ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท่องเที่ยว ย้อนกลับ
ททท.ชี้ เที่ยวปลอดโควิด คนปรับตัวทัวร์ส่วนตัวมากขึ้น
13 พ.ค. 2565

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวในรายการ Covid Forum ที่นี่มีคำตอบ จัดโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ ถึงประเด็น “ท่องเที่ยวอย่างไรให้ห่างไกลโควิด-19” ว่า ช่วงการระบาดโควิด ไทยสูญเสียรายได้ด้านการท่องเที่ยวกว่า 90% จากนักท่องเที่ยวปีละกว่า 40 ล้านคน เหลือเพียง 4 แสนคน แต่ระยะหลังการระบาดโควิดในประเทศไทยที่เริ่มลดลง ทำให้มีการท่องเที่ยวมากขึ้นตามแนวคิดว่า "เที่ยวให้หายแค้น" เราจึงมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวฟื้นตัว ซึ่งการผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศดำเนินไปอย่างมีขั้นตอนสอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เริ่มฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลายสถานประกอบการกลับมาเปิดให้บริการ โดยที่ผ่านมา ททท.ได้พยายาม Up และ Re Skill ให้ผู้ประกอบการทราบถึงพฤติกรรมนักท่องเที่ยวหลังโควิด เช่น การใส่ใจเรื่องสุขภาพ มาตรการความปลอดภัย การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ ไปจนถึงด้านเทคโนโลยีที่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อปรับตัว และเดินทางไปสู่ Next normal ที่เป็นขั้นกว่าของการใช้ชีวิตคู่โควิดต่อไป

"ท่องเที่ยวต่อไปจะเป็นลักษณะดิจิทัลทัวร์ลิซึ่ม ใช้ระบบออนไลน์เป็นหลัก นำเทคโนโลยีมาช่วย เช่น การจองคิวผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อเข้าอุทยานต่างๆ เพราะเรายังต้องระวังโรคระบาดอยู่ พร้อมกับการให้ความรู้ท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" นายนิธีกล่าว

นายนิธี กล่าวต่อว่า สำหรับโควิดทำให้การท่องเที่ยวได้พัฒนามาตรฐานใหม่คือ SHA และ SHA Plus ภายใต้การกำกับจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เพื่อสถานบริการมีความปลอดภัยด้านสุขภาพมากขึ้น ทั้งนี้ หลังจากที่มีการเปิดประเทศมากขึ้นเราจึงพัฒนามาตรฐาน SHA Extra Plus ที่สถานประกอบการต้องมีโรงพยาบาลคู่สัญญา กรณีรับและส่งต่อผู้ติดเชื้อโควิดด้วย

นายนิธี กล่าวว่า เอกสารเพื่อประกอบการเดินทางเข้าประเทศ ได้แก่ ไทยแลนด์พาส(Thailand Pass) วัคซีนพาสสปอต ประกันสุขภาพ และผลการตรวจหาเชื้อโควิดด้วย ATK ทั้งนี้ เมื่อมีการผ่อนคลายมากขึ้นก็จะเหลือเพียงพาสสปอตและวัคซีน ซึ่งก็จะการปรับแนวทางการใช้ไทยแลนด์พาสที่มากขึ้น เช่น การกรอกข้อมูลล่วงหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกัน คนไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศต้องศึกษาข้อมูลประเทศปลายทางด้วย ว่าจะต้องมีเอกสารใดเพื่อประกอบการเดินทาