ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ดร.วิฑูรย์ อภิสิทธิ์ภูวกุล รองผู้อำนวยการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรงุเทพมหานคร
30 พ.ย. 2564

“บริการประชาชน” เป็นสิ่งที่หลายหน่วยงานจากภาครัฐพยายามแสดงจุดยืนอย่างแข็งขัน แต่ทว่า การดูแลประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้จบเพียงแค่นำเสนอโครงการหรือออกกฎมาตรการเท่านั้น แต่ต้องเป็นโครงการที่มีการนำเสนอความสร้างสรรค์เช่น การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้การบริการที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สอดคล้องกับยุคไทยแลนด์ 4.0

ตัวอย่างเช่น ล่าสุด เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร คว้ารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 ไปถึง 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลดีเด่นประเภทนวัตกรรมการให้บริการ จากโครงการที่จอดรถอัจฉริยะ และรางวัลชมเชย ประเภทรายกระบวนงาน จากผลงานโครงการตรวจสอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง/นัดหมายพนักงานสำรวจระบบออนไลน์และยังได้รับการประเมินจากคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวก ประจำปี 2564 ให้เป็นศูนย์ราชการสะดวกในระดับก้าวหน้า จากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาต่อยอดเพื่อการบริหารและการให้บริการประชาชน ผ่านแอปพิเคชั่น Smart Service ที่พัฒนาขึ้นมาใช้เอง และผู้ที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการนี้ก็คือ ดร.วิฑูรย์ อภิสิทธิ์ภูวกุลซึ่งขณะนั้น นั่งเก้าอี้เป็นผู้อำนวยการเขตบางคอแหลมนั่นเอง

ดร.วิฑูรย์ อภิสิทธิ์ภูวกุล อดีตผู้อำนวยการเขตบางคอแหลมที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้อำนวยการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรงุเทพมหานครคืออีกหนึ่งต้นแบบที่ “อปท.นิวส์” ขอเชิญมาเป็นแขกสำคัญในฉบับนี้

ดร.วิฑูรย์เริ่มบอกกับ อปท.นิวส์ ว่า เป็นคนพื้เพที่กรุงเทพมหานครนี่เอง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเนื่องจากเป็นคนที่สนใจด้านเทคโนโลยี จึงมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งก็ได้มาทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และมาต่อระดับปริญญาเอกด้านการบริหารจัดการที่รั้วจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและด้วยเป็นคนที่ความสนใจและพยายามค้นคว้าศึกษาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีต้นทุนทางไอเดียในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการบริการประชาชนในเวลสาต่อมานั่นเอง

“เข้ารับราชการ เขตแรก ก็คือเขตปทุมวัน ในตำแหน่งนักวิชาการอยู่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลดูแลสุขาภิบาลด้านต่างๆ ทั้งเป็นสุขาภิบาลอาหารหรือสุขาภิบาลโรงงาน สุขาภิบาลทั่วไป รวมไปถึงดูแลป้องกันและควบคุมโรคระบาด หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลที่สำนักงานเขตบึงกุ่มก่อนจะไปดำรงตำแหน่งเดียวกันที่เขตบางรัก”

“ต่อมาก็มาอยู่ที่เขตตลิ่งชันก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้ได้ดูแลหลายฝ่ายมากขึ้น โดยแบ่งงานกับผู้ช่วยอีกท่านรับผิดชอบคนละ 5 ฝ่าย จากทั้งหมด 10 ฝ่าย ส่งผลให้การทำงานมีมุมมองที่กว้างขึ้น ก่อนจะย้ายมาดำรงตำแหน่งเดียวกันในเขตป้อมปราบ และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการที่เขตบางคอแหลม”ดร.วิฑูรย์ กล่าว

ส่วนสาเหตุสำคัญที่เข้ารับราชการนั้นดร.วิฑูรย์บอกว่า เป็นเพราะความเชื่อว่าการได้เกิดในแผ่นดินไทยก็ต้องทำประโยชน์ให้กับแผ่นดิน และการรับราชการเป็นอาชีพที่มีเกียรติ เป็นงานที่สร้างประโยชน์ให้กับแผ่นดินได้ ด้วยศักยภาพที่มี ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา คิดว่าจะสามารถตอบแทนสังคมและประชาชน รวมถึงตอบแทนให้กับแผ่นดินได้

                อย่างไรก็ตาม ด้วยประสบการณ์การดูแลประชาชนมาหลายปี ทำให้ ดร.วิฑูรย์ได้เห็นถึงมุมมองของปัญหาในหลายมิติ เพราะแต่ละพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครนั้นไม่เหมือนกันโดยมีบริบทของปัญหาแตกต่างกันออกไป ทั้งสภาพสังคมเมืองและสังคมกึ่งเมือง ที่มีปัญหาสุขาภิบาล สาธารณสุข รวมถึงสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ดังนั้นวิธีการทำงานจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมเพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีสุขาภิบาลที่ดี รวมทั้งปรับวิธีการทำงานให้อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ หรือการใช้วิทยาศาสตร์มาตรวจวัดคุณภาพเรื่องของสุขาภิบาลและเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

และโดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลมุ่งสู่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 คือการก้าวสู่ยุคของดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน กรุงเทพมหานครเองก็มีความตั้งใจที่จะทำ E -Service เพื่อรองรับ ทำให้หลายๆ หน่วยงานมีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องโดยนวัตกรรมแรกที่ ดร.วิฑูรย์คิดค้นขึ้นมาคือ นวัตกรรมทางเดินแม่เหล็กสำหรับคนตาบอด ซึ่งเป็นการประสานกับหน่วยงานการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ด้วยการนำถ่านไฟฉายที่ถูกทิ้งและเป็นขยะอันตรายมาสกัดเป็นผงแม่เหล็กเคลือบแผ่นอิฐบนทางเท้า เพื่อให้คนตาบอดได้เดินอย่างปลอดภัยก่อนเข้าสู่ ศูนย์ BFC (Bangkok Fast and Clear) ที่ตั้งอยู่ชั้นล่างของเขตตลิ่งชันดร.วิฑูรย์ เปิดเผยให้ อปท.นิวส์ฟัง

จนมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตบางคอแหลม ก็ได้ทำโครงการที่จอดรถอัจฉริยะ และสร้างระบบ QRCodeสำหรับประเมินขนาดที่ดินและขนาดสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นการสื่อสาร two way communication ช่วยให้สามารถติดต่อหน่วยงานทั้งในและนอกเวลาราชการตลอด 24 ชั่วโมงรวมถึงวันหยุดจนได้คว้า 2 รางวัล จากผลการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.2564

“ขณะที่การพัฒนาสังคมเมืองต้องมีความรวดเร็วและทันสมัย เราก็ยังต้องรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมเอาไว้ด้วย เพราะผมเชื่อว่าอนาคตการพัฒนาเชิงพหุวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องเดินคู่ไปด้วยกัน การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น การคมนาคม ด้านสาธารณสุข ต้องอยู่ด้วยกันตลอด ขณะที่การส่งเสริมอาชีพการพัฒนาความเป็นอยู่อาศัยเพื่อสร้างมูลค่าทาง GDP ของเมือง หรือสร้างดัชนีความสุข สร้างพื้นที่ re-creation ทุกอย่างต้องขมวดเข้าด้วยกัน”

“ ปัจจุบันเรามี 7 ยุทธศาสตร์สำคัญตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ซึ่งจะต้องบูรณาการยุทธศาสตร์สำคัญต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งมหานครปลอดภัย มหานครสีเขียว มหานครประชาธิปไตย มหานครกระชับ มหานครเศรษฐกิจแห่งการเรียนรู้ มหานครเพื่อคนทุกคน มหานครที่มีการจัดการสมบูรณ์และก็ดี ทุกอย่างนี้ต้องมีการบูรณาการทุกยุทธศาสตร์เข้าด้วยกัน พร้อมเชื่อมควาเป็นสังคมเมือง โดยเป้าหมายของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี คือการเป็นมหานครแห่งเอเชียดร.วิฑูรย์กล่าว

            สำหรัด้านครอบครัว ดร.วิฑูรย์ บอกว่า ก็สามารถดูแลได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง โดยมีบุตร 1 คนที่กำลังเติบโตเป็นอนาคตของชาติ จึงได้ให้ความสำคัญในการให้ความรู้ที่เหมาะสมทั้งในเรื่องของศีลธรรม ความกตัญญูกตเวที รวมถึงวัฒนธรรมที่ดีงาม รำลึกถึงความสำคัญของบรรพบุรุษ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณูปการต่อประเทศชาติ อย่างไรก็ตามด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป จึงอาจจะต้องให้อิสระพร้อมดูความเหมาะสมควบคู่ไปด้วยกัน

ปัจจุบัน ดร.วิฑูรย์ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการยุทธศาสตร์และประเมินผล ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 เขตพระนครซึ่งในวัย 40 ปลายๆ ย่างเข้า 50ดร.วิฑูรย์ ยังคงมุ่งมั่นรับใช้ประชาชน โดยมีเป้าหมายคือ ทำให้องค์กรที่ตนอยู่ เป็นเลิศ พัฒนาบุคลากร พัฒนาโครงสร้างต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้อยู่ในระดับต้นๆหลักคิดคือ

“เข้าใจสภาพปัญหาอย่างแท้จริง โดยเรียนรู้จากหน่วยงานที่ทั้งประสบความสำเร็จและไม่สำเร็จ เป็นบทเรียนในการนำมาประยุกต์ใช้กับปัญหาที่เราเจอ นี่ถือเป็นหลักคิดในการทำงานทุกอย่าง ต้องมีการวางเป้าหมายชัดเจนและหาวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้”ดร.วิฑูรย์ กล่าวในท้ายสุด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...