ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
คคบ. ลงดาบผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิผู้บริโภค เรียกเงินคืนกว่าสองล้านบาท
26 ก.ย. 2565

            วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ครั้งที่ ๘/๒๕๖๕ ณ ห้องประชุม ๑ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๐ พรรษา  อาคารรัฐประศาสนภักดี (บี) ชั้น ๕ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร  จากการประชุม ได้มีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ จำนวน ๔ เรื่อง  (ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด)  ธุรกิจด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน ๙ เรื่อง (ซื้อคอร์สดูแลผิวหน้าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ จองแพ็กเกจจัดงานแต่งงาน  จัดส่งพนักงานดูแลผู้ป่วย  ซื้อชุดตรวจโควิด ซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยว) รายละเอียด ดังนี้

                   ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์  จำนวน ๔ เรื่อง

  1. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับบริษัทฯ แห่งหนึ่ง ในราคา ๒,๐๓๗,๔๒๐ บาท  โดยชำระเงินจองและเงินทำสัญญา รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๔๔,๔๙๐ บาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปลายปี ๒๕๕๗ แต่ปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่สามารถก่อสร้างห้องชุดให้แล้วเสร็จตามสัญญาได้ ทำให้ได้รับความเสียหาย จึงมีความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาและขอให้บริษัทฯ คืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วทั้งหมด เมื่อบริษัทฯ ไม่คืนเงิน จึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค  มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจฯ
    เพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน ๒๔๔,๔๙๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  2. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาจองซื้อห้องชุดกับบริษัท ฯ แห่งหนึ่ง ราคา ๕,๕๖๐,๐๐๐ บาท  ชำระเงินจอง เงินทำสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๗๘๐,๐๐๐ บาท ต่อมาผู้บริโภคไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน จึงมีความประสงค์ให้บริษัทฯ คืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด กรณีดังกล่าวผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญา บริษัทฯ จึงมีสิทธิริบเงินมัดจำ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท และเงินทำสัญญา จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท ได้ตามกฎหมาย ในส่วนเงินดาวน์ จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ บาท  ไม่ใช่เงินมัดจำบริษัทฯ จำต้องคืนเงินดาวน์ให้กับผู้ร้อง
    เมื่อบริษัทฯ เสนอคืนเงินดาวน์ให้ผู้ร้องเพียงจำนวน ๓๕๐,๐๐๐ บาท  การกระทำของบริษัทฯ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจฯ เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ บาท  พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

 

 

  1. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับบริษัทฯ แห่งหนึ่ง โดยได้ชำระเงินจอง 
    เงินทำสัญญา และเงินดาวน์  รวมเป็นจำนวนเงิน ๑๒๕,๐๐๐ บาท ต่อมาผู้บริโภคได้ยื่นขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ไม่ได้รับอนุมัติ จึงมีความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน  จากการเจรจาไกล่เกลี่ยคู่กรณีทั้งสองสามารถตกลงกันได้  โดยได้จัดทำบันทึกข้อไว้ว่าจะคืนเงินให้ผู้บริโภค  เป็นจำนวนเงิน ๑๒๕,๐๐๐ บาท ผ่อนชำระคืนภายใน ๑๘ เดือน ครบกำหนดชำระในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๑ ถึงกำหนดปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่ชำระเงินตามบันทึกข้อตกลง ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามบันทึกข้อตกลง และเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค  มติที่ประชุม ดำเนิน
    คดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจฯ เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน ๑๒๕
    ,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  2. กรณีผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อร่วม ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับบริษัทฯ แห่งหนึ่งในราคา ๓,๗๑๖,๓๒๐ บาท  ได้ชำระเงินจอง  เงินทำสัญญา และเงินดาวน์ รวมเป็นเงิน ๔๖๒,๔๐๐ บาท  ตามสัญญาจะซื้อ
    จะขาย  โดยกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดภายในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ แต่ผู้บริโภคไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน จึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมดคืน แต่ได้รับการปฏิเสธ แต่กรณีดังกล่าวปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ ได้มีหนังสืออ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดหากผู้ซื้อผิดนัดการชำระเงินหรือไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กำหนดไว้ ผู้จะซื้อยินยอมให้ผู้จะขายริบเงินที่ได้รับมาแล้วทั้งสิ้นและในบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด “...ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติการกู้ของผู้จะซื้อไม่ว่าเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ผู้จะซื้อจะยกเอาสาเหตุดังกล่าวมาเพื่อปฏิเสธการชำระเงินตามสัญญาหรือล่าช้ากว่าที่กำหนดในสัญญานี้มิได้”  จึงเห็นว่าสัญญาจะซื้อจะขายนี้  ไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุด  ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำตามแบบสัญญา จึงไม่เป็นคุณต่อผู้จะซื้อ สัญญาจึงไม่มีผลใช้บังคับ บริษัทฯ จึงมีสิทธิริบได้เพียงเงินจองและเงินทำสัญญา ซึ่งถือเป็นเงินมัดจำ ส่วนเงินดาวน์ ๔๐๗,๔๐๐ บาท มิใช่มัดจำและเบี้ยปรับที่บริษัทฯ จะมีสิทธิริบได้  บริษัทฯ จึงต้องคืนเงินดาวน์ เมื่อบริษัทฯ ปฏิเสธ จึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจฯ เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน ๔๐๗,๔๐๐ บาท และ พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการ รวมจำนวน ๙ เรื่อง

  1. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาซื้อคอร์สดูแลผิวหน้ากับบริษัทฯ แห่งหนึ่งในราคา ๓๒๐,๐๐๐ บาท ใช้บริการไปแล้วบางส่วน ต่อมาเมื่อผู้บริโภคจะเข้าใช้บริการบริษัทฯ ได้ทำการปฏิเสธการให้บริการโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างตามกฎหมายได้ จึงมีความประสงค์ขอคืนเงินที่ยังมิได้เข้ารับบริการจำนวนทั้งสิ้น ๒๙๙,๓๗๐ บาท  เมื่อพิจารณาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เห็นว่าบริษัทฯ เป็นฝ่ายผิดสัญญาถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค  
    มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินให้แก่ผู้บริโภค จำนวน ๒๙๙,๓๗๐ บาท
    พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
          
  2. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างบุคคลเพื่อทำเฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน แบบ 3D ราคา ๓๐๕,๐๐๐ บาท แบ่งชำระ ๔ งวด ผู้บริโภคชำระเงินจำนวน ๒ งวดแล้ว รวมเป็นเงิน ๒๒๐,๐๐๐ บาท ภายหลังชำระเงินงวดที่ ๒ แต่บุคคลดังกล่าวทำงานไม่เสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงไว้ เมื่อครบกำหนดส่งมอบงาน ไม่สามารถส่งมอบงานตามสัญญาได้ ผู้บริโภคได้ติดต่อไปเพื่อสอบถามความคืบหน้า แต่กลับไม่ได้รับคำตอบ
    ใด ๆ ผู้รับจ้างจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาฯ และเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  3. กรณีผู้บริโภคได้สั่งทำเฟอร์นิเจอร์ ๕ รายการ เป็นเงิน ๓๙,๐๐๐ บาท กับร้านค้าแห่งหนึ่ง
    โดยผู้บริโภคชำระเงินมัดจำ ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อมาร้านฯ แจ้งว่า ไม่สามารถทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สนเกรด A ตามราคา
    ที่ตกลงไว้ได้ จึงตกลงกันลดคุณภาพไม้และสั่งทำเฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติมอีก ๕ รายการ รวมเป็นเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท คงเหลือเงินที่ต้องชำระ ๒๕,๐๐๐ บาท เมื่อถึงเวลากำหนดส่งมอบ ร้านดังกล่าวไม่ดำเนินการทำเฟอร์นิเจอร์ ผู้บริโภคจึงขอยกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน ซึ่งเจ้าของห้างฯ ดังกล่าวแจ้งว่าจะคืนเงินมัดจำ แต่ไม่คืนเงินจำนวนดังกล่าว ร้านค้าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาฯ และเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ห้างฯ
    เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๒๑
    ,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  4. กรณีผู้บริโภคทำสัญญาจองแพ็กเกจจัดงานแต่งงานกับบริษัทฯ แห่งหนึ่ง กำหนดจัดงาน
    ในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นเงินจำนวนรวม ๓๐๔,๙๙๘ บาท โดยผู้บริโภคชำระเงินมัดจำค่าแพ็กเกจจัดงานแต่งงานจำนวน ๑๕๗,๔๙๙ บาท ต่อมาด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ทำให้บริษัทฯ
    ไม่สามารถจัดงานแต่งงานตามสัญญาได้ ผู้บริโภคจึงมีความประสงค์ขอเงินมัดจำค่าแพ็กเกจจัดงานแต่งงานที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ คืนทั้งหมด แต่ถูกปฏิเสธ การที่บริษัทปฏิเสธที่จะคืนเงินมัดจำ จึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
    มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๑๕๗,๔๙๙ บาท พร้อมดอกเบี้ย
    ตามกฎหมาย
  5. กรณีผู้บริโภคทำสัญญาว่าจ้างบริษัทฯ แห่งหนึ่ง ให้จัดส่งพนักงานดูแลผู้ป่วยไปดูแลผู้ป่วย
    ที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ ในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๔ ชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินเข้าชื่อบัญชี บริษัทฯ  จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ประกอบด้วยค่าดำเนินการ ๒,๐๐๐ บาท และเงินมัดจำ ๑๘,๐๐๐ บาท ต่อมาบริษัทฯ ไม่จัดส่งพนักงานคนดังกล่าวไปดูแลผู้ป่วยตามสัญญา ผู้บริโภคจึงแจ้งยกเลิกสัญญาและขอเงินคืนแต่ถูกเพิกเฉย การที่
    บริษัทฯ ไม่ยินยอมคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้บริโภคจึงเป็นละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  6. กรณีผู้บริโภคทำสัญญาว่าจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ แห่งหนึ่ง จัดหาพนักงานดูแลผู้ป่วย ค่าจ้างเดือนละ ๑๗,๐๐๐ บาท โดยผู้บริโภคชำระเงินมัดจำ ๑๗,๐๐๐ บาท และค่าบริการ จำนวน ๒,๕๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๙,๕๐๐ บาท ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ  ได้ส่งพนักงานซึ่งไม่สามารถปฏิบัติงานได้ จำนวน
    ๓ คน ผู้บริโภคจึงแจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ จัดหาพนักงานคนใหม่มาปฏิบัติงานแทน แต่ไม่สามารถจัดส่งพนักงาน
    ให้ได้ ผู้บริโภคจึงมีความประสงค์ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ คืนเงินมัดจำ จำนวน ๑๗,๐๐๐ บาท แต่ถูกปฏิเสธ จึงเป็นการผิดสัญญาและละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ เพื่อบังคับให้
    คืนเงินจำนวน ๑๕
    ,๓๐๐ บาท  พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

 

