ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สนง.ปรมาณูเพื่อสันติ เฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์ สร้างความปลอดภัยให้ประชาชน
22 เม.ย. 2568

สนง.ปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวง อว. สร้างความปลอดภัยให้ประชาชน ด้วยระบบเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์ เชื่อมโยงเครือข่ายโลก

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ รรท. เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ตามนโยบายของท่านศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่ท่านมุ่งสนับสนุนการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านความมั่นคงความปลอดภัย และนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ให้เกิดกับประเทศชาติและ ประชาชน ซึ่งสนง.ปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวง อว. ได้นำนโยบายมาขับเคลื่อน ด้วยการสร้างความปลอดภัยให้ประชาชน ด้วยระบบเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์ เชื่อมโยงเครือข่ายโลก เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกและในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านพลังงาน การแพทย์ การวิจัย อุตสาหกรรม เกษตร และอื่น ๆ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านนิวเคลียร์เพื่อความมั่นคงของประเทศต่างๆ  ซึ่ง ปส. กระทรวง อว. ได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ผ่านการเชื่อมโยงกับระบบการเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังภัยระดับโลกที่มีสถานีเฝ้าตรวจการทดลองนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพสูง จำนวน 321 แห่งทั่วโลก สามารถตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์ได้อย่างแม่นยำและทันสมัยในทุกสถานการณ์

นายแพทย์รุ่งเรือง กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทย โดย ปส. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี มีบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยประสานงานหลักระดับชาติในการดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ban Treaty, CTBT) ผ่านการจัดตั้งและดำเนินงานเครือข่ายสถานีเฝ้าตรวจ 2 แห่ง ภายใต้ระบบเฝ้าตรวจระหว่างประเทศ (International Monitoring System – IMS) ได้แก่
1. สถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี อาร์เอ็น 65 (Radionuclide Monitoring Station, RN65)
ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็น 1 ใน 80 สถานีเฝ้าตรวจนิวไคลด์กัมมันตรังสี ที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลก มีหน้าที่ตรวจจับอนุภาคกัมมันตรังสีในอากาศ และ ปส. มีแผนจะทำการติดตั้งระบบตรวจวัดก๊าซเฉื่อยกัมมันตรังสี (Radionuclide Noble Gas System: THX65) ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะส่งผลให้สถานีนี้มีศักยภาพในการตรวจวัดก๊าซเฉื่อยกัมมันตรังสีที่เกิดจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นเพียงสถานีเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่มีศักยภาพในการตรวจวัดดังกล่าว
2. สถานีตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ พีเอส 41 (Primary Seismic Monitoring Station,
PS41) ณ สถานีวัดความสั่นสะเทือน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 50 สถานีตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยสถานีดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ มีหน้าที่ตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวที่อาจเป็นผลจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน

อีกทั้ง ปส. ยังได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติ (National Data Center, N171) ณ ปส. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรับ-ส่งข้อมูลจากทั้งสถานีเฝ้าตรวจในประเทศไทยและจากทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้สามารถเฝ้าระวังและตอบสนองภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ ยังติดตั้งสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีทั่วประเทศ รวม 22 สถานี แบ่งเป็นสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีในอากาศ 21 สถานี และในน้ำทะเล 1 สถานี เพื่อติดตามและตรวจวัดกระดับรังสีแกมมาในสิ่งแวดล้อม สำหรับการเฝ้าระวังภัยทางรังสีที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ตลอด 24 ชั่วโมง
ประชาชนจึงสามารถมั่นใจได้ว่า ด้วยเครือข่ายการเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีที่ทันสมัยและครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งในด้านการเฝ้าระวังและการตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน และสิ่งแวดล้อม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...