแก้ปัญหาผ่านโมเดล Design and Manage by Area (D&MBA) หรือการออกแบบ – การจัดการเชิงพื้นที่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาตรงกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง พร้อมนำจุดเด่นของชุมชนมาเป็นปัจจัยในการฟื้นฟูอาชีพ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนมาเติมความรู้ด้านการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสนับสนุนด้านการตลาด รวมถึงการดำเนินมาตรการดูแลเพื่อลดภาระและความกังวลใจด้านหนี้สิน ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับที่มาของรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ การลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ที่เกิดจากเหตุสุจริต สูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ในกรณีชำระหนี้เสร็จสิ้น เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพ และมีความตั้งใจที่จะชำระหนี้กลับมามีความสามารถในการประกอบอาชีพและมีรายได้ การให้รางวัลกับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีผ่านโครงการชำระดีมีคืน โดยคืนดอกเบี้ยร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อราย ให้กับลูกค้าที่ชำระหนี้ที่ถึงกำหนด เพื่อลดภาระในการชำระหนี้และเสริมสภาพคล่อง วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังเติมสินเชื่อใหม่เพื่อลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบที่เป็นภาระหนักและเสริมศักยภาพในการผลิต รวบรวม และจำหน่าย ผ่านมาตรการเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูลูกค้า ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉิน เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดดอกเบี้ย MRR วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท และ โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนประกอบอาชีพ วงเงินรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR-2 ชำระคืนภายใน 15 ปี และสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ในช่วง 2 ปีแรก โดยปลอดชำระดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก ปีถัดไปคิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.50) และ MLR (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 4.875) ซึ่งมาตรการการต่างๆ ดังกล่าว ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มมีขวัญกำลังใจและกลับมามีศักยภาพในการประกอบอาชีพ รองรับกับการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ หลังการเปิดประเทศทั้งของไทยและทั่วโลก
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...