ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ชาวพระพุทธบาทสระบุรีร่วมสืบสานประเพณีกว่า 100 ปี แห่พระเขี้ยวแก้ว
16 มี.ค. 2567


       นายบัญชา  เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี  เป็นประธานเปิดงานประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้ว ประจำปี ๒๕๖๗  ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร  อำเภอพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี  มีนางจิตตินันท์ เชาวรินทร์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี  พี่น้องพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอพระพุทธบาทและพื้นที่ใกล้เคียง เข้าร่วมพิธี 


         ประวัติของประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้วตามพงศาวตารกล่าวไว้ว่า พระเขี้ยวแก้วคือฟันของพระพุทธเจ้าที่เหลือไว้ให้เป็นปูชนียวัตถุ มี ๔ องค์ด้วยกันคือ ๑. ประดิษฐานอยู่ที่จุฬามณีเจดีย์ดาวดึงส์เทวโลก ๒.ประดิษฐานอยู่ ณ. เมืองกาลีงคราษฎร์ ประเทศอินเดีย ๓. ประดิษฐานอยู่ที่ใต้บาดาลอันมีนามว่า นาคพิภพ ๔. ประดิษฐานอยู่ประเทศลังกา หรือลังกาทวีป ปัจจุบันได้อัญเชิญมาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมครองกรุงศรีอยุธยา โดยอยู่ในวิหารคลังบน ในเจดีย์จุฬามณี 


           กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ที่เมืองพระพุทธบาทได้เกิดโรคระบาดประชาราษฎรได้เกิดการเจ็บปวยล้มตายไปเป็นอันมาก พร้อมทั้งเกิดทุพภิกขภัย อดอยาก ฝนแล้ง แห้งน้ำ ได้รับความเดือดร้อนเป็นที่ยิ่ง ผู้ปกครองในสมัยนั้นจึงอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากวิหารคลังบนออกแห่ แล้วเชิญประชาชนร่วมขบวนและถวายน้ำสรงพระเขี้ยวแก้ว ในวันนั้นเองได้มีฝนตกกระหน่ำมาอย่างหนักทำให้ประชาราษฎร์และพฤกษชาตินานาพันธุ์ได้รับความชุ่มเย็นอันเกิดจากฝนนั่นเอง จึงได้ปฏิบัติเป็นประเพณีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เอง ประชาชนชาวพระพุทธบาทจึงได้สืบทอดประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้วเป็นประจำทุกวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี เพื่อความร่มเย็นและสงบสุขของชาวพระพุทธบาท
สมพงษ์ ปานรุ่ง  รายงาน สระบุรี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...