ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
“UBE” จับมือ ม.ราชภัฏอุบลฯ ร่วมทุนวิจัย สวก. พัฒนาโมเดลต้นแบบผู้ ASP มันสำปะหลังอินทรีย์ รายแรกของประเทศ
26 พ.ค. 2568

ที่ห้องประชุมโกมุท อาคารเรียนและปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี บริษัท อุบลซันฟลาวเวอร์ จำกัด (UBS) ในเครือบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังของประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (UBRU) เพื่อวิจัยและพัฒนาโมเดลต้นแบบผู้ให้บริการมันสำปะหลังอินทรีย์รายแรกของประเทศ โดยมี นายเผด็จศักดิ์ จำปา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายนวัตกรรม วิจัยและพัฒนา UBS และ ผศ.เสริฐ เขียนนอก รองอธิการบดี UBRU ร่วมลงนาม ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การวิจัย พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมและธุรกิจผู้ให้บริการในการผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดอุบลราชธานี” (Research, Development and Promotion of Industries and Service Providers in Cassava Production, Ubon Ratchathani Province)

ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. โครงการมีเป้าหมายเพื่อพัฒนา โมเดลต้นแบบธุรกิจผู้ให้บริการภาคการเกษตร (Agricultural Service Provider – ASP) ที่เหมาะสมกับบริบทของการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยจะทำการเปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ระหว่างระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมกับรูปแบบการให้บริการโดยธุรกิจ ASP พร้อมวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในมิติเกษตรกร เจ้าของที่ดิน และผู้ให้บริการ พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการ ASP เพื่อเสริมสร้างทักษะและความรู้เชิงปฏิบัติ นายเผด็จศักดิ์ จำปา กล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ว่า “UBS ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เนื่องจากมันสำปะหลังคือหัวใจของการผลิตแป้งมันสำปะหลังให้มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ การยกระดับการผลิตมันสำปะหลังตั้งแต่ต้นนำ

โดยใช้ระบบของเครื่องจักรกลจะทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลต่อไร่ได้อย่างแม่นยำและสมำเสมอมากยิ่งขึ้น น.ส.กัณฑ์พร กรรณสูต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายส่งเสริมและบริการนวัตกรรมเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอบคุณที่หน่วยวิจัยได้เห็นความสำคัญของการขยายองค์ความรู้อย่างเป็นระบบนำร่องในพืชไร่มันสำปะหลังอินทรีย์ คาดหวังว่างานวิจัยนี้จะช่วยสร้างโมเดล ASP หรือ service provider ไปยังเกษตรกรกลุ่มมันแปลงใหญ่ หรือระกอบการ SME รายย่อยที่มีเครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุในภาคเกษตร ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้เกษตรกรรักษาต้นทุนและมีผลผลิตที่ดี และรายได้ที่ดีตามมาโดยจะเริ่มที่จ.อุบลราชธานีเป็นที่แรก

สุธน ประกอบพร/จังหวัดอุบลราชธานี
 
*******************************************

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 กรกฎาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
17 ก.ค. 2568
การแพทย์เป็นหนึ่งในระดับความสำคัญของการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษยชาติ ซึ่งนอกจากตัวนายแพทย์ผู้ทำการรักษาแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์แน่นอนย่อมมีความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งในยุคสมัยใหม่นี้ด้วยแล้ว อุปกรณ์ทางการแพทย์ได้พัฒนาไปได้รวดเร็วยิ่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยเรา...