"อลงกรณ์"เปิดเวทีสุดยอดภูมิอากาศเอเชีย (Asia Climate Summit 2025) ระดมความร่วมมือระหว่างประเทศพร้อมผนึกตลาดหลักทรัพย์จับมือสภาอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy)
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงานการประชุมสุดยอดภูมิอากาศเอเชีย 2025 (Asia Climate Summit 2025) ภายใต้ธีม “การขยายแนวทางตลาดคาร์บอน : เสริมสร้างความก้าวหน้าและการเติบโต” (Scaling Market Solutions: Powering Progress and Growth)พร้อมประกาศความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านตลาดคาร์บอนของภูมิภาคอาเซียน
โดยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า "ประเทศไทยตระหนักถึงภัยคุกคามและความเร่งด่วนของวิกฤตสภาพภูมิอากาศถือเป็นวาระแห่งชาติ เรายืนยันพันธสัญญาอันแข็งแกร่งในการแก้ไขปัญหานี้ตามพันธกรณีความตกลงปารีสโดยมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065
ประเทศไทยยังคงขยายตลาดคาร์บอนที่สมัครใจในประเทศผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น มาตรฐานการรับรองเครดิตคาร์บอน Premium T-VER นอกจากนี้ เรายังมีเป้าหมายที่จะเร่งพัฒนาความมีมาตรฐานสูงและความสามารถในการทำงานร่วมกันของตลาดคาร์บอนในอาเซียน โดยดึงเอาประสบการณ์และการขับเคลื่อนมาตรฐานคาร์บอนของ Premium T-VERขยายสู่อาเซียน“
ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ยังกล่าวถึง 4 ยุทธศาสตร์สำคัญของไทย
1. เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกชัดเจน
1.1ลด CO2e 222 ล้านตัน ภายในปี 2030 (ตาม NDC)
1.2ยกระดับสู่ NDC 3.0 ตั้งเป้าลด CO2e 109.2 ล้านตัน ภายในปี 2035
2. ขับเคลื่อนกลไกคาร์บอนเครดิตระดับโลก
2.1มุ่งใช้ความร่วมมือภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีสโดยเฉพาะข้อ 6.2 เพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน
2.2เน้นสร้าง "การลดเพิ่มเติม" (Additionality) นอกเหนือจาก
มาตรการอื่นๆภายในประเทศ
2.4สนับสนุนเทคโนโลยีและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
3. ยกระดับตลาดคาร์บอนภายในประเทศและอาเซียน
3.1ขยายตลาดคาร์บอนสมัครใจผ่านนวัตกรรม "T-VER พรีเมียม"
3.2เร่งพัฒนาตลาดคาร์บอนอาเซียนให้มีความน่าเชื่อถือสูงและทำงานร่วมกันได้ (High-Integrity & Interoperability)
3.3 ยินดีต้เปิดกว้างต้อนรับมาตรฐานสากลเช่น VERRA หรือ Gold Standard เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถหาช่องทางในการพัฒนาซื้อขายคาร์บอนเครดิตและพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย
4. มาตรการเชิงรุกแบบครบวงจร
4.1 ตราพ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นรากฐานทางกฎหมายจัดตั้งกองทุนภูมิอากาศ ,ส่งเสริมมาตรการครอบคลุม: ETS ภาคบังคับ, ภาษีคาร์บอน, ตลาด T-VER, มาตรการจูงใจทางการเงิน
4.2สนับสนุนการลงทุนสีเขียว(Green Investment)ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใต้แนวทางESGและการส่งเสริมพลังงานสะอาดลดโลกร้อนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและภาคีภาคส่วนต่างๆ
4.3 เดินหน้าโครงการคาร์บอนสีน้ำเงิน (Blue Carbon) และคาร์บอนสีเขียว (Green Carbon)ทั้งในทะเล ชายฝั่งทะเลและบนบก
"ยุทธศาสตร์การซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบบูรณาการของไทยจะทำให้เราไม่เพียงบรรลุ NDC 2030 แต่จะก้าวขึ้นเป็น ผู้นำตลาดคาร์บอนระดับภูมิภาคภายในปี 2035โดยสนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืน(Sustainable Investment)และการเปลี่ยนผ่าน(Transformation)สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy)
การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญสำหรับผู้เข้าร่วมในการอัปเดตแนวโน้มกฎระเบียบล่าสุด การเสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านตลาดคาร์บอนและสำรวจนวัตกรรมกลไกการเงินภูมิอากาศ
โดยผลลัพธ์จากการประชุมคาดว่าจะส่งผลอย่างมากก่อนการประชุม COP30 ที่บราซิลในปีนี้
ถ้อยแถลงเปิดงานโดยนายอลงกรณ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ สะท้อนวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นแกนนำขับเคลื่อนการแก้ไขวิกฤตภูมิอากาศผ่านกลไกตลาด และยกระดับความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นรูปธรรม.
การประชุมสุดยอดภูมิอากาศเอเชีย 2025 (ACS 2025) จัดโดยสมาคมการค้าคาร์บอนระหว่างประเทศ (IETA)โดยการสนับสนุนของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE)เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพมหานครมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คนจากทั่วโลก
รวมทั้งนายเดิร์ก ฟอร์ริสเตอร์ ประธานและซีอีโอสมาคมการค้าคาร์บอนระหว่างประเทศ (IETA), ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE), คุณอัสสเดช คงสิริ ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และนายอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ด้านอนุรักษ์พลังงาน และ Grid Modernization สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร นายสมหมาย เอี่ยมสอาด รศ.ดร. ไพบูลย์ กวินเลิศวัฒนา ที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมฯลฯ.