ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
อุทธาหรณ์การจัดซื้อหนังสือฯ ใน อปท.
26 พ.ค. 2565

เขียนให้คิด : โดย ซีศูนย์

อุทธาหรณ์การจัดซื้อหนังสือฯ ใน อปท.

สวัสดีครับท่านผูอ่านที่เคารพ พฤษภาคมปีนี้แม้ฝนเริ่มตั้งเค้าลดความร้อนของเดือนที่ผ่านมาบ้าง แต่อุณหภูมิการเมืองก็ยังร้อนระอุทั้งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ทั้งเรื่องการเมืองในสภาใหญ่ที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเรื่องวาระดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีอีก ชาวบ้านอย่างเราก็ดูกันไป อย่าไปซีเรียสกับมันนะครับ

มาเล่าเรื่องของเรากันดีกว่า คราวนี้เป็นเรื่องการจัดซื้อหนังสือโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งเดิม สตง.ได้เข้าตรวจสอบการจัดซื้อหนังสือสำหรับโครงการส่งเริมการเรียนรู้ จำนวน 139 รายการ ของ อปท.แห่งหนึ่ง เมื่อ ปี 2551 พบว่า ตามเอกสารการประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ระบุเลขที่ วันเดือนปีในประกาศ มีการพิมพ์ข้อความในเรื่องหลักประกันซองกำหนดว่า...          

“ผู้เสนอราคาต้องวางหลักประกันซองข้อเสนอด้านเทคนิค จำนวน....บาท โดยใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้” ซึ่งการกำหนดดังกล่าว เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์.ของหน่วยงาน.ประกอบหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพอ.) 0408.4/ว124 ลงวันที่ 9 เมษายน 2550 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาค้ำประกันในหนังสือค้ำประกันของผู้ประสงค์จะเสนอราคา ซึ่งกำหนดให้ใช้ข้อความว่า “ผู้เสนอราคาต้องวางหลักประกันซองพร้อมกับการยื่นซองเอกสารทางด้านเทคนิค จำนวน....บาท (....) โดยหลักประกันซอง จะต้องมีระยะเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันยื่นซองข้อเสนอทางด้านเทคนิคครอบคลุมไปจนถึงวันสิ้นสุดการยืนราคาโดยหลักประกันให้ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด

นอกจากนี้ หลักประกันซองที่ผู้ชนะการประกวดราคาเสนอราคาเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารคิดระยะเวลาเพียง 93 วัน ไม่ครบเงื่อนที่กำหนดให้ยืนราคา 180 วัน อาจเข้าข่ายผิดเรื่องฮั้วด้วย สตง.จึงส่งเรื่องให้หน่วยงานดำเนินการสอบข้อเท็จจริงกับคณะกรรมการกำหนดร่าง TOR และร่างเอกสารการประมูล

จากการสอบสวนปรากฏว่า โครงการดังกล่าว ใช้เงินถึงสี่ล้านเก้าแสนบาทเศษ ซึ่งตามระเบียบวิธีการประมูลของหน่วยงานนั้น ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด TOR ก่อนจัดซื้อ แต่เรื่องนี้กลับไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด TOR โดยหน่วยงานอ้างว่า หนังสือสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่ กท 1305/10 ลงวันที่ 2 มค.2551 เรื่องการเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ของหน่วยงาน ผ่อนผันให้การจัดซื้อหรือจัดจ้างในวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานนั้น จะแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด TOR และร่างเอกสารการประมูลหรือไม่ก็ได้

การจัดซื้อดังกล่าว จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ส่วนในประเด็นตามเอกสารการประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ที่มีการพิมพ์ข้อความในเรื่องหลักประกันซองกำหนดว่า...”ผู้เสนอราคาต้องวางหลักประกันซองข้อเสนอด้านเทคนิค จำนวน....บาท โดยใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้” ซึ่งการกำหนดดังกล่าว เป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ของหน่วยงานประกอบหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค(กวพอ.)0408.4/ว124 ลงวันที่ 9 เมษายน 2550 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาค้ำประกันในหนังสือค้ำประกันของผู้ประสงค์จะเสนอราคา ซึ่งกำหนดให้ใช้ข้อความว่า “ผู้เสนอราคาต้องวางหลักประกันซองพร้อมกับการยื่นซองเอกสารทางด้านเทคนิค จำนวน....บาท (....) โดยหลักประกันซอง จะต้องมีระยะเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันยื่นซองข้อเสนอทางด้านเทคนิคครอบคลุมไปจนถึงวันสิ้นสุดการยืนราคาโดยหลักประกันให้ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

และเรื่องนี้เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไประดับ 6 ของฝ่ายการศึกษา สมมติชื่อนาง อ.ก็แล้วกันครับ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดซื้อ รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิคส์อีกหน้าที่ นาง อ.ยังเป็นผู้ทำประกาศจัดซื้อและพิมพ์ข้อความในเรื่องหลักประกันซองอ้างว่ าได้พิมพ์ข้อความโดยสำเนาจากเอกสารการประกวดราคาเรื่องอื่นที่อยู่ในฐานระบบข้อมูลเดิมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเนื้อหาข้อความของการประกวดราคาซื้อตามข้อบัญญัติพัสดุ รวมทั้งการพิมพ์ข้อความจากการประมูลเรื่องอื่นๆ ที่ผ่านมา จึงไม่อาจฟังว่า เป็นการทุจริต แต่เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามหนังสือสำนักงานเศรษฐกิจการคลังลงวันที่ 9 มี.ค. 2550 เรื่องแนวทางปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ ประกอบหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค (กวพ.อ.) 0408/.4ว124 ลงวันที่ 9 เมย. 2550 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาค้ำประกันในหนังสือค้ำประกันของผู้ประสงค์จะเสนอราคา

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีประเด็นที่บริษัทผู้ชนะการประมูลครั้งนี้ได้ทำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันโดยยืนราคาเพียง 93 วัน อันเป็นการผิดเงื่อนไขตามประกาศที่กำหนดยืนราคาไม่น้อยกว่า 180 วัน โดยคณะกรรมการดำเนินการประมูลกับเจ้าหน้าที่การเงินไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบ จึงออกใบรับหลักประกันซองโดยมิได้หมายเหตุใดๆ ทำให้บริษัทที่ชนะการประมูลมีสิทธิเสนอราคาเช่นรายอื่นและชนะการประมูลด้วย แต่คณะกรรมการสอบสวนให้เหตุผลว่า ไม่มีเจตนาทุจริต รวมทั้งขาดความรู้ประสบการณ์ แต่ผลเสียหายไม่เกิด จึงลงโทษภาคฑัณฑ์ และลดเป็นว่ากล่าวตักเตือนคณะกรรมการจัดประมูลและเจ้าหหน้าที่การเงิน เ

เรื่องนี้ต้นสังกัดเป็นคนสอบสวนนะครับท่านผู้อ่าน ไม่ใช่ ป.ป.ช.ไต่สวนซึ่ งถ้าไปถึง ป.ป.ช.อาจเข้าข่ายฮั้ว โทษอาจจะเป็นอีกแบบก็ได้ เช่นนี้ผู้บังคับบัญชาน่าจะลงโทษหนักกว่านี้นะครับ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...