PDPC ปฏิบัติการเชิงรุก สกัด “ข้อมูลรั่วไหล” เริ่มเห็นผล หลังปู 4 แนวทางป้องกันให้หน่วยงาน อปท. นำไปใช้ โดยตัวเลขการรั่วไหลลดลงเดิมที่ 31.4 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 12.3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ขณะที่ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ วางเป้าออกเดินสายเป็นรายภาค ให้ครบ 5 ภาค ภายในสิ้นปีนี้ ..... ล่าสุด คลอด “แผนแม่บท การส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ 2567 – 2570” กำหนด 4 ยุทธศาสตร์ บูรณาการร่วมภาครัฐ-เอกชน อุดช่องโหว่ เพื่อก้าวสู่ระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พร้อมตั้งเป้าสิ้นปีจัดประชุมหารือครั้งใหญ่ กระชับความร่วมมือ ปลุกแผนแม่บทให้สัมฤทธิ์ผล
ทั้งนี้ ปัญหาข้อมูลรั่วไหล ไม่ว่าจะมาจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ได้กลายเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สร้างเสียหายทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ขณะที่ประเทศไทยได้ออกกฎหายขึ้นมาควบคุมและดูแลแก้ปัญหา ได้แก่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีหน่วยงานหลักที่เข้ามาดำเนินการคือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส. (PDPC) อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือนมกราคม 2567 จากการตรวจสอบของ PDPC พบว่า ในจำนวนหน่วยงานที่เข้าตรวจสอบ พบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยงานที่ทำข้อมูลรั่วไหลมากที่สุด ซึ่งต้องหาทางป้องกัน
โดยต่อปัญหานี้เอง เมื่อเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้จัดเวทีประชุม (ออนไลน์) ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชี้แจ้งถึงปัญหาดังกล่าวพร้อมมอบ 4 แนวทางปฏิบัติใช้ในการแก้ปัญหาหรืออุดช่องโหว่ที่จะทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลของประชาชน
ทั้งนี้ อปท.นิวส์ ได้ติดตามและนำเสนอเรื่องนี้มาเป็นลำดับ โดยล่าสุด พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการ สำนักตรวจสอบและกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ สคส. (PDPC) เปิดเผยความคืบหน้าว่า อยากจะขอพูดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มต้น คือภายหลังคณะรัฐมนตรี ( ครม.) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีมติเรื่อง การดำเนินการมาตรการและป้องกันคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศออกมา และก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขึ้น มีการดำเนินการทั้งการตรวจสอบค้นหา เฝ้าระวังการละเมิดการรั่วไหลของข้อมูล เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสียหายโดยเร็ว พร้อมยังสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้รู้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
อย่างไรก็ตาม ในรอบ 3 เดือนแรก คือจากพฤศจิกายน 2566 ถึงมกราคม 2567 ผลการตรวจหน่วยงาน 16,821 หน่วย ตรวจพบข้อมูลรั่วไหล 5,186 เรื่อง โดยเป็นขององค์กรท้องถิ่น 2,686 เรื่อง รัฐ 2,098 เรื่อง การศึกษา 350 เรื่อง ประกันภัย 21 เรื่อง โทรคมนาคม 2 เรื่อง สาธารณสุข 1 เรื่อง การเงิน 1 เรื่อง และตรวจพบมีการขายข้อมูล 30 เรื่อง โดยพบสาเหตุของข้อมูลรั่วไหลเกิดจาก 1. มีการเปิดเผยข้อมูลเกินความจำเป็น 2. เกิดจากความบกพร่องของบุคคล และ 3. เกิดจากการค้นหาข้อมูลทาง google search แบบเจาะจงแต่ไม่ได้มีการเข้ารหัส
“จะเห็นได้ว่า เกิดขึ้นกับองค์กรท้องถิ่น (อปท.) มากที่สุด เราก็ได้มีการขับเคลื่อน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้นำทั้ง 3 สาเหตุแห่งการรั่วไหลมากำชับ พร้อมมอบแนวทางปฏิบัติต่อ อปท. ไปดำเนินการ 4 ข้อ คือ 1. ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลเกินความจำเป็น ป้องกันโดยให้มีการพลางข้อมูลด้วยการใส่ X 5 ตัว ที่เลขหมายต่างๆ 2. ให้มีการแต่งตั้งผู้ประสานงาน แล้วแจ้งมาทาง สคส. 3. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 4. ให้ความร่วมมือกับสำนักงานฯ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ นั่นคือในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา”
อย่างไรก็ตาม มาถึงขณะนี้ คือในรอบ 6 เดือน ผลการดำเนินการในภาพรวมปรากฏว่า ตรวจสอบไปแล้ว 25,063 หน่วยงาน พบข้อมูลรั่วไหล 5,963 เรื่อง แก้ไขแล้ว 5,953 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 10 เรื่อง แล้วก็พบว่า มีการขายข้อมูลบนสื่อ 83 เรื่อง ผ่านเฟซบุ๊ก 75 เรื่อง ในส่วนของเฟซบุ๊ก ได้มีการแจ้งปิดไปแล้ว 65 เรื่อง มีการขยายผลจากการจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แล้วทราบว่ามีการได้ข้อมูลจากการซื้อขาย 7 เรื่อง ซึ่งได้ร่วมกับตำรวจไซเบอร์จับกุมผู้ต้องหาไปแล้ว 9 คน พร้อมก็มีการขยายผลวิชาชีพที่ทำเรื่องเงินกู้นอกระบบ และมีการดำเนินการนำข้อมูลบุคคลจากการซื้อขายข้อมูลคือ 1 เรื่อง อันนี้ก็ร่วมกับตำรวจไซเบอร์จับกุมอีก 1 คน
จากผลการดำเนินงานภาพรวมเหล่านี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบสัดส่วนกับจำนวนหน่วยที่ตรวจ เทียบกับข้อมูลรั่วไหลที่ตรวจพบ ปรากฏว่า การดำเนินการเปรียบเทียบตั้งแต่ พฤศจิกายน – เมษายน พบว่า ส่วนของข้อมูลรั่วไหลลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยทั้งหมดที่ตรวจกับหน่วยที่ตรวจพบ แยกรายเดือนปรากฏว่า เดือนพฤศจิกายน 2566 พบข้อมูลรั่วไหลอยู่ที่ 31.4 เปอร์เซ็นต์ ธันวาคม 2566 ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ จนมาถึงปัจจุบันคือเดือนเมษายน 2577 พบว่า สัดส่วนการรั่วไหลลงมาอยู่ที่ 12.3 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ก็แสดงให้เห็นถึงการป้องกันที่ดีขึ้น อันนี้ก็คือในภาพรวม แต่ในส่วนขององค์กรส่วนท้องถิ่นก็จะสอดคล้องกับภาพรวม หมายความว่า ตัวองค์กรท้องถิ่นเองก็มีการป้องกันที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะหน่วยงานที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็นองค์กรท้องถิ่นอยู่แล้ว
สำหรับทางด้านผู้ประสานงาน PDPC ได้ประสานงานไปยังจังหวัดต่างๆ ครบทุกจังหวัดแล้ว โดยมีการส่งเอกสารมายืนยันแล้วประมาณ 1,000 ราย จาก 7,000 กว่าแห่ง ซึ่งก็คงต้องติดตามกันต่อไป ทั้งนี้ การแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะต้องดำเนินการต่อไปจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติเข้มข้นขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเร่งดำเนินการเร็วไป หน่วยงานอาจยังไม่มีความพร้อม หรือบางทีอาจยังไม่มีคน จึงต้องเปิดกว้างเบื้องต้นก่อน คืออย่างน้อยให้มีผู้ประสานงานไว้ก่อน โดยยังไม่บังคับให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในทันที
“พอเป็นผู้ผู้ประสานงานแล้ว เราก็จะให้หน่วยงานใช้ดุลยพินิจเพื่อความเหมาะสมของเขา ก็เลยไม่ได้ลงไปตรวจสอบในรายละเอียดของตัวผู้ประสานงาน คือให้หน่วยเขาคัดกรองเบื้องต้นก่อน แล้วขั้นต่อไปก็ให้หน่วยงานเขาดูว่า มีความพร้อมไหมที่จะขึ้นไปเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตรงนั้นด้วย แต่อย่างน้อยตรงนี้พอมีผู้ประสานงานแล้ว ถ้าเรารู้เร็วก็แก้ความเสี่ยงได้เร็วครับ เราก็ต้องเน้นความสำคัญตรงนี้ไว้ก่อน”
พ.ต.อ.สุรพงศ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ได้รายงานให้กระทรวงฯ ทราบแล้วว่า การดำเนินการตามมาตรการตรงนี้ ปรากฏว่า เป็นผลดี คือการที่เห็นสัดส่วนข้อมูลรั่วไหลที่ลดลง แต่ก็ยังไม่หมดไป จึงก็ได้เสนอให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรียกว่า เป็นการคุ้มครองเชิงลุก คือเสนอดำเนินการต่อไปจนถึงปลายปี ก็จะต้องมาประเมินอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในส่วนของ PDPC ได้มีการจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกว่า “แผนแม่บท การส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 – 2570” โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งจะทำให้มีการบูรณาการร่วมกันของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการถ่ายทอดแผนแม่บทฯ ให้ทุกหน่วยทราบว่า PDPC มีหน้าที่ทำตามแผนแม่บทของประเทศนี้ เพื่อที่จะได้ไปจัดทำแผนประจำปีของแต่ละหน่วย กิจกรรมตรงนี้จะไปสอดคล้องกับกิจกรรมเชิงรุกด้วย
