ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีอี จับมือ สกมช. ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในอาเซียน
06 ก.พ. 2567

ดีอี จับมือ สกมช. เปิดประชุม “2024 1st ASEAN - Japan Cybersecurity Working Group Meeting” ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในอาเซียน

ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงาน อาเซียน - ญี่ปุ่น ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 (2024 1st ASEAN - Japan Cybersecurity Working Group Meeting) ด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมครั้งนี้  โดยมีพลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพมหานคร

สำหรับในปีนี้ ศูนย์ AJCCBC มีแผนที่จะร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน Cybersecurity เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือ แคนนาดา เป็นต้น เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาบุคลากรประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งยังมีแผนที่จะอบรมหลักสูตร OT Security เพื่อยกระดับการป้องกันและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในภาคอุตสาหกรรม และยกระดับการเสริมสร้างศักยภาพการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่อไปในระยะยาว

โดยในงาน ศาสตรจารย์พิเศษวิศิษฏ์ หรือ ปลัดดีอี กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1973 และเมื่อปีที่แล้ว (2023) เป็นการฉลองความร่วมมือครบรอบ 50 ปี ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความมั่นคง การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และมาพร้อมกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคม ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ ทั้งในประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้น การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นการช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน รับมือ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานรัฐและ หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางสารสนเทศ และจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถและทักษะในการตอบสนองภัยคุกคามทางไซเบอร์ จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญมากในการสนับสนุนความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนกับประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลและการยกระดับทักษะและความสามารถในการป้องกันและรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...