ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กรมอุทยานฯ ชี้แจงความโปร่งใสการบริหารจัดการเงินอุทยานแห่งชาติ
28 เม.ย. 2568

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชี้แจงเรื่อง "การบริหารจัดการและการใช้จ่ายเงินอุทยานแห่งชาติ" เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บและบริหารเงินรายได้อุทยานแห่งชาติ 

หลังจากที่มีการรายงานข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งบางส่วนมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทั้งหมดและส่งผลกระทบต่อบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องนั้น นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำคณะผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินอุทยานแห่งชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บและบริหารเงินรายได้อุทยานแห่งชาติตามนโยบายสำคัญของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเร่งขับเคลื่อนระบบ E-Ticket ทั้งระบบให้แล้วเสร็จและพร้อมใช้งานในฤดูกาลท่องเที่ยวหน้า ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 15 ตุลาคม 2568 เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการจัดเก็บรายได้

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ชี้แจงถึงนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 73 ล้านไร่ หรือประมาณ 23% ของประเทศไทย โดยเน้นย้ำถึงเป้าหมายหลักในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ธรรมชาติ การพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาค้นคว้าวิจัย ซึ่งมีแนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ โดยมีแนวทางปฏิบัติในการทำงาน 6 ประการสำคัญ ดังนี้

1. การจัดโซนพื้นที่ตามศักยภาพ : พื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญและเปราะบางจะถูกกำหนดเป็นพื้นที่หวงห้ามไม่อนุญาตให้มีกิจกรรมท่องเที่ยว ส่วนพื้นที่ที่มีความสวยงาม ระบบนิเวศแข็งแรง และเข้าถึงได้สะดวกปลอดภัย จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้

2. การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว (Carrying Capacity) เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะนำระบบ E-ticket มาใช้ให้ทันในช่วงเปิดฤดูการท่องเที่ยวเดือนตุลาคม 2568 ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

3. การกำหนดระเบียบสำหรับนักท่องเที่ยว : บังคับใช้กฎระเบียบตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และระเบียบอื่นๆ อย่างเคร่งครัด รวมถึงการห้ามให้อาหารสัตว์ป่า การห้ามนำอาวุธและเครื่องมือล่าสัตว์เข้าพื้นที่ และการห้ามประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่: เน้นความรับผิดชอบ เด็ดขาดกับการกระทำผิดกฎหมาย และให้บริการด้วยความสุภาพ รวมถึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้ปฏิบัติงานเกินอำนาจหน้าที่

5. การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสื่อความหมาย : ออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) และจัดทำระบบสื่อความหมาย 2 ภาษา รวมถึงมีแผนรักษาความปลอดภัยและระบบประกันอุบัติเหตุสำหรับนักท่องเที่ยว

6. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน : เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ผ่านคณะกรรมการระดับพื้นที่ (PAC) และการแบ่งรายได้ 5% ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นอกจากนี้ อธิบดีกรมอุทยานฯ ยังเปิดเผยถึงสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวและการจัดเก็บรายได้ของอุทยานแห่งชาติว่า ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2567 - 20 เมษายน 2568 มีนักท่องเที่ยวเข้าอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศจำนวน 11.74 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสามารถจัดเก็บรายได้ 1,551.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 การใช้จ่ายเงินอุทยานแห่งชาติในปีงบประมาณ 2568 อยู่ในกรอบวงเงิน 2,199.72 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำร้อยละ 68.93 และรายจ่ายตามภารกิจร้อยละ 31.07 ปัจจุบันได้อนุมัติใช้จ่ายไปแล้วร้อยละ 99.19 ของงบประมาณทั้งหมด "การบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติมุ่งสู่ความสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติยังคงความสมบูรณ์ ประชาชนได้ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และนักวิจัยสามารถศึกษาเรียนรู้เพื่อต่อยอดความรู้ในด้านต่างๆ ทั้งด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ การแพทย์ และอื่นๆ” นายอรรถพล กล่าวทิ้งท้าย 

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้จ่ายเงินอุทยานแห่งชาติได้ผ่านเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Business Intelligence)

หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินอุทยานฯ พร้อมปรับเพิ่มสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า

นายชิดชนก สุขมงคล รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้อธิบายถึงหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินอุทยานแห่งชาติ โดยเน้นว่าเงินรายได้ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่เจ้าหน้าที่และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งเป็นไปตามระเบียบและแนวทางที่กำหนดไว้ โดยอุทยานแห่งชาติในปีงบประมาณ 2568 พร้อมประกาศปรับอัตราสวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ สำหรับปีงบประมาณ 2568 กรมอุทยานแห่งชาติฯ โดยคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีอธิบดีเป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการที่ต้องใช้จ่ายเงินอุทยานแห่งชาติไปแล้ว วงเงิน 2,181,811,892.32 บาท (ร้อยละ 99.19 ของงบประมาณทั้งหมด) เป็นโครงการที่ออกแผนปฏิบัติการไปแล้ว 73 โครงการ ในวงเงิน 2,173,204,892.32 บาท และอยู่ระหว่างออกแผนปฏิบัติการอีก 2 โครงการ วงเงิน 8,607,000.00 บาท โดยเงินอุทยานแห่งชาติจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

ประเภท ก ร้อยละ 5 จำนวน 102.23 ล้านบาท เป็นเงินที่ต้องให้แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ ประเภท ข ร้อยละ 20 จำนวน 316.59 ล้านบาท เป็นเงินงบบริหารจัดการที่จัดสรรคืนให้แต่ละอุทยานแห่งชาติไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี/แห่ง ประเภท ค ร้อยละ 60 จำนวน 1,222.44 ล้านบาท เป็นเงินงบบำรุงรักษา ใช้สำหรับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ และประเภท ง ร้อยละ 15 จำนวน 540.55 ล้านบาท เป็นเงินงบสำรอง ใช้สำหรับกรณีจำเป็นเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน สำหรับ 73 โครงการที่ได้รับอนุมัติ วงเงิน 2,173.20 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,497.67 ล้านบาท (14 โครงการ) และรายจ่ายตามภารกิจ 675.54 ล้านบาท (59 โครงการ) โดยรายจ่ายประจำประกอบด้วย เงินที่ให้แก่เทศบาลและ อบต. เงินที่จัดสรรคืนให้อุทยานแห่งชาติ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอุทยานแห่งชาติและบริการนักท่องเที่ยว โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและป้องกันรักษาป่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) โครงการนักเรียน นักศึกษา ช่วยปฏิบัติงานอุทยานแห่งชาติ โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียวและโครงการจัดตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วเพื่อแก้ไขปัญหาช้างป่า ส่วนรายจ่ายตามภารกิจ ประกอบด้วย การจัดซื้อครุภัณฑ์และติดตั้งทุ่น การก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก การขยายเขตไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภค การเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันรักษาป่า สวัสดิการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่า การแก้ไขปัญหาช้าง การศึกษาวิจัย การฝึกอบรม และโครงการอื่น ๆ เช่น การผลิตสื่อจัดพิมพ์หนังสือ การดูแลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แม่ข่าย และการบำรุงรักษาระบบ E-Ticket และระบบจองที่พัก 

นอกจากนี้ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังได้ปรับอัตราเงินสวัสดิการสำหรับเจ้าหน้าที่ให้สูงขึ้นและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเพิ่มอัตราการช่วยเหลือกรณีเสียชีวิตจากการปะทะ ต่อสู้ ลาดตระเวน หรือถูกสัตว์ป่าทำร้าย จากเดิม 500,000 บาท เป็น 1,000,000 บาท และกรณีเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ จากเดิม 400,000 บาท เป็น 500,000 บาท รวมถึงปรับเพิ่มอัตราช่วยเหลือกรณีบาดเจ็บทุพพลภาพหรือพิการสูญเสียอวัยวะทั้งสองข้าง จากเดิม 300,000 บาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 1,000,000 บาท และกรณีสูญเสียอวัยวะข้างเดียว เป็นสูงสุดไม่เกิน 600,000 บาท เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศมีทั้งสิ้น 18,533 คน เป็นข้าราชการ 534 ราย ลูกจ้างประจำ 359 ราย พนักงานราชการ 5,771 ราย ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน 757 ราย บุคคลภายนอกที่ได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน 3,388 ราย และการจ้างเหมาพนักงาน 7,724 ราย ซึ่งนอกจากสวัสดิการจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ แล้ว ยังมีกองทุนจากหน่วยงานอื่นที่ให้การช่วยเหลือ และสวัสดิการด้านทุนการศึกษาสำหรับบุตรเจ้าหน้าที่ด้วย

สำหรับนักท่องเที่ยว กรมอุทยานแห่งชาติฯ ยังคงดำเนินโครงการ "ท่องเที่ยวทั่วไทย อุ่นใจเมื่อไปอุทยาน" โดยร่วมมือกับบริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน) ผ่านบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการให้บริการประกันอุบัติเหตุกลุ่มในภาคสมัครใจ โดยมีอุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการ 71 แห่ง

แผนพัฒนา "E-National Park" พร้อมรุกแก้ปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

นายอริยะ เชื้อชม ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ เปิดเผยถึงการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้อุทยานแห่งชาติและการแก้ปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่กำลังเร่งดำเนินการอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันการจัดเก็บค่าบริการอุทยานแห่งชาติมี 2 รูปแบบ คือ การจ่ายด้วยเงินสดและระบบ E-Ticket ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2566 ในอุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง แบ่งเป็นอุทยานทางบก 3 แห่ง (เขาใหญ่ ดอยอินทนนท์ และเอราวัณ) และอุทยานทางทะเล 3 แห่ง (อ่าวพังงา หมู่เกาะสิมิลัน และหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี) ระบบ E-Ticket ถูกพัฒนาต่อยอดจาก Application QueQ ที่ใช้สำหรับจองคิวเข้าอุทยานฯ ตั้งแต่ช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ที่มีนักท่องเที่ยวมากถึง 1.9 ล้านคนในปีงบประมาณ 2567 คิดเป็น 10.3% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด และสร้างรายได้มากกว่า 629 ล้านบาท หรือ 28.5% ของรายได้อุทยานฯ ทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม ระบบยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์หรือสัญญาณไม่เสถียร เช่น ที่อ่าวมาหยา ที่ต้องกลับมาใช้วิธีเก็บเงินสด นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังต้องผ่านขั้นตอนการกรอกข้อมูลและยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน 

ทั้งนี้ กรมอุทยานฯ กำลังพัฒนาระบบการจำหน่ายบัตรค่าบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปีงบประมาณ 2567 ดำเนินโครงการจัดการระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ (E-National Park) ขยายช่องทางให้ใช้งานได้ทั้ง Mobile application และ Website พร้อมเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลของกรมการปกครองผ่านแอปพลิเคชัน ThaiID เพื่อลดขั้นตอนการกรอกและยืนยันตัวตน นอกจากนี้ ระบบใหม่จะรองรับการชำระเงินผ่านเครื่อง EDC และ QR Code พร้อมจัดหาเครื่อง Scan บัตรค่าบริการทันสมัยให้ครบ 133 อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ สำหรับปีงบประมาณ 2568 ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อพัฒนาระบบ E-Service ที่ครอบคลุมการจองและจ่ายค่ากิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น การดำน้ำลึก จองที่พัก ลานกางเต็นท์ รวมถึงระบบการอนุญาตประกอบกิจการท่องเที่ยว และระบบการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ กรมอุทยานฯ ยังวางแผนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับระบบ E-National Park บริเวณทางเข้า ประกอบด้วย เครื่องตรวจเช็คและสแกน QR code ระบบกล้องวงจรปิด ท่าเทียบเรือลอยน้ำ ทุ่นจอดเรือ และทุ่นไข่ปลาเพื่อกันแนวพื้นที่กิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล

นอกจากการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้แล้ว นายอริยะยังเปิดเผยถึงแผนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 จากการสำรวจพบว่ามีการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 227 แห่ง 4,265 หมู่บ้าน เนื้อที่กว่า 4.2 ล้านไร่ โดยกระจายตัวเป็นหย่อมๆ และมีพื้นที่ป่าแทรกอยู่ประมาณ 20-30% ซึ่งยากต่อการป้องกันการบุกรุกขยายพื้นที่ กรมอุทยานฯ จึงตั้งวิสัยทัศน์ให้ราษฎรที่อาศัยในพื้นที่ตามมาตรา 64 และมาตรา 121 กว่า 1.1 ล้านคน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยแนวคิด"

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2568
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
21 เม.ย. 2568
“กีฬา ... กีฬา ... เป็นยาวิเศษ” ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์ที่นำมาร้องกันในสมัยก่อน หรืออาจจะร่วมถึงในยุคสมัยนี้ด้วยก็คงไม่ผิด และแน่นอนความหมายของนั้นก็คือ การเล่นกีฬา การออกกำลังกายนั้น มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเปรียบเสมือนเกราะป้องกันโรคภัยของเรานั่นเอ...