ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
นายจ้าง-ลูกจ้างไทย สะท้อนผลกระทบโควิดบนเวทีนานาชาติ
09 มิ.ย. 2565

นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย(NCTL) และนายเดชบุญ มาประเสริฐ ประสภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย เข้าร่วมในการประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ประจำปี 2565 สมัยที่ 110ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

นายพนัส กล่าวว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่ถูกเลิกจ้างก่อนวัยเกษียณอายุกำลังเป็นปัญหาทางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมากในขณะเดียวกันยังมีลูกจ้างที่เกษียณอายุในระหว่างอายุ55-60ปีอีกจำนวนไม่น้อยมาสมทบทำให้อัตราการว่างงามีจำนวนนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้คงไม่สามารถที่จะทำให้หมดไปในระยะเวลาอันสั้นได้ แต่สามารถที่จะชะลอปัญหาให้ช้าลงได้ด้วยการร่วมมือกันของทุกฝ่ายโดยเฉพาะนายจ้างที่เป็นบริษัทของไทยและบริษัทที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเมื่อต้องการที่จะลดจำนวนลูกจ้างลงไปเมื่อเผชิญกับ วิกฤตต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและยุติธรรมเท่านั้น นอกจากนั้นควรที่จะ พิจารณาผลกระทบในระยะยาวของลูกจ้างที่ต้องว่างงานเมื่อโดนเลิกจ้าง นายจ้างต้องช่วยเหลือลูกจ้างเพิ่มขึ้นพิเศษจากอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างเหล่านี้สามารถนำเงินช่วยเหลือไปประกอบอาชีพใหม่ได้ไม่ให้เป็นภาระของสังมคมต่อไป ในวิกฤตการเช่นนี้ มีนายจ้างจำนวนไม่น้อยที่ใช้โอกาสนี้เลิกจ้างลูกจ้างเกินกว่าจำนวนที่จำเป็นเมื่อเลิกจ้างแล้วหันมาใช้ วิธีจ้างงานในระบบ Subcontractorแทนเพื่อลูดค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้ ได้รับผลกำไรมากขึ้นซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมระบบการจ้างงานและระบบ เศรษฐกิจที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้ให้อ่อนแอลงไปอีก

"ผมเชื่อว่าถ้านายจ้างในประเทศและบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนประเทศไทยและ ประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ มีจิตสำนึกที่ดี มีคุณธรรมและมีธรรมาภิบาล ปัญหาการจ้างงานที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกของC OVID19สามารถที่จะ ร่วมกันแก้ไขได้อย่างแน่นอน สำหรับองค์กรของลูกจ้างในประเทศไทยได้พยายามทุกวิถีทางที่จะ ประสานความร่วมมือกับนายจ้างและรัฐบาลร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาช่องว่างในแคบลงและซะลอผลกระทบต่อลูกจ้างให้ช้าลงซึ่งได้รับ ความร่วมมือจากรัฐบาลโดยเฉพาะสำนักงานประกันสังคมอย่างดียิ่ง" นายพนัส

นายเดชบุญ กล่าวว่าในฐานะนายจ้างไทย ผมขอใช้โอกาสนี้ ในการกล่าวถึงผลกระทบของโควิด – 19 และวิกฤติการณ์ระดับโลก ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย และสิ่งที่นายจ้างไทยได้ดำเนินการเพื่อข้ามผ่านสถานการณ์ดังกล่าว

โควิด – 19 และวิกฤติการณ์ระดับโลก มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมานี้ เพื่อรับมือกับวิกฤติการแพร่ระบาดของโรค เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ประเทศไทยได้มีการดำเนินมาตรฐานล็อคดาวน์ ซึ่งเป็นผลให้ธุรกิจหลายแห่งต้องปิดตัวลง หรือเลิกจ้างลูกจ้าง เนื่องจากไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายได้ รัฐบาลได้ตำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ ผ่านโครงการความช่วยเหลือทางสังคม และริเริ่มหลายกิจกรรม เพื่อเกื้อหนุนภาคธุรกิจในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้

ยกตัวอย่างเช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือจำนวน 3,000 บาทให้แก่ลูกจ้างในธุรกิจที่มีการรักษาระดับการจ้างงาน นอกจากนั้น ยังมีการดำเนินโครงการ Co-Payment เพื่อยกระดับอัตราการจ้างงานของแรงงานที่จบการศึกใหม่ โดยช่วยสนับสนุนค่าจ้างรายเดือนของลูกจ้างที่เรียนจบใหม่ให้แก่นายจ้าง

นอกเหนือจากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว พวกเรา ในฐานะนายจ้าง ไม่ได้นิ่งเฉย ตามหลักการ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ธุรกิจและลูกจ้างต้องรอดไปด้วยกัน ในช่วงเวลาอันยากลำบากที่ผ่านมา เราได้ดำเนินทุกวิธีทางที่เป็นไปได้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าลูกจ้างมีสภาพการทำงาน และสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อรับประกันสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัย นายจ้างส่วนใหญ่ได้มีการแจกจ่ายอุปกรณ์ตรวจเชื้อโควิด (ATK) และให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาล ผ่านประกันสุขภาพ และประกันสังคม นอกจากนั้น สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย ยังส่งเสริมให้สมาชิกที่มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินชดเชย ในอัตราที่เป็นธรรม และเตรียมชุดสิทธิประโยชน์ชดเชยที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง

ไม่เพียงแค่เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่การแพร่ระบาดของโรค และการล้อคดาวน์หลายครั้ง ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจส่วนใหญ่นำนโยบาย Work from Home มาปรับใช้ การขีดเส้นแบ่งระหว่างเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวกลายเป็นปัญหาที่รุนแรง เราจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่า ไม่มีลูกจ้างที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ โดยไม่ได้รับค่าจ้าง สิ่งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบในฐานะนายจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างให้สามารถก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้ไปได้ด้วยกัน โดยการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค และช่วยเหลือให้มีสภาพชีวิตที่ดี รวมถึงรับประกันว่าสิทธิของลูกจ้างได้รับการคุ้มครอง

ขณะนี้ การแพร่ระบาดกำลังจะสิ้นสุดลง ประเทศไทยคาดหวังที่จะดำเนินการขั้นต่อไป ในการเปิดภาคท่องเที่ยว เราได้เตรียมการสำหรับการฟื้นฟูจากสถานการณ์การแพร่ระบาด และสร้างให้ดีกว่าเดิม (build back better) โดยคาดหวังว่าระดับการจ้างงานในแต่ละภาคอุตสาหกรรมจะสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคท่องเที่ยว

"ดังนั้น เราจึงต้องมีการเตรียมการให้ลูกจ้างของเราพร้อมสำหรับโลกภายหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาด โดยการฝึกยกระดับ up-skill และ re-skill และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีคุณภาพ ไปพร้อมๆ กันนอกเหนือจากการคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยแล้ว เรายังมีความห่วงกังวลถึงแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากบริษัทสัญชาติไทยมีการทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว และเมียนมา ดังนั้น เราจึงสนับสนุนให้บริษัทสัญชาติไทยเหล่านี้ ดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานของ ILO สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทยได้จัดทำแนวทางและขอความร่วมมือจากบริษัทสัญชาติไทย ไม่ให้คิดถึงแต่ผลกำไรเท่านั้น แต่ให้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตและสิทธิของแรงงานด้วย"

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ หากปราศจากความช่วยเหลือจากรัฐบาล และการมีส่วนร่วมของนายจ้างและลูกจ้าง เราเชื่อมั่นว่ากรอบการทำงานในรูปแบบไตรภาคี จะทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความเจริญให้แก่ธุรกิจ และคุ้มครองสิทธิแรงงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...