ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ครม.อนุมัติงบกลาง 826.68 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด
28 ก.พ. 2566

ครม.อนุมัติงบกลาง 826.68 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 28 ก.พ. 66  อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2566  วงเงิน 826.68 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ทั้งนี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้เสพยา/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมฯ ขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้สามารถกลับคืนสู่ชุมชนและใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ซึ่งโครงการนี้ สืบเนื่องมากจากที่รัฐบาลได้มีนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องเร่งด่วน และนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่ง ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและอาวุธปืน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รมว.มหาดไทยและปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้กำหนดมาตรการด้านการบำบัดผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะต่อเนื่อง
โดยในระยะเร่งด่วนนั้นได้ให้กระทรวงมหาดไทยค้นหาผู้เสพยาเสพติดในหมู่บ้าน ชุมชน และจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้ครบทุกจังหวัด เพื่อดำเนินการให้ผู้เสพยาสามารถกลับสู่สังคมได้
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับความช่วยเหลือผ่านโครงการฯ มาจากที่กรมการปกครองดำเนินการสำรวจ และรวบรวมและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ค้ายาและผู้เสพยาเสพติด ด้วยการค้นหาผู้เกี่ยวข้องในตำบล หมู่บ้านทั่วประเทศ 119,195 คน และดำเนินการคัดกรองเหลือ 100,000 คน โดยกลุ่มเป้าหมายจะได้รับความช่วยเหลือโดยยึดหลัก ผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่การค้นหากลุ่มเป้าหมาย การฝึกอบรม และติดตามดูแลหลังผ่านการอบรมเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่ ต.ค. 65-ก.ย. 66
 สำหรับขั้นตอนการฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมายจะดำเนินการ 15 วัน โดยมีกิจกรรมในส่วนการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางร่างกาย จิตใจ และปรับเปลี่ยนทัศนคติการใช้ชีวิต รวมถึงการฝึกอาชีพ และการประกอบอาชีพ
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้ชี้แจงรายละเอียดของการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการฯ วงเงิน 826.68 ล้านล้าน ประกอบด้วย  ค่าอาอาหารสำหรับผู้เช้ารับการฝึกอบรม 516 ล้านบาท, ค่าสมนาคุณวิทยากร 104 ล้านบาท, ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม 75 ล้านบาท, ค่าพาหนะสำหรับวิทยากร 69.60 ล้านบาท, ค่าบำรุงสานที่ 27 ล้านบาท, ค่าพาหนะผู้เข้าร่วมอบรม 20 ล้านบาท, ค่าวัสดุอุปกรณ์5 ล้านบาท, ค่าถ่ายเอกสาร 4.5 ล้านบาท, ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิด 3 ล้านบาท ค่าประกาศนยบัตร 1.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการติดตามผลการดำเนินงาน 6.8 แสนบาท        

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...