'ตุลาการผู้แถลงคดี' ชี้ประธาน กสทช. ละเลยหน้าที่ไม่เซ็นคำสั่งเปลี่ยนตัว'ไตรรัตน์' รักษาการเลขาธิการฯ’-ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยฯ ระบุ ‘มติกสทช.’ มีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตาม พร้อมเสนอถอดถอนด่วนพร้อมตั้งกรรมการสอบฯ ภายใน 60 วัน
ทั้งนี้ มีรายงานจากกรณีที่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสียงข้างมาก 4 รายได้แก่ พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ ,รศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ,รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย และ รศ.ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ได้ ยื่นฟ้อง ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ต่อศาลปกครองกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1764/2566
ตามที่ประธาน กสทช. ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ กรณีไม่ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัย นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. และเปลี่ยนตัวรักษาการเลขาธิการ กสทช.ทั้งไม่ยอมลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ผศ.ภูมิศิษฐ์ มหาเวศน์ศิริ รองเลขาธิการฯเป็นผู้รักษาการแ ทนเลขาธิการ กสทช. ตามมติ กสทช.ในการประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2566
ล่าสุดมีรายงานว่าในการพิจารณาคดีนัดแรกเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงต่อองค์คณะตุลาการศาลปกครองกลาง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การที่ ศ.คลินิกนพ.สรณ ประธาน กสทช. (ผู้ถูกฟ้องคดี)ไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการกสทช.ในการประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2566 ทั้งกรณีไม่ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัย นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล และไม่ลงนามคำสั่งเปลี่ยนตัวรักษาการเลขาธิการ กสทช. รวมทั้งไม่ลงนามในคำสั่ง แต่งตั้งนายภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการฯให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.ตามมติ กสทช.นั้น ถือเป็นการ "ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่"
เนื่องจากตามเจตนารมณ์ของกฎหมายจัดตั้ง กสทช.นั้น การบริหารงานในลักษณะขององค์กรกลุ่ม ซึ่งต้องร่วมกันพิจารณาเรื่องใดๆ ประธานกรรมการจะตัดสินแทนกรรมการไม่ได้ และกรรมการคนใดคนหนึ่งจะทำแทนคณะกรรมการทั้งหมดก็มิได้ จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการมอบหมายจากคณะกรรมการเท่านั้น เมื่อคณะกรรมการมีมติย่อมมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตาม
ประเด็นที่ 2 เนื่องจากมติ กสทช. ในการประชุม ครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2566 ในวาระที่ 5.22 ยังไม่ถูกเพิกถอน จึงถือว่ายังมีผล อยู่ การที่ ศ.คลินิก นพ.สรณ ไม่แต่งตั้ง นายภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ (ผู้ร้องสอดที่ 2)ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรักษาการเลขาธิการ กสทช. แทน จนกว่าการสอบสวนวินัยจะเสร็จสิ้น แม้จะมีการส่งบันทึกแจ้งเตือนเพื่อให้ดำเนินการตามมติ กสทช.ถึง 2 ครั้ง จึงถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
ตุลาการผู้แถลงคดี เห็นว่าศาลฯควรมีคำสั่งให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาได้แก่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้คำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดีจะไม่ใช่คำพิพากษา ยังคงต้องรอคำตัดสินขององค์คณะตุลาการศาลปกครอง แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลปกครองต้องพิมพ์เผยแพร่คำพิพากษาขององค์คณะและคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีต่อสาธารณะ