ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ครม. รับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ
06 พ.ค. 2568

ครม. รับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568)
วันนี้ (6 พฤษภาคม 2568) นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568) 
 
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวะเป็นกลาง และมีแนวโน้มต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2568 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 โดยได้บูรณาการข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสรุปรายงานสถานการณ์น้ำ ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568 ดังนี้

1) ด้านสภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน ช่วงวันที่ 2 - 7 พฤษภาคม 2568 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ยังคงมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก

2) ด้านสถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568)
2.1 สถานการณ์แหล่งน้ำปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำทุกขนาดทั่วประเทศมีปรีมาณน้ำรวม 45,714 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุเก็บกัก มากกว่าปี 2567 จำนวน 1,982 ล้านลูกบาศก์เมตร 
2.2 อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่เฝ้าระวังน้ำมาก ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุเก็บกัก จำนวน 29 แห่ง (จากทั้งหมด 369 แห่ง) ดังนี้ ภาคเหนือ 6 แห่ง (จาก 79 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 แห่ง (จาก 189 แห่ง) ภาคตะวันออก 1 แห่ง (จาก 44 แห่ง) ภาคใต้ 6 แห่ง (จาก 22 แห่ง)

ทั้งนี้ สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยเน้นการลดความเสี่ยงจากอุทกภัยและเตรียมความพร้อมในทุกภาคส่วน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือนและจัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึงและทันท่วงที

ขณะที่สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2568) สถานการณ์ภาพรวมมีระดับน้ำส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าตลิ่ง 10.07 ถึง 11.90 เมตร มีแนวโน้มทรงตัว และยังไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำของประชาชน สรุปได้ดังนี้

- สถานีตรวจวัดที่อยู่ช่วงเหนือเชื่อนไซยะบุรี (สปป. ลาว) ได้แก่ 
สถานีจึ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระดับน้ำอยู่ในเภณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว 
สถานีเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.44 เมตร
- สถานีตรวจวัดที่อยู่ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี (สปป. ลาว) ได้แก่ 
สถานีเชียงคาน จังหวัดเลย ระดับน้ำกว่าระดับตลิ่ง 11.05 เมตร อยู่ในเกณฑ์เผ้าระวังน้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว
สถานีหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.37 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานีบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.50 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว 
สถานีนครพนม จังหวัดนครพนม ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.07 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มลดลง
สถานีมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.20 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว
- สถานีอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 11.32 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว
- สถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าระทับตลิ่ง 11.90 เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย แนวโน้มทรงตัว

โดย สทนช. ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และในฐานะสมาชิกคณะทำงานร่วมภายใต้กรอบความร่วมมือล้านข้างแม่โขง ด้านสาขาทรัพยากรน้ำ (Lancang Mekong Cooperation Joint Working Group : LMC JWG) ได้ตรวจสอบสถานการณ์แม่น้ำโขงในพื้นพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยยังไม่ส่งผลกระทบต่อการสัญจรทางน้ำและกิจกรรมการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการผลิตน้ำประปาของชุมชนริมแม่น้ำโขง ทั้งนี้ หากเกิดผลกระทบ สทนช. จะเร่งประสานคณะกรรมการแม่น้ำโขง และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน พิจารณาปรับเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนจิ่งหง เพื่อเพิ่มระดับน้ำแม่น้ำโขงโดยเร็วต่อไป

ในส่วนของความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 มติที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/ 2568 ได้เห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2568 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2568 และส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในฤดูแล้งปี 2568/2569 โดย สทนช. ได้บูรณากาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการดังกล่าว ทั้งการตรวจสถานะความพร้อมของอุปกรณ์เตือนภัยของทั้งประเทศ จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่เปราะบางที่มีความเสี่ยง ทบทวนปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือให้สามารถรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำหลากและฝนทิ้งช่วง ตลอดจนติดตามเฝ้าระวังการรับมือภัยด้านน้ำ

นอกจากนี้ สทนช. ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดการณ์ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2568 พื้นที่ลุ่มน้ำชี เป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดสถานการณ์น้ำท่วม น้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน จำนวน 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และชัยภูมิ โดย สทนช. ได้จัดส่งข้อมูลพื้นที่เสี่ยงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการลุ่มน้ำองค์กรผู้ใช้น้ำ และ สทนช. ภาค 3 เพื่อใช้สำหรับเตรียมความพร้อมรับมือและติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ รวมทั้งติดตามการปรับเกณฑ์บริหารจัดการน้ำและอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อลดลดความเสี่ยงอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำชีด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...