ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
รองอธิบดีส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เปิดสัมมนารณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง
11 ก.ย. 2565

รองอธิบดีส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เปิดสัมมนารณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง

วันนี้ 10 ก.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตากยา ตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เดินทางเปิดงานวันเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจในการป้องกัน เฝ้าระวังการระบาดศัตรูพืช โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง โดยมีนายประสาน ปานคง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ และเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ให้การต้อนรับ

จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 3,030,599 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 506,055 ไร่ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอันดับต้น ๆ ของจังหวัด สร้างมูลค่าหลายล้านบาทต่อปี แต่ ณ ขณะนี้ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ได้เกิดโรคระบาด คือ โรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งได้ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตามข้อมูลการรายงานตามระบบสารสนเทศกรมส่งเสริมการเกษตร ได้พบพื้นที่การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังของจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 14,366 ไร่ ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ได้มีการแจ้งเตือนภัย การประชาสัมพันธ์ การแนะนำส่งเสริม การสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกร ผู้นำ ท้องที่ ท้องถิ่น ในทุกเวทีและในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การระบาดอยู่เป็นประจำ แต่การระบาดของ โรคใบด่างมันสำปะหลังมีแนวโน้มที่ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสภาวะอากาศที่เหมาะสมต่อการระบาด อีกทั้ง เกษตรกรยังไม่เห็นความสำคัญของการป้องกันโรค

จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ได้กำหนดจัดการงานรณรงค์เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคใบด่างของมันสำปะหลัง โดยมีบุคคลเป้าหมาย จำนวน 120 คน ประกอบด้วย เกษตรอำเภอ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกรในพื้นที่ ปลูกมันสำปะหลัง ในจังหวัดกาญจนบุรี 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรรับรู้ในเรื่องโรคใบด่างมันสำปะหลัง และแนวทางการป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดความตระหนักในการติดตามเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบด่างมัน สำปะหลังในแปลงปลูกตนเองอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ปลูกอื่น ๆ หากพบว่าเกิดการระบาดในพื้นที่ใด ขอให้ดำเนินการแจ้งทางเจ้าหน้าที่เกษตร ของแต่ละอำเภอทันที เพื่อกำจัดการระบาดไม่ให้แพร่ออกไปยังพื้นที่อื่นต่อไป

หลังจากเสร็จจากการเปิดโครงการสัมมนา ทางนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีฯ พร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปยังพื้นที่แปลงปลูกมันสำปะหลัง เพื่อตรวจสอบต้นมันสำปะหลังที่เกิดโรคใบด่าง ก่อนทำการขุดทำลาย เพื่อไม่ให้มีการแพร่โรคไปยังแปลงอื่นๆ ซึ่งหัวมันที่ปลูกไปแล้วหลังประมาณ 5 เดือน แล้วเกิดโรคใบด่าง จะส่งผลกระทบทำให้หัวมันน้ำหนักลดลง แต่หากเกิดโรคใบด่างตั่งแต่ ปลูกเริ่มใหม่ๆ จะส่งผลกระทบต่อหัวมันไม่โต หากไม่กำจัดออกไป มันจะลุกลามไปยังต้นอื่ร รวมถึงแปลงใกล้เคียงได้ ทำให้น้ำหนักที่เคยได้ไร่ละ 14 ตัน ก็จะเหลือไม่ถึงครึ่ง

โอกาสนี้ นายรพีทัศน์  อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กล่าวว่า ได้มีมาตรการให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงโรคใบด่างของมันสำปะหลังไว้จำนวน 6 ประการด้วยกันคือให้เกษตรกรรับรู้ถึงโรค การดูแลป้องกันโรค มีการรณรงค์ให้เกษตรกรใช้สายพันธ์ที่ทนทานต่อโรคใบด่าง มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทางกรมส่งเสริมได้มีการทดสอบแล้วว่าสายพันธ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อโรค นอกจากนี้ยังให้เกษตรกรหมั่นดูแลแปลงปลูกของตนเองมากยิ่งขึ้น หากพบว่าในแปลงเกิดโรคก็สามารถทำลายเฉพาะต้นที่เกิดโรคเท่านั้น ไม่ต้องทำลายทั้งหมด เราต้องเฝ้าดูแลอย่าให้เกิดโรค หัวมันก็จะได้น้ำหนักตามที่ต้องการ ต่อไร่น้ำหนักจะต้องไม่ต่ำกว่า 11 ตัน บางแปลงพบว่าน้ำหนักถึง 15 ตัน ยังมีนั่นคือเจ้าของแปลงใส่ใจกับการดูแลตลอดเวลา เราจะต้องมีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อเมื่อเกิดโรคจะได้วางมาตรการกับโรคได้ทันทวงที ลดการระบาดของโรคได้รวดเร็วต่อไป



ทีมข่าวกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...