วันนี้ 12 พ.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู อำเภอสังขละ จังหวักาญจนบุรี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานประชุมหารือ เพื่อติดตามการดำเนินการแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของทหารกับประชาชนในพื้นที่บ้านพระเจดีย์สามองค์
โดยมี นายเชตวัน เตือประโคน ส.ส.จังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล เขต 6 รองประธานกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร นายพนม โพธิ์แก้ว สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เขต 5 ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ โฆษกคณะกรรมาธิการ นายภูวนาถ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี นายภูวพล รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองลู เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอสังขละบุรี เจ้าหน้าที่หทารหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า กองกำลังสุรสีห์ รวมถึงหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรบริหารส่วนตำบล และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วม
หลังจากประชุมแล้วเสร็จคณะทั้งหมดได้เดินทางลงพื้นที่หมู่ 9 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี ที่มีชายแดนติดกับอำเภอพญาตองซู ประเทศเมียนมา โดยเบื้องต้นไปกเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า กองกำลังสุรสีห์ ที่บริเวณ จุดตรวจจุดสกัดเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายที่ชนิดรวมถึงเป็นจุดตรวจด้านความมั่นคงที่เรียกว่า จุดตรวจหกพันไร่ ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นมีชายแดนตัดกับอำเภอพญาตองซู ประเทศเมียนมา ด้วยเช่นกัน
จากนั้นคณะของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้เดินทางต่อไปยังบริเวณชายแดนเจดีย์สามองค์ บ้านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว รวมถึงเดินสำรวจช่องทางต่างๆเพื่อเก็บเอาไว้เป็นข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของทหารกับประชาชนในพื้นที่บ้านพระเจดีย์สามองค์ หมู่ 9 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ทั้งนี้นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เปิดเผยภายหลังว่า พื้นที่ตรงตรงนี้กำลังรอการจัดสรรคให้ชัดเจนก่อน เพราะเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2524 ครม.ได้มีมติให้พื้นที่บริเวณนี้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2529 ได้มีการอนุมัติให้เช่าพื้นที่ 6,000 ไร่เป็นระยะเวลา 30 ปีเพื่อให้เป็นหมู่บ้านป้องกันชายแดน จนกระทั่งปี 2559 สัญญาเช่าได้สิ้นสุดลง พื้นที่ 6000 ไร่จึงกลายเป็นสุญญากาศมาจนถึงปัจจุบันนี้
ซึ่งทางกองพลทหารราบที่ 9 กองกำลังสุรสห์ ยืนยันมาแล้วว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณนี้ แต่ทางกองพลทหารราบที่ 9 กองกำลังสุรสีห์ ต้องการกันพื้นที่บางส่วนเอาไว้ใช้ในด้านความมั่นคง ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็ต้องการกันพื้นที่บางส่วนเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยที่อาศัยทำมาหากินกันอยู่บริเวณนี้ แต่ตอนนี้ขาดเพียงแค่จังหวัดกาญจนบุรี เข้ามาเป็นตัวกลางเท่านั้นเอง
ด้านนายพนม โพธิ์แก้ว กล่าวว่า ก่อนที่สัญญาเช่าระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีในสมัยอดีตจะหมดสัญญาเช่ากับกรมป่าไม้เมื่อปี พ.ศ.2559 สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนี้เป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีการค้าขายระหว่างชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ฝั่งไทยมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งในแต่ละปีเราสามารถจัดเก็บภาษีได้จำนวนหลายร้อยล้านบาทหรืออาจะจะเป็นพันล้านบาท
แต่ในเมื่อหนังสือสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว ทางผู้นำท้องที่จึงร้องเรียนไปยังท่านวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือ หลังจากได้รับการร้องเรียนท่านประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประชุมหารือพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน เนื่องจากทางกองทัพบกเองมองว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ชายแดนที่มีทั้งปัญหาการหลบหนีเข้าเมือง รวมถึงปัญหาเรื่องขนยาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย ทางกองทัพบบกมีความเป็นห่วงจึงขอใช้พื้นที่เอาไว้เพื่อใช้ในด้านความมั่นคง
แต่ผู้นำมองว่าพื้นที่ชายแดนควรจะนำไปใช้ทางด้านเศรษฐกิจเพื่อปากท้องของประชาชนในพื้นที่ได้ด้วย ทางประธาน กมธ.การทหารรวมถึงถัวผมเองจึงได้มีการพูดคุยกับทางกองทัพบบกและกรมป่าไม้ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องและจากการพูดคุยได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า หนังสือที่กรมป่าไม้เตรียมที่จะอนุญาตให้กองทัพบกเข้าใช้พื้นที่ให้ชะลอออกไปก่อน จากนั้นทางกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร จะออกหนังสือไปถึงกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และกองพลทหารราบที่ 9 กองกำลังสุรสีห์นั้นมาประชุมตกลงกันใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า พื้นที่ตรงไหนสมควรที่จะต้องกันอาไว้เป็นพื้นที่ด้านความมั่นคง และพื้นที่ตรงไหนควรที่จะกันเอาไว้ให้กับชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
ทั้งทางด้านการเกษตร สวนยางพาราและสวนป่าที่ชาวบ้านทำเอาไว้อยู่แล้ว ซึ่งในที่สุดต้องมาหาทางออกร่วมกันเพื่อไม่ให้กองทัพบกและประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดหรือไม่ได้รับผลกระทบเลยทั้งสองฝ่าย
///////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา ไหลวารินทร์