ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
5 วัน 192 ศพ ซิ่ง-เมาขับ เผย 3 จว.แชมป์ดับสูงสุด ปรับแผนรับเดินทางกลับ
15 เม.ย. 2564

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 15 เม.ย. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ฐานะประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการรณรงค์ “สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด”

เกิดอุบัติเหตุ 330 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 37 ราย ผู้บาดเจ็บ 328 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 34.55, ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 31.52 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.84 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 60.61 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 38.18 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.27 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 26.67 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 17.81

ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,908 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 59,315 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 341,495 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 71,889 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 18,998 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 17,599 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี (4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก นครศรีธรรมราช (จังหวัดละ 13 คน)

นายอรรษิษฐ์ กล่าวต่อว่า สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วันของการรณรงค์ (10-14 เม.ย. 64) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,795 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 192 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 1,818 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 15 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช (76 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ปทุมธานี (จังหวัดละ 8 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (82 คน)

ด้าน นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงวันที่ 13-14 เม.ย. พบว่าถนนสายรองและเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอำเภอมีสถิติอุบัติเหตุทางถนนสูง เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

นายบุญธรรม กล่าวต่อว่า จึงได้ประสานพื้นที่ให้ดูแลปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะการขับรถเร็ว และดื่มแล้วขับ ประกอบกับในวันนี้ประชาชนบางส่วนเริ่มทยอยเดินทางกลับแล้ว จึงได้ประสานให้จังหวัดปรับแผนการจัดตั้งจุดตรวจ และการอำนวยความสะดวกในการจราจรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ โดยกระจายกำลังเจ้าหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัย ทั้งบนเส้นทางสายหลัก สายรอง พร้อมจัดเตรียมจุดบริการ จุดพักรถ และการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้เพียงพอ เพื่อรองรับการเดินทางกลับของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ระยะนี้หลายพื้นที่มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ซึ่งสภาพถนนที่เปียกลื่น และทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จึงขอฝากเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการเดินทางเป็นพิเศษ ที่สำคัญ อย่าลืมดูแลตนเองภายใต้มาตรการสาธารณสุข (DMHTT) เพื่อช่วยกันควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...