  1. กรณีผู้บริโภคสั่งผลิตเตียงไม้สัก จำนวน ๒ หลัง กับผู้รับจ้าง ในราคา ๓๒,๐๐๐ บาท ชำระเงินค่ามัดจำ จำนวน ๑๒,๐๐๐ บาท คงเหลือเงินที่ต้องชำระ ๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อผู้บริโภคได้รับเตียงไม้สัก ผู้รับจ้างเสนอลดราคาค่าเตียงฯ ให้แก่ผู้บริโภค ๒,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งเสนอการรับประกันคุณภาพสินค้าดังกล่าว ผู้บริโภคจึงชำระเงินค่าเตียงในส่วนที่เหลือ จำนวน ๑๘,๐๐๐ บาท ต่อมาภายหลังจากการใช้งานพบว่า บริเวณหัวเตียงทั้ง ๒ หลัง มีรอยแตกร้าว ผู้รับจ้างรับว่าจะเปลี่ยนเตียงให้ และได้ดำเนินการเปลี่ยน
    เตียงฯ ใหม่ให้แล้ว จำนวน ๑ หลัง แต่ยังพบปัญหาเช่นเดิม ผู้บริโภคจึงมีความประสงค์ให้ผู้รับจ้างรับซื้อเตียงไม้สักทั้ง ๒ หลังคืน แต่ได้รับการปฏิเสธ กรณีดังกล่าวทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย การกระทำของผู้รับจ้างจึงเป็นการผิดสัญญาและละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้รับจ้าง เพื่อบังคับให้
    คืนเงินจำนวน ๒๙
    ,๕๐๐ บาท  พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  2. กรณีผู้บริโภคสั่งซื้อชุดตรวจโควิด ชนิด 2in1 Gica Testsealabs COVID-19 Anitigen Test Kit ATK Home Use Covid Test จากแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก จำนวน ๒๐ ชุด ในราคา ๕๔๐ บาท และชำระเงินโดยวิธีโอนเงินผ่านบัญชีบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยผู้ขายแจ้งว่าจะได้รับสินค้าภายใน ๒ - ๓ วัน เมื่อถึงกำหนดปรากฏว่าผู้ขายไม่ได้ส่งสินค้าดังกล่าวให้กับผู้บริโภค จึงติดตามทวงถาม
    แต่ไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด  การที่ผู้ขายไม่ยินยอมคืนเงินจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ขาย เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๕๔๐ บาท  พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
  3. กรณีองค์กรผู้บริโภคแห่งเกาหลี (Korea Consumer Agency: KCA) แจ้งว่าผู้บริโภคสัญชาติเกาหลี ได้ทำสัญญากับบริษัทฯ แห่งหนึ่ง เพื่อจองซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบ Exclusive ไปพร้อมกับนักแสดงละคร The Six Moons ที่ประเทศไต้หวัน โดยผู้บริโภคชำระเงินไปแล้วจำนวน ๓๑,๗๙๐ บาท ต่อมาได้รับแจ้งว่า โปรแกรมการท่องเที่ยวที่จองไว้ถูกยกเลิก  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และรัฐบาลประเทศไต้หวันประกาศไม่รับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ต่อมาก่อนเดินทาง ๑ วัน บริษัทฯ ได้ประกาศแจ้งเลื่อนการเดินทาง จึงได้ติดต่อกับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางตามโปรแกรมท่องเที่ยวดังกล่าวเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ ๑) ยกเลิกการเดินทาง โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้คนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เลื่อนการเดินทางออกไปเป็นช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ในวันเดินทาง มีกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวนประมาณ ๓๐ คน แจ้งความประสงค์ที่จะไม่เดินทาง จึงทำให้ไม่มีผู้ที่จะเดินทางไปตามโปรแกรมท่องเที่ยว กรณีดังกล่าว บริษัทฯ พร้อมด้วยผู้ถูกร้องเรียนจำนวน ๒ ราย ได้ร่วมกันประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว โดยจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวและโฆษณาประชาสัมพันธ์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่า “Fresh Fun Fin Taiwan with The 6 Moons”  จึงเป็นกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ดังนั้น ผู้ถูกร้องทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ร่วมกันคืนเงินจำนวน ๓๑,๗๙๐ บาท ให้แก่ผู้บริโภค เมื่อผู้ถูกร้องทั้ง ๒ ปฏิเสธที่จะคืนเงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัท และผู้ถูกร้อง จำนวน ๒ ราย เพื่อบังคับให้ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินจำนวน ๓๑,๗๙๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...