ดีป้า ระบุอุตสาหกรรมไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 2.0 แนะเอกชนเร่งปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันภายในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ หวั่นเผชิญความเสี่ยงสูญจีดีพีกว่า 1.8 ล้านล้านบาท
การสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคอุตสาหกรรมเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2562 เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ โดยดำเนินการสำรวจใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย
ซึ่งดำเนินการสำรวจตามกรอบแนวทางดังกล่าวในปี 2563 ต่อมาปี 2564 และล่าสุดในปี 2567
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ผลสำรวจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 พบว่า 70% ของกลุ่มตัวอย่างมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 2.0: Solution (การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบบฟอร์มออนไลน์ หรือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มความสะดวกในการทำงาน) จากระดับ 1.0: Manual (การทำงานแบบดั้งเดิมที่ใช้เครื่องมือ Analog และกระบวนการแบบ Manual เช่น โทรศัพท์ แฟกซ์ และการส่งเอกสารผ่านอีเมล) ในปี 2564
โดยส่วนใหญ่เริ่มนำเครื่องมือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มดิจิทัล และโซลูชันมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อีกทั้งมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิตแบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามกระบวนการทำงาน ประกอบด้วย
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ โดยผลสำรวจชี้ให้เห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 2.0 ซึ่ง 57% ของกลุ่มตัวอย่างมีการใช้คำสั่งซื้อออนไลน์ โดยการเปิดเว็บไซต์เพื่อรับคำสั่งซื้อและการชำระเงิน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ออกแบบผลิตภัณฑ์) ผลสำรวจชี้ว่ามีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 1.0 โดย 90.67% ของกลุ่มตัวอย่างยังคงใช้โปรแกรมช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น Computer-Aided Design (CAD) หรือการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยวาดภาพ 2D/3D และสร้างชิ้นส่วน เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดการกระบวนการผลิต
นอกจากนี้ ผลสำรวจชี้ว่ามีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 1.0 โดย 87.33% ของกลุ่มตัวอย่างยังคงใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติที่เรียบง่าย เช่น การใช้ Computer Numerical Control (CNC) หรือเครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่มีการทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์
รวมทั้ง ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือบางส่วน เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ผลสำรวจชี้ว่ามีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 1.0 โดย 70% ของกลุ่มตัวอย่างยังคงใช้อีเมลเพื่อติดต่อลูกค้า และเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ผลสำรวจชี้ว่ามีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในระดับ 1.0 โดย 69.33% ของกลุ่มตัวอย่างยังคงใช้ระบบสารสนเทศแบบแยกส่วนในบางแผนก/ฝ่าย
อย่างไรก็ตาม แม้ภาคอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล และให้ความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับ 4.0: Automation โดยมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สูงขึ้น มีการใช้ระบบอัตโนมัติ/ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการและวางแผนมากขึ้น มีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้บริหารจัดการธุรกิจเพิ่มขึ้น และแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขยับตัวไปที่ระดับ 3.0: Platform มากขึ้น
แต่ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างยังชี้ให้เห็นว่า การขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การขาดแคลนพนักงาน/แรงงานที่มีทักษะดิจิทัล การขาดแคลนเงินทุน และการที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดเล็กยังไม่เหมาะที่จะลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งหมดถือเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับที่สูงขึ้น
ด้วยแรงกดดันจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมไทยจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขัน แม้ดัชนีความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมที่จัดโดย UNIDO แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยยังครองอันดับที่สาม รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่หากไม่เร่งยกระดับภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมภายในระยะเวลา 5 ปี
จากนี้ ทั้งการพัฒนาทักษะบุคลากร และการส่งเสริมการทำ Digital Transformation โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ประเทศไทยอาจต้องเผชิญความเสี่ยงในการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากผลิตภาพการผลิตสูงถึงกว่า 1.8 ล้านล้านบาท หรือ 10% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