ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สรพ.ระดมผู้เชี่ยวชาญเคาะ TOP 10 Patient Safety Concern ของประเทศไทย
10 ก.พ. 2566

สรพ. จับมือสถาบัน ECRI ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา ผู้เยี่ยมสำรวจ และตัวแทนจากสถานพยาบาล เคาะประเด็น TOP 10 Patient Safety Concern สำหรับประเทศไทย หลังจากนี้เตรียมรับฟังความคิดเห็นโรงพยาบาลในงาน HA National Forum แล้วประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย. 2566


สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ร่วมกับ Emergency Care Research Institute; (ECRI)  สำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ National Reporting and Learning System  หรือ NRLS  ประเด็น TOP 10 Patient Safety Concern ในรูปแบบ onsite ระหว่างวันที่ 9 - 10 ก.พ. 2566 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน Quality and Safety จาก สรพ.  และองค์กรวิชาชีพต่างๆ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมงานของ ECRI เพื่อวิเคราะห์และเฟ้นหาประเด็น TOP 10 Patient Safety Concern สำหรับประเทศไทยว่ามีเรื่องใดที่ควรยกเป็นไฮไลท์เพื่อรณรงค์สร้างความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยในปีนี้


พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการ สรพ. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามแผนงานที่ สรพ. ได้ลงนามความร่วมมือกับ ECRI สถาบันวิจัยเรื่อง Patient Safety ในระดับสากลเพื่อแลกแปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์และระบุเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญของผู้ป่วยและบุคลากร ซึ่งแต่ละปีในระดับสากลจะมีการกำหนดประเด็นเรื่อง TOP 10 Patient Safety Concern ว่ามีเรื่องใดบ้าง รวมทั้งมีแนวปฏิบัติเป็นข้อแนะนำเพื่อลดความผิดพลาด


พญ.ปิยวรรณ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของ Patient Safety ในประเทศไทยก็มีบริบทของตัวเองในการจัดทำแนวปฏิบัติ ซึ่งมีทิศทางการขับเคลื่อนเรื่อง Patient and Personnel Safety เป็นเป้าหมายผลลัพธ์ที่คาดหวังในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนดประเด็นสำคัญเป็นมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย 9 เรื่อง ที่ดำเนินการโปรโมทให้โรงพยาบาลต่างๆให้ความสำคัญและผนวกกับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล อย่างไรก็ดีเมื่อสถานการณ์ของโลกและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน  9 เรื่องนี้อาจยังไม่คลอบคลุมยัง เช่น มีควาก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การแพร่ระบาดของโควิด-19 ฯลฯ ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์ว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน มีประเด็น Patient Safety เรื่องใดบ้างที่ควรโปรโมทให้โรงพยาบาลและประชาชนให้ความสำคัญ


“ในวันนี้เป็นการเสนอประเด็นว่า Patient Safety ที่ควรโปรโมทในไทยมีเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการเสนอประเด็นเข้ามา 14-15 เรื่อง วันนี้เราก็เชิญผู้เชี่ยวชาญมาระดมสมองว่า แต่ละประเด็นมี Contributing Factor หรือปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์บ้าง แล้วเอามา เทียบเคียงกับ Contributing factor ในระดับสากล จากนั้นทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อนำมาซึ่งข้อเสนอแนะ/คำแนะนำ (Recommendations) ว่าจะมีแนวทาง/แนวปฏิบัติแก่โรงพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขของไทยอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น และท้ายสุดก็จะโหวตกันว่า TOP 10 Patient Safety Concern ของไทยควรมีเรื่องใด”พญ.ปิยวรรณ กล่าว


พญ.ปิยวรรณ ยกตัวอย่างประเด็นที่มีการเสนอเข้ามา เช่น การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล เชื้อดื้อยา ข้อผิดพลาดในการผ่าตัด การให้เลือดผิดคน เป็นต้น รวมทั้งมีเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัยหรือยังไม่มีรายงานการเกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น ความปลอดภัยจาก Telemedicine  รวมทั้งเรื่อง Mental ซึ่งเป็น Psychological safety  อาจนำมาซึ่งภาวะ Burnout ของบุคลากร  ทั้งนี้เพื่อให้ได้หัวข้อที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
ทั้งนี้ หลังจากมีการสรุป TOP 10 Patient Safety Concern จากการประชุมในวันนี้แล้ว สรพ. ยังจะมีการรับฟังความคิดเห็นของโรงพยาบาลต่างๆ ในงาน HA National Forum ซึ่งจะมีขึ้นในเดือน มี.ค. นี้ ว่าคิดเห็นต่อ 10 ประเด็นนี้อย่างไร และแนวทางปฏิบัติที่จัดทำขึ้นว่าสามารถปฏิบัติได้มาน้อยเพียงใด
“การประชุมวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ การรับฟังความคิดเห็นจากโรงพยาบาล เป็นการแลกเปลี่ยนเชิงประสบการณ์ตามบริบท การจะสื่อสารสังคมเรื่องใดต้องแน่ใจว่าทุกคนเห็นพ้องต้องกันและแน่ใจว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ทุกคนอยาก Engage การทำร่วมกันและร่วมกันเป็นเจ้าของ ไม่อย่างนั้นการขับเคลื่อนก็ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น หลังจากฟังความคิดเห็นโรงพยาบาลแล้ว สรพ.จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับ ECRI และคาดว่าจะสามารถประกาศ TOP 10 Safety Concern ของประเทศไทยได้ในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อโปรโมทให้โรงพยาบาล สังคมและประชาชนเห็นความสำคัญและจะได้มีการติดตามผลต่อไป” พญ.ปิยวรรณ กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...