ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
รพ.สกลฯเจ๋งบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
27 มิ.ย. 2565

 

แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) กล่าวว่า สรพ. ได้ลงเยี่ยมโรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร ที่ได้ทำการพัฒนาการรับรองเครือข่ายระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมิน และการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ในอีกรูปแบบหนึ่งของ สรพ. สำหรับการรับรองระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Healthcare Network System Accreditation : HNA) เป็นการรับรองเครือข่ายสถานพยาบาลที่ต้องการพัฒนาระบบงานให้มีความเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลร่วมกันอาจเป็นเครือข่ายบริการระดับจังหวัด เครือข่ายบริการกลุ่มโรค เครือข่ายสถานพยาบาลสังกัดต่างๆ หรือเครือข่ายสถานพยาบาลเอกชน เป็นต้น และสามารถแสดงผลลัพธ์การดูแลที่โดดเด่นได้ โดยโรงพยาบาลสกลนคร ได้รับการรับรองเครือข่ายระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 และจะสิ้นสุดอายุการรับรองในวันที่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ในพื้นที่จังหวัดสกลนครมีสถานพยาบาลพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 22 แห่ง ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA แล้วจำนวน 19 แห่ง (เหลือ 3 แห่ง จำแนกเป็น รพ. ในขั้นที่ 2 จำนวน 1 แห่งและไม่มีขั้นการรับรองเนื่องจากเป็น รพ.เปิดใหม่ จำนวน 2 แห่ง) และเป็นโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ DHSA จำนวน 10 แห่ง

ด้าน นายแพทย์สมโภช ธีระกุลภักดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสกลนคร เปิดเผยว่า โรงพยาบาลสกลนคร ผ่านการประเมินรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA (Accreditation Hospital) ครั้งแรกปี 2552 และได้การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับการ (Re-Accreditation มาแล้ว จำนวน 3 ครั้ง ตั้งเป้าเป็นโรงพยาบาลศูนย์ชั้นนำเป็นเลิศด้านการดูแลรักษา โรคมะเร็ง และหัวใจอย่างครบวงจรในภูมิภาคอินโดจีน ล่าสุดได้รับการรับรองเครือข่ายระบบบริการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยโรงพยาบาลได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลเครือข่ายในจังหวัดร่วมกัน แก้ไขปัญหาในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ มีทิศทางการดำเนินการเครือข่ายโรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวัดสกลนคร มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญภายใต้ศักยภาพของเครือข่าย มุ่งสู่การเป็น “เครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพจังหวัดสกลนคร เป็นผู้นำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบไร้รอยต่อ” ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ของเครือข่าย ดังนี้ 1) จัดทำยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เชื่อมโยงสู่แผนปฏิบัติการ 2) วางระบบในการดำเนินการของทุกคณะทำงาน โดยใช้ Value Chain, Value Stream map, 3P ในทุกระดับ 3) วางระบบสนับสนุน FAST TRACK (Financial, Allocation of resource, Strong Leadership and strategic management, Technology, Training, Risk management, Acknowledgment, Continuous improvement, Teamwork) 4) การจัดประชุมเสริมพลัง การสื่อสาร สร้างความเข้าใจในเครือข่าย 5) การจัดระบบการให้คำปรึกษาผ่านไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง แก่ลูกข่ายและเตรียมความพร้อมของห้องสวนหัวใจให้ทันเวลาและได้มาตรฐาน 6) การศึกษาความต้องการของผู้รับและผู้ให้บริการ ภาคีเครือข่าย นำมาปรับปรุงการบริการ 7) การทบทวน GAP เพื่อค้นหาโอกาสพัฒนา

ด้าน นพ.ขชล ศรียายาง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ หนึ่งในทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรศาสตร์โรคหัวใจเปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากความร่วมมือร่วมใจกันของเครือข่ายในการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จังหวัดสกลนคร ส่งผลทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจุดเน้นการพัฒนา ในปี 2565 จะมีการดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อเฉียบพลันในรูปแบบ CCU Mobile , โครงการ “ยกระดับการท่องเที่ยว จังหวัดสกลนคร สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านบริการทางการแพทย์ โรคหัวใจในระดับนานาชาติ

นอกจากนี้โรงพยาบาลสกลนคร ยังได้เข้าร่วม โครงการ 2P Safety Tech ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สรพ. และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขตามเป้าหมายความปลอดภัย Patient and Personnel Safety Goal (SIMPLE)2 จำนวน 2 นวัตกรรม ได้แก่ การพัฒนาระบบจ่ายยาอัตโนมัติ เพื่อจัดยาและจ่ายยาฉุกเฉิน (Stat Dose) ให้ทันเวลาและถูกต้อง เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการทางด้านการรักษาและการเข้าถึงยาที่ต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินได้อย่างทันเวลา ให้กับหน่วยงาน ลดความผิดพลาดจากคนทำงานและความปลอดภัยของผู้ป่วย และจากปัญหาการให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ทันเวลาและเกิดความผิดพลาดในการรับส่ง โรงพยาบาลสกลนครจึงได้จัดทำผลงานนวัตกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล โดยการใช้เทคโนโลยี Workflow Management และระบบ Indoor Tracking System ซึ่งระบบWorkflow Management จะช่วยให้การวางแผนการส่งพัสดุ วัสดุ และผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีระบบ และลดความผิดพลาด ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สามารถจองบริการจากหน่วยงานขนส่งกลางได้ผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ที่หน่วยงานมีจอแสดงผลเพื่อบอกถึงพัสดุ วัสดุ หรือผู้ป่วยที่กำลังเดินทางมา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานหน้างานสามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...