ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กวก. ลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามการพัฒนากัญชาสายพันธุ์ไทย
24 มี.ค. 2566
 

       นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  นายสุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช พร้อมด้วยนางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 และคณะนักวิจัยกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนากัญชาสายพันธุ์ไทยของกลุ่มเกษตรกร ที่ผ่านการรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.พันธุ์พืช (พ.ศ. 2518) จำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ กัญชาสายพันธุ์เขียวพงัน 01 และกัญชาสายพันธุ์ KD ที่พัฒนาพันธุ์มาจากสายพันธุ์พื้นเมือง (สายพันธุ์เขียวพงัน)พร้อมมอบหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ให้แก่ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร (กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบ้านโฉลกหลำ  วิสาหกิจชุมชนไร่วิถีพะงัน  วิสาหกิจชุมชนบ้านท้องนาง  วิสาหกิจชุมชนนวัตวิถีเกาะพะงัน และ  วิสาหกิจชุมชนชาวสวนมะพร้าวเกาะพะงัน ผู้พัฒนากัญชาสายพันธุ์เขียวพงัน 01 และนายอร่าม ลิ้มสกุล หรือโกดำ ผู้พัฒนากัญชาสายพันธุ์ KD ที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ของเกาะเต่า

       นอกจากนี้ ยังได้มอบใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ (พืชสกุลกัญชา) จำนวน 2 ราย และใบรับรองการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP (พืชสกุลกัญชา) จำนวน 2 ราย จากนั้นได้เยี่ยมชมการผลิตกัญชาในระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปล่อยมวนตัวห้ำ Cardiastethus exiguus Poppius ที่ค้นพบโดยนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตร เพื่อควบคุมแมลงศัตรูกัญชา ในแปลงปลูกกัญชาของกลุ่มเกษตรกร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมวนตัวห้ำนี้ เป็น “มวนตัวห้ำแอนโธคอริด” (anthocorid predator) หรือ “มวนโจรสลัด” (pirate bug) ชนิดหนึ่ง สามารถกินไข่และตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชหลายชนิดและเป็นตัวห้ำทั่วไป

       “ขอเชิญชวนให้เกษตรกรผู้ปลูก นักปรับปรุงพันธุ์พืชกัญชา กัญชง ที่มีสายพันธุ์ดีอยู่ในครอบครอง ยื่นขอรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.พันธุ์พืช 2518 ได้ที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ณ ศูนย์บริหารจัดการพืชกัญชา กัญชง และกระท่อม แบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร สายด่วน (hotline) 1174 ต่อ 311-313” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...