“ในทางปฏิบัติ PDPC จะดำเนินการนัดหมาย จัดประชุมและมีการเตรียมความพร้อมกันทั้งหมด คือถ้าเราประกาศราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ทุกหน่วยลงมือปฏิบัติเลย ก็คงขาดความเข้าใจ อันนี้เราเรียกว่า การขับเคลื่อนแผนแม่บท ก็ต้องมีการบูรณาการ มีการประชุมหารือร่วมกันครับ คืออย่างที่บอกครับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คือ PDPC เหมือนเป็นศูนย์กลาง แต่ว่าต้องร่วมกันทั้งหมด ในแผนแม่บทเขาจะกำหนดไว้ว่า มีหน่วยงานไหนที่จะร่วมตรงส่วนไหนบ้าง แต่ว่าตอนนี้แผนแม่บท พอประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ยังขาดความเข้าใจกันอยู่ คือต้องนัดประชุมเพื่อขับเคลื่อนตรงนี้ ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายเชิงรุก เป็นแนวทางให้หน่วยงานอื่นนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทด้วยแบบนี้ครับ”
สำหรับด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหน่วยงานท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐมนตรีฯ นั้น พ.ต.อ.สุรพงศ์ กล่าวว่า ตามแผนแล้วจะดำเนินการโดยแบ่งออกเป็น 5 ภาค ซึ่งจะเป็นภารกิจของศูนย์วิจัย เริ่มตั้งแต่ในช่วงเดือนนี้ – เดือนกันยายน จะไปให้ครบทุกภาค โดยเริ่มประเดิมไปแล้วที่พัทยา คือจะเริ่มที่ภาคตะวันออกก่อนเป็นลำดับแรก
ต่อข้อถามถึงแผนแม่บทฯ เป็นอย่างไรบ้าง พ.ต.อ.สุรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามมาตรา 16 (1) ของ พ.ร.บ.ฯ ระบุให้กรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่รับอำนาจในการจัดทำแผนแม่บทการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีชื่อว่า “แผนแม่บทการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ 2567-2570” ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. การบังคับใช้กฎหมาย 2. การพัฒนาคน 3. การส่งเสริมสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล และ 4. การพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยี อันนี้คือหลักๆ โดยย่อ และมีกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ แต่เป้าหมายสูงสุดคือ จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย
“แผนแม่บทนี้มีอยู่ 74 หน้า ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 สรุปแนวโน้ม โอกาสและความท้าทายที่สำคัญของการส่งเสริมและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ ส่วนที่ 3 การเชื่อมโยงแผนแม่บทกับนโยบายยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 4 จะเป็นตัวแผน ซึ่งมี 4 ยุทธศาสตร์ ส่วนที่ 5 เป็นประเด็นตัวชี้วัด ส่วนที่ 6 เป็นกลไกลการขับเคลื่อน”
“ตอนนี้ความคืบหน้าก็คือ แผนที่เราคิดไว้ว่า จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะมีการประชุมหัวหน้าหน่วยราชการ เพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทปลายปี ช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมก็จะมีประชุม คือระหว่างนี้เราก็จะเตรียมความพร้อม มอบหน้าที่ให้ทุกหน่วยว่าต้องทำอะไรบ้าง ส่วนเชิงรุกทำต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ผลจจะออกมาอย่างไร เราจะมีการจัดรวมพลังนี้ขึ้นมาเพื่อสรุปผลและชี้แจงข้อมูลต่างๆ ต่อไป” พ.ต.อ.สุรพงศ์ กล่าวในที่สุด
สำหรับแผนแม่บทการส่่งเสริมและการคุ้มครองข้อมููลส่่วนบุุคคลของประเทศ พ.ศ. 2567 - 2570 มีการแบเป้าหมายเป็น 3 ระยะตลอดกรอบเวลา 4 ปี คือ ระยะที่หนึ่ง 1 ปีแรก มุ่งเน้นการสร้างมาตรการการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัดและยั่่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานและสร้างเครื่่องมือในเรื่่องของการคุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคล ครอบคลุุมไปถึงระดับองค์กร และหน่วยงานในภููมิภาค
ระยะที่่สอง 2 ปี มุ่งเน้นเรื่่องการประยุุกต์ใช้นวัตกรรมที่่ช่่วยในการส่งเสริมและเพิ่่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองและสร้างความเข้าใจ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคล พ.ศ. 2562 ในเชิงลึกเพิ่มมากขึ้น โดยประชาชนสามารถเข้าใจรับรู้สิทธิของตนเองและสามารถป้องกันภัยคุุกคามที่่เกี่ยวข้องกับข้อมููลส่วนบุุคคลของตนเองในเบื้องต้น บุุคลากรทั้งในภาครัฐและเอกชนมีความเชี่ยวชาญในกระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับ PDPA และผู้ควบคุุมข้อมููลส่วนบุุคคล และผู้ประมวลผลข้อมููลส่วนบุุคคลตระหนักถึงบทลงโทษตามกฎหมาย
