ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
พาณิชย์เอาใจคนรักสุขภาพ-รักษ์โลก บูมสินค้า 3 กลุ่ม
26 ก.พ. 2566

พาณิชย์ ทุ่มงบ 38 ล้านบาท เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก จัดทำโครงการ Local+ คัดสินค้าตอบโจทย์ เทรนด์โลก

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการจัดโครงการ Local+ (Plus)  (โลคัล พลัส) จำนวน 3 กลุ่มสินค้า ว่าได้แก่ 1.กลุ่ม BCG ที่มุ่งเน้นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สินค้าออร์แกนิก 2.กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ ที่ต้องการรักษาภูมิปัญญา ความเฉพาะถิ่น คุณค่าทางวัฒนธรรม และ 3.กลุ่มสินค้านวัตกรรม เพื่อผลักดันสินค้าชุมชนสู่ตลาดที่ตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภค และยังสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก(Local Economy) ตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายกีรติ กล่าวว่า สินค้าของไทยมีศักยภาพ มีความหลากหลาย มีอัตลักษณ์เป็นของตนเองในแต่ละท้องถิ่น และมีมาตรฐานได้รับการยอมรับจากนานาชาติทั่วโลก  จึงเป็นที่มา โครงการ Local+ (Plus)ที่มีเป้าหมายจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือผู้ผลิต ในการให้ความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาสินค้า และผลักดันออกสู่ตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิตสินค้า และสร้างรายได้เข้าประเทศ ภายใต้ นโยบาย”การตลาด นำการผลิต” โดยในปี 2566 ตั้งงบประมาณไว้  38 ล้านบาท

ทั้งในการคัดเลือกสินค้าใน 3 กลุ่มได้มอบหมายให้พาณิชย์จังหวัด ในฐานะเซลล์แมนจังหวัด ที่ประจำอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไปลงพื้นที่ ทำการคัดของดี ของเด็ด สินค้าที่มีศักยภาพ ทั้งกลุ่ม BCG กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ และกลุ่มที่มีนวัตกรรม เพื่อทำเป็นฐานข้อมูลสินค้า Local+ แล้วเข้าไปช่วยส่งเสริม ทั้งด้านการผลิต การพัฒนาตัวสินค้า ดีไซน์ สร้างเรื่องราว เพื่อให้มีคุณลักษณะพิเศษ มีคุณค่าต่อจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการรักสิ่งแวดล้อม รักษ์โลก การช่วยสืบทอดวัฒนธรรม เพื่อช่วยผู้บริโภครู้จักสินค้า Local+ สามารถขยายตลาด รวมทั้งเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวางได้ 2 กลุ่มคือ1.กลุ่มคือกลุ่มที่มีความพร้อม  2.กลุ่มที่ยังไม่มีความพร้อม โดยในปีแรกกระทรวงจะเน้นไปที่กลุ่มผู้ประกอบการที่มีความพร้อมก่อนเพื่อเป็นการช่วยขยายช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้น โดยในเฟสแรกจะเน้นกลุ่มสินค้าที่มาจากBCG สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ เช่น สินค้าGI และกลุ่มสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ

ส่วนกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาสินค้า Local+ กำหนดไว้ 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการตลาดให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ และสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้บริโภค ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของ Local+ 2.การพัฒนาฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการวางแผนการตลาดเชิงรุกให้กับสินค้า Local+ ในรูปแบบ 2 ภาษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพส่งออก 3. การขยายตลาดสินค้า Local+ ทั้งในและต่างประเทศ 4.การสร้างความหลากหลายของสินค้า Local+ ให้ตรงตามความต้องการของตลาด โดยจะช่วยพัฒนาสินค้าตัวใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาดและ 5. การสนับสนุนเชิงนโยบาย โดยหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกันพิจารณามาตรการสนับสนุน Local+ ในระดับนโยบาย เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการช่วยเหลือ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ

โดยขณะนี้มีความคืบหน้ามากพอสมควร โดยมีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแล้ว500ราย โดยจะคัดให้เหลือ 200ราย เพื่อนำมาจัดโรดโชว์ในงานแสดงสินค้าในระดับภูมิภาคทั้ง 4 ภาค คือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี ตรังและสมุทรปราการ ช่วงเดือนมี.ค. – พ.ค. 2566 และจัดงานแสดงสินค้า เจรจาธุรกิจ และสัมมนาวิชาการ Thailand International Local Plus Expo 2023 (TILP Expo 2023) ช่วงเดือนมิ.ย. 2566 เพื่อช่วยให้ความรู้ด้านการตลาด มาตรการ มาตรฐาน ขยายโอกาสของสินค้าเข้าสู่ตลาดเป้าหมายแก่ผู้ประกอบการ และจัดเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (OBM)  

“สินค้าที่สนใจ เช่น ถังหมักรักษ์โลก จากชาตรี จ.เพชรบูรณ์ ตาปีสยาม ซึ่งเป็นกระเป๋าที่ผลิตจากต้นกล้วย จากราชบุรี  ศิลาดล เป็นสินค้าอัตลักษณ์ จากเชียงใหม่  สินค้าปลอดสารพิษชนะจาก ออร์แกนิก ฟาร์ม จ.ลำพูน” นายกีรติ กล่าว

ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการที่สินค้าแต่ยังไม่พร้อม กระทรวงก็จะจัดอบรมให้ความรู้ในการทำตลาด พัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ตลาดก่อนหลังจากนั้นก็จะพามาออกงาน ซึ่งกลุ่มนี้กระทรวงจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อให้สินค้าท้องถิ่นสามารถขยายตลาดและเพิ่มมูลค่ากับสินค้าด้วย

อย่างไรก็ตาม หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า สินค้าในโครงการดังกล่าวจะไปทับซ้อนกับสินค้าโอทอปของรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงว่า มีความแตกต่างกัน เพราะสินค้าที่คัดเลือกมาจะมีความโดดเด่น 3 สินค้าเป้าหมาย ตอบโจทย์เทรนด์ตลาด  ซึ่งกระทรวงตั้งเป้าว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างยอดขายให้กับสินค้าท้องถิ่นในปีแรกไม่ต่ำกว่า700ล้านบาท

โครงการ Local+ (Plus) นี้จึงเป็นโครงการที่น่าใจในการผลักดันเศรษฐกิจฐานราก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่น ที่สำคัญตอบโจทย์เทรนด์”รักษ์”โลก ที่กำลังมาแรงในยุคนี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...