ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สรพ.ชูที่1.คุณภาพอนามัยแม่/เด็กหนองบัวลำภู
14 ก.ย. 2565

                       สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “สานพลังเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพเพื่อโรงพยาบาล HA โรงพยาบาลคุณภาพ Synergized networks for quality and safety” โดยในงานนี้มีการนำเสนอผลงานการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายจากหน่วยบริการจำนวน 19 แห่ง และผลงานที่ได้รับรางวัลอันดับหนึ่งในครั้งนี้ คือ ผลงานการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการสุขภาพแม่และเด็ก (Maternal and Child Health Network Accreditation) เครือข่ายบริการสุขภาพแม่และเด็ก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู                        พญ.ดวงสุดา ดาวเศรษฐ์ ผู้อำนวยการ รพ.ศรีบุญเรือง กล่าวถึง แนวทางการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.ศรีบุญเรือง ว่าพื้นที่ อำเภอศรีบุญเรือง มีประชากรประมาณ 95,000 คน มีหญิงวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 20,000 คน หรือ 24.4% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่จำนวนการคลอดในระยะ 3 ปีหลังพบว่ามีแนวโน้มลดลงจากประมาณ 500 ราย ลดลงเหลือประมาณ 300 ราย โรงพยาบาลมียุทธศาสตร์งานอนามัยแม่และเด็ก โดยเน้นเรื่องการดูแลอย่างมีคุณภาพไร้รอยต่อเพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย มีจุดเน้น 3 เรื่อง คือ ระบบการดูแลฝากครรภ์ ANC ที่มีประสิทธิภาพ มีสมรรถนะในการฝากครรภ์ การคัดกรองครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง การเพิ่มศักยภาพบุคลากร และการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กลยุทธ์ “ภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทำงานร่วมกับการให้บริการที่มีคุณภาพไร้รอยต่อ ภายใต้ระบบการบริหารจัดการที่ดี”                       ในส่วนของภาคีเครือข่ายนั้น จะมีระบบการค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมตั้งครรภ์และให้ยาเสริมไอโอดีนและธาตุเหล็กโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ การรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตลอดจนการสร้างความรอบรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ส่วนการให้บริการที่มีคุณภาพไร้รอยต่อนั้น ก็คือการดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยใช้ หนองบัวลำภูโมเดล ในสถานี ANC จะมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเป็น High risk กับ very high risk และ Mapping ครรภ์เสี่ยงเพื่อให้การส่งต่อมีประสิทธิภาพดีขึ้น มีเรื่องของ LR คุณภาพตามแนวทางหนองบัวลำภูโมเดล ตั้งแต่ระยะรับใหม่ จนถึงคลอดและหลังคลอด มีระบบส่งต่อ Fast track ทั้ง Maternal และ New born ตลอดจนการเพิ่มสมรรถนะบุคลากร โดยเฉพาะใน 3 โรคที่มีปัญหา คือภาวะตกเลือดหลังคลอด (PPH) การช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด (NCPR) และการช่วยคลอดติดไหล่/คลอดท่าก้น                        ส่วนเรื่องการดูแลหลังคลอด หรือ PP คุณภาพ มีการทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายเพื่อการดูแลหญิงตั้งครรภ์หลังคลอดในชุมชน การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ตลอดจนประสานเครือข่าย EMS ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ซึ่งโรงพยาบาลจะสื่อสารกับเครือข่ายทั้งแบบสื่อสารโดยตรง หรือ การให้คำปรึกษาผ่านกลุ่มไลน์ ขณะที่ระบบการบริหารจัดการนั้น โรงพยาบาลมีเครื่องมือและวัสดุเกี่ยวกับแม่และเด็กที่เพียงพอ มีการพัฒนาบุคลากร เพิ่มสมรรถนะเจ้าหน้าที่อย่างน้อยปีละครั้ง มีอัตรากำลังที่สามารถดูแลแม่และเด็กในภาวะวิกฤติอย่างเพียงพอ เป็นต้น “มิติคุณภาพการดูแล เน้น 2 โรค คือ Birth Asphyxia และ Post partum Hemorrhage ในส่วนของ Birth Asphyxia ในปีที่ผ่านมา มีเด็กเสียชีวิต 2 ปี ก็คือ Conginetal Abnormally และปีล่าสุด คือมารดาเป็นโรค COVID-19 ส่วนมารดาไม่มีเสียชีวิตก็จริง แต่ก็มี Near missed ที่ต้องปรับปรุงต่อไป” สำหรับแนวทางการพัฒนาคุณภาพในอนาคต พญ.ดวงสุดา กล่าวว่า ได้วางแผนพัฒนาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ในส่วนของ ANC จะพัฒนาระบบการทำ Mapping HR pregnancy การเพิ่มสมรรถนะบุคลากรให้สามารถคัดกรอง HR preg ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ส่วนระบบการบริการ จะเพิ่มในเรื่องการพัฒนาระบบการสำรองเลือดและการขอเลือดด่วน การพัฒนาระบบ New born fast track ทั้ง New born และ Maternal “สิ่งที่ได้จากการพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ สอนให้รู้ว่าเครือข่ายที่เข้มแข็งจะนำพาซึ่งกระบวนการเข้าถึงบริการและได้ผลการรักษาที่ดี เริ่มจากปี 2564 เราประสานร่วมกับกู้ชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ส่งผู้ป่วยได้เร็วมากขึ้น ประเด็นต่อมาคือเรื่องการทำ Mapping ทำให้สามารถประเมินหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงตามภูมิลำเนา สามารถวางแผนการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมเร็วทันเวลา ส่วนเกณฑ์ของหนองบัวลำภูโมเดล เราทำได้ 100% แล้ว แต่จะปรับคุณภาพขึ้นอีกเพราะ COVID-19 สอนให้รู้ว่าจะต้องมีการพัฒนาในเรื่องของความยืดหยุ่น เพราะเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ COVID-19 เยอะมาก จึงต้องมีแผนอัตรากำลังสำรองทดแทน และสุดท้ายสอนให้รู้ว่าถ้าให้บริการด้วยใจรัก รักในหน้าที่ เมื่อเกิดวิกฤติอะไรก็ตาม เราจะต้องทำตามมาตรฐาน เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยแบบไร้รอยต่อ” พญ.ดวงสุดา ผอ.รพ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู กล่าวทิ้งท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...