ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
รอง.ผบช.ภ.7 ลงพื้นที่ติดตามโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ของสถานีตำรวจภูธรสังขละบุรี
06 ม.ค. 2566

รอง.ผบช.ภ.7 ลงพื้นที่ติดตามโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ  ของสถานีตำรวจภูธรสังขละบุรี  ที่ได้นำโครงการผ้าป่าแจ้งเบาะแสข้อมูลผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้านชุมชน  เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดกับชุมชนอื่นๆทั่วประเทศ

วันนี้ 06 ม.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พลตำรวจตรี วรายุทธ สุขวัฒน์ รอง ผบช.ภ.7.  พร้อมด้วย พันตำรวจเอกกฤตชัย ทองอยู่  รอง ผบก.ภูธรจังหวัดกาญจนบุรี เดินทางมาติดตามโครงการตำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 ของสถานีตำรวจภูธรสังขละบุรี โดยมี พันตำรวจเอก ธนกร รอดเรือง ผู้กำกับสถานีตำรวจสังขละบุรี พันตำรวจโท มนต์ชัย กองแก้ว สารวัตรงานป้องกันปราบปราม สภ.สังขละบุรี พันตำรวจโท อำนวย ศรีสงคราม สารวัตรงานสืบสวน สภ.สังขละบุรี ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่พัฒนา ครู  อ.ส.ม. คณะกรรมการหมู่บ้าน ชาวบ้าน และผู้เข้าร่วมโครงการให้การต้อนรับ

ทั้งนี้สถานีตำรวจภูธรสังขละบุรี ได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน โดยเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เข้าใจ และรับรู้ถึงพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อตนเอง ในปัจจุบันที่ถือว่าผู้เสพคือผู้ป่วย เป็นโรคสมองติดยาและเป็นภัยต่อสุขภาพ ที่สำคัญส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศ อย่างไรก็ตามปัญหาการติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมีความสัมพันธ์กับปัญหาอื่นๆ เช่นปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา  ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้นการบำบัดรักษาและการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดต้องพิจารณาหลายมิติแบบองค์รวม หาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านสังคม แต่การดำเนินการที่ผ่านมา พบว่าผู้เสพที่ผ่านกระบวนการบำบัดขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ จึงกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำอีก 

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดสามารถกลับมาดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง การบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนและครบวงจร ในการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูที่ใกล้บ้านหรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ภายติทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล ให้เป็นไปตามหลักการสาธารณสุขและหลักสิทธิมนุษยชน เริ่มตั้งแต่กระบวนการค้นหา คัดกรอง ฟื้นฟู และลดอันตรายจากยาเสพติด 

อีกทั้งสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ การติดตามดูแล  ปัจจุบันมีหลายชุมชนในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี โดยเฉพาะบ้านใหม่พัฒนาที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูการใช้ยาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางที่สมารถดูแลผู้ใช้ยาเสพติด ภายใต้ “โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ” ที่สถานีตำรวจภูธรสังขละบุรี ได้ดำเนินงานในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้นำไปเป็นแนวทางปฎิบัติในการดูแลแก้ไขปัญหาผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนต่างๆที่มีปัญหาทั่วประเทศต่อไป

ทั้งนี้ในห้วยระยะเวลาที่ผ่านมา สภ.สังขละบุรีได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ที่ประกอบด้วย ฝ่ายปกครองอำเภอสังขละบุรี สาธารณสุข ทหาร กอ.รมน. ผู้นำชุมชน สถานศึกษา และภาคประชาชน ในการดำเนินโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจในรูปแบบการทำงาน แบบมีส่วนร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนและสร้างการเรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน  การจัดเวทีประชาคม สะท้อนข้อมูลในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ ความร่วมมือ การลงพื้นที่ชุมชนเพื่อค้นหาผู้ใช้ยาเสพติด การคัดกรอง เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยทางการแพทย์ เพื่อแบ่งระดับความรุนแรงของผู้เสพ  ก่อนเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง  การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ การฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ โดยมีการติดตาม ประเมินผล วัดผลความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง  ก่อนนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายเพื่อคืนคนดีสู่สังคม ให้มีคุณภาพชีวิตและมีอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา

โดย นายศักดิ์ (ไม่มีนามสกุล) ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯจนประสบความสำเร็จ พร้อมด้วยภรรยา ได้มาถ่ายทอด ประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับฟัง โดยนายศักดิ์ ได้เล่าถึงที่มาของการเป็นผู้ใช้ยาเสพติดว่าเกิดจากเพื่อนที่คบกัน ในช่วงที่ใช้ยาเสพติด(แอมเฟตามีน) ตอนเองไม่ค่อยกล้าเดินทางไปไหนมาไหน เนื่องจากระแวงการตั้งด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ ชีวิตช่วงนั้นไม่มีความสุข เนื่องจากมีการทะเลาะกับภรรยาบ่อยครั้ง เนื่องจากมีอารมณ์หงุดหงิด มีปัญหาเรื่องการเงิน เนื่องจากต้องเสียไปกับการซื้อยามาเสพ ญาติพี่น้องห่างเหิน ภายหลังจากได้เข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ ทำให้ตนเองและครอบครัวมีความสุขมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น เดินทางไปไหนมาไหนไม่ต้องระแวงการตั้งด่านของเจ้าหน้าที่ งานที่ทำ(ดูและสวนทุเรียนให้นายจ้าง)ก็มีคุณภาพดีขึ้น  นายจ้างเพิ่มเงินเดือนให้ตามคุณภาพงาน  ความสัมพันธ์กับญาติดีขึ้น ทุกคนไม่เกิดความระแวง มีความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับคนในชุมชนมากขึ้น ในฐานะที่ตนเองเคยผ่านจุดที่แย่ที่สุดในชีวิตจากการใช้ยาเสพติด จึงอยากชวนผู้ที่หลงผิดทุกคน ให้เลิกเสพ ด้วยการเข้าร่วมโครงการฯนี้ ซึ่งมีการดูแล เอาใจใส และคอยติดตาม ที่ดีจากทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง    และถ้าเราตั้งใจที่จะเลิกใช้เวลาไม่นานก็สามารถ หลุดออกมาจากวิกฤติชีวิตได้  เหมือนตนเองที่ใช้โอกาสที่ได้รับเพียงครั้งเดียวก็เปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนชีวิต และกลับมาเป็นคนดี เป็นคนใหม่ของครอบครัวได้ ที่สำคัญเป็นการคืนความสุขให้ครอบครัว ให้ญาติพี่น้อง เพื่อนๆและชุมชนที่เราอาศัยอยู่........มีเสียง.........

ด้านนางเอ.(นามสมมุติ) ภรรยานายศักดิ์ เล่าให้ผู้ร่วมประชุมฟังว่า ตอนสามีใช้ยาเสพติดครอบครัวไม่มีความสุข เนื่องจากมีการทะเลาะเบาะแว้งกันแทบทุกวัน เนื่องจากอารมณ์ที่แปรปรวนและหงุดหงิดของสามี  นายจ้างเลิกจ้างเนื่องจากสามีหยุดงานบ่อย ทำให้ครอบครัวลำบาก ไม่มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือน ที่สำคัญสภาพจิตใจของลูกทั้ง3คนที่เห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน จนบางครั้งลูกๆขอไปอยู่กับตายาย จนสามีตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯและสามารถเลิกใช้ยาเสพติดได้สำเร็จ ทำให้ตนเองรู้สึกเหมือนได้สามีใหม่ ความสุขในครอบครัวกลับมาเหมือนเดิม เศรษฐกิจในครอบครัวดีขึ้น ลูกๆมีรอยยิ้มและความสุข จึงอยากให้โครงการนี้ดำเนินต่อไปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ยาเสพติดที่ต้องการเลิกการใช้ยาได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อชุมชนจะได้สงบสุข ปลอดยาเสพติด.....มีเสียง..........

ด้าน น.ส.อังคนา รักวงษ์  ครูโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา กล่าวในที่ประชุมว่าจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ ตนเองเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ที่สำคัญการที่ทุกภาคส่วนในสังคม ตั้งแต่ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง หมอ อสม ครู ชาวบ้าน ได้ทำงานร่วมกัน เกิดความไว้วางใจจากชาวบ้านและผู้เข้าร่วมโครงการฯ จนนำสู่ความสำเร็จของโครงการฯในวันนี้ แม้ไม่สามารถจะนำไปสู่การเลิกของทุกคน แต่ถ้าทุกฝ่ายมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและดำเนินโครงการฯอย่างต่อเนื่องมั่นใจว่าอนาคตบ้านใหม่พัฒนาจะเป็นหมู่บ้านที่ปลอดยาเสพติดได้อย่างแน่นอน......มีเสียง.......

พลตำรวจตรี วรายุทย สุขวัฒน์ รอง.ผบช.ภ.7 ได้เปิดเผยที่มาของโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุมทธศาสตร์ชาติ ของ สภ.สังขละบุรี ในครั้งนี้กับผู้สื่อข่าวว่า ภายใต้นโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ ในปี พ.ศ.2565 ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งจนประสบความสำเร็จด้วยดี ในปี พ.ศ.2566 ท่านได้มีดำริในการที่จะพัฒนาโครงการให้ยั่งยืนยิ่งๆขึ้นไป โดยมีรูปบบและวิธีการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นการสรรหาข้อมูลข่าวสาร ในเรื่องโครงการผ้าป่าข่าวสาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สังขละบุรี และในพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 7 ได้ดำเนินการ เพื่อค้นหาผู้เสพ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ต่อไป

นอกเหนือจากโครงการการดำเนินการค้นหาผู้เสพขึ้นมาเป็นผู้ป่วย เพื่อเข้าสู่การบำบัดรักษา คืนสู่สังคมแล้ว ในขณะเดียวกันข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับจากโครองการผ้าป่าข่าวสาร ก็จะถูกนำมาคัดแยกในกลุ่มของผู้ค้ารายย่อยและผู้ค้ารายใหญ่ เพื่อจะไปสู่การปราบปราม จับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกเหนือจากการที่เราจะมาช่วยเหลือประชานห่างจากยาเสพติดแล้ว

ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...