ระยะที่่สาม 4 ปี มุ่งเน้นเรื่่องการมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคลที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งในแง่การเข้าร่วมเป็นคณะทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ อาทิ FTA, DEPA และมีความสามารถในการเป็นพี่เลี้ยงด้านการคุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคลให้กับประเทศอื่่นๆ รวมไปถึงการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้าน Data Privacy, Personal Data Protection, Trusted Data ในเวทีนานาชาติได้ดีขึ้น อาทิ World Digital Competitiveness Ranking (WDCR) ด้าน Privacy Protection by law content ของประเทศไทย และมาตรฐานหรือตัววัดในระดับสากลอื่นๆ
ยุุทธศาสตร์ที่่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย (PDPA Effective and Balanced Enforcement) มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐาน หลักเกณฑ์ กฎเกณฑ์ เครื่องมือ ตัวชี้วัด และการกำกับดููแลความเป็นส่วนตัวของข้อมููล (Data Privacy Governance) รวมทั้งปรับปรุุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุุคคลเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การคุ้มครองข้อมูลส่่วนบุุคคล ส่งเสริมการดำเนินการต่างๆ ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากำลังคนและสร้างความเชื่อมั่น (PDPA Knowledge and Trust Enhancement)มุ่งเน้นการเสริมสร้างกำลังคน สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักรู้ ความเชื่อมั่น เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านข้อมููลส่วนบุุคคลอย่างเท่าเทียม ด้วยกลไกการให้ความรู้แบบมุ่งเป้าการรับรองด้านทักษะ การประชาสัมพันธ์ การป้องกัน และรูปแบบการแก้ปัญหา รวมทั้้งความพร้อมต่อการเปลี่่ยนแปลงด้านข้อมููลส่วนบุคคล เป็นยุุทธศาสตร์ที่่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคลของประเทศไทย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุุกภาคส่วน และดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชน รัฐและเอกชนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (PDPA Digital Economy and Society Promotion) เสริมสร้างความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนของทุุกภาคส่วนในการสร้างและส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถด้านการคุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคลของประเทศ รวมทั้งสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสนับสนุนระบบนิเวศวิจัยและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี (PDPA R&D and Technology Adoption) สร้างกลไกระบบนิเวศวิจัย และระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ PDPA Preserving Solutions แบบมุ่งเป้า และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้เกิดมููลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงการลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ซึ่่งถือว่เป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการคุ้มครองข้อมููลส่วนบุุคคล นอกจากนี้้ การเปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้ประกอบการสามารถสร้างนวัตกรรมที่ใช้ข้อมููลส่วนบุุคคลได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม โดยไม่ถููกขัดขวางจากนโยบาย กฎหมาย จะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น
PDPC จับมือ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
โดยนายศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC) พร้อมด้วย นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต พัฒนาสื่อ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับประชาชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
โดยสื่อเหล่านี้จะนำมาเผยแพร่และรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ผลิตสื่อ สื่อมวลชน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ให้ตระหนักรู้และเข้าใจถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รู้เท่าทันเกี่ยวกับภัยอันตรายที่แฝงมาในโลกโซเซียล สื่อออนไลน์ ช่องทางการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่นำข้อมูลส่วนบุคคลไปหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
โดยพิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ร.ท.ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ อมรพันธุ์ นิติธีรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อาคารเอสพี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา