ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สถาบันมะเร็งชี้หญิงไทยป่วยมะเร็งเต้านม47คน/วัน
26 ต.ค. 2565

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเพราะเป็นโรคที่เกิดได้กับผู้หญิงทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มที่อายุมากกว่า 40 ปี หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็มีโอกาสรักษาให้หายได้

 “ปัจจุบันพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.2 ล้านคน และเสียชีวิตราว 684,996 คน สำหรับประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย แต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 17,043 คน หรือคิดเป็น 47 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตถึง 13 คนต่อวัน และคาดการณ์ว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มมากกว่า 22,000 รายในปีหน้า ดังนั้นมะเร็งเต้านมจึงเป็นโรคที่เราควรให้ความใส่ใจเพื่อลดโอกาสที่จะเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้”

ทั้งนี้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติเริ่มมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเชิงรุกด้วยรถเอกซเรย์และอัลตราซาวด์เต้านมชนิดเคลื่อนที่มาตั้งแต่ปี 2551 สามารถรองรับการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมได้อย่างคมชัด รวดเร็ว และให้รายละเอียดสูง พร้อมทั้งมีเครื่องตรวจเต้านมด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงแบบอัตโนมัติสามมิติ (Automated Breast Ultrasound Scanner) ที่เหมาะสำหรับการให้บริการในพื้นที่ชุมชนได้อย่างคล่องตัวและเข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้น

นายแพทย์สกานต์แนะนำวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่โรคมะเร็งเต้านม

1.หลักสำคัญคือการตรวจตั้งแต่แรกเริ่ม ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยง ในการเป็นมะเร็งเต้านมเพื่อพิจารณาว่าคุณควรเริ่มตรวจเต้านมเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งหรือสามารถตรวจด้วยตัวเองได้

2.ศึกษาประวัติคนในครอบครัวเพื่อหาความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทั้งฝั่งบิดาและมารดา

3.การนอนหลับ จาการวิจัยพบว่าการนอนหลับและความเครียดนั้นเชื่อมโยงกัน การลดความเครียดเรื้อรังเป็นสิ่งสำคัญ

4.จัดโภชนาการที่เหมาะสมในอาหารของคุณและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังรับประทานผักใบเขียว ผักตะกูลกระหล่ำ และอาหารที่มีเส้นใยสูง

5.ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวทุกวัน คำแนะนำอย่างเป็นทางการให้ออกกำลังกายหนักปานกลาง 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เช่น การเดินเร็ว) การลดเวลาการอยู่นิ่งๆ ในแต่ละวันของคุณเป็นสิ่งสำคัญ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...