ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
โครงการพัฒนาจังหวัดปทุมธานีสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทางด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เพื่อส่งมอบโครงการโครนเกษตรวิถีใหม่
29 มี.ค. 2566

เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 66 เวลา 09.00 น. ณ วิสาหกิจชุมชนตลาดชุมชนปิ่นฟ้าฟาร์ม ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตร จ.ปทุมธานี เดินทางมาป็นประธานในกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนา

จังหวัดปทุมธานีสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทางด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เพื่อส่งมอบโครงการโดรนเกษตรวิถีใหม่ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปิ่นฟ้าฟาร์ม โดยมีนางรัฐยา อาญหาร เผยพร นอภ.ลาดหลุมแก้ว
นายรพีพัฒน์ นำนาผล ผจก.สาขาภาคกลาง สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของ จ.ปทุมธานี วิสาหกิจชุมชนตลาดชุมชนปิ่นฟ้าฟาร์ม เกษตรกร ผู้ประกอบการ และชาวบ้าน เข้าร่วมกิจกรรม

นางศศิธร ชาญประเสริฐ เกษตร จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ในนามของ วิสาหกิจชุมชน พี่น้องประชาชนและเกษตรกร อ.ลาดหลุมแก้ว มีความยินดีที่ได้รับเกียรติมาเป็นประธาน ในกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนา จ.ปทุมธานีสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทางด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เพื่อส่งมอบโครงการโดรนเกษตรวิถีใหม่

นางรัฐยา อาญหาร เผยพร นอภ.ลาดหลุมแก้ว กล่าวรายงานว่า โดยลักษณะพื้นที่ อ.ลาดหลุมแก้ว เป็นที่ราบลุ่ม โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมด 132,887 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 62,563 ไร่
ครัวเรือนเกษตรกร 4,750 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกพืชที่สำคัญได้แก่ พื้นที่ปลูกข้าว 58,104 ไร่ พืชสมุนไพร (กระท่อม) 1,651 ไร่ ไม้ผล 1,261 ไร่ และพืชผัก 711 ไร่ มีวิสาหกิจขุมซน 94 แห่ง ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในชุมชนที่มีอาชีพเดียวกัน ต้องการแก้ปัญหาร่วมกันในชุมชน

ด้าน นายรพีพัฒน์ นำนาผล ผจก.สาขาภาคกลาง สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า ที่ผ่านมา จ.ปทุมธานี ได้ร่วมกับ สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ในการช่วยเหลือประชาชนทุกระดับ ให้สามารถฝ่าฟันวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จ.ปทุมธานี เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ตลอดจนการต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เพิ่มขีดความสามารถและสร้างรายได้
ให้กับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง จ.ปทุมธานี เป็นหนึ่งในจังหวัดเศรษฐกิจของภาคกลาง เป็นพื้นที่ปริมณฑลที่ถูกออกแบบให้เป็นเมืองรองรับการขยายตัวและการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานคร ในการนี้
เพื่อยกระดับการพัฒนาเมือง เพื่อการอยู่อาศัยสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จึงได้จัดทำแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จ.ปทุมธานีขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจและสังคมของ จ.ปทุมธานี ให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ภายใต้แนวคิด "ปทุมธานีเมืองน่าอยู่ (Livable City)" เพื่อยกระดับการพัฒนาเมืองเพื่อการอยู่อาศัยตามความเข้มแข็ง และความต้องการของพื้นที่ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล บนความเข้าใจและความร่วมมือของชุมชน และมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีระบบเศรษฐกิจที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองจากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ หรือท้องถิ่น

นายนพดล ลัดดาแย้ม ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปิ่นฟ้าฟาร์ม กล่าวว่า ขอขอบคุณ สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ"ดีปัา" ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญและเลือก จ.ปทุมธานี ให้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ก้าวไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนา จ.ปทุมธานีสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ทางด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) เพื่อส่งมอบโครงการโดรนเกษตรวิถีใหม่ ในครั้งนี้ จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาสู่การแข่งขันในตลาดที่มีกำลังซื้อ มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและมีฐานผู้บริโภคที่กว้างขึ้น อันจะนำไปสู่การกระจายรายได้ สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง อีกต่อไปด้วย

สมเกียรติ ทรัพย์เฉลิม / หน.ข่าวภูมิภาค

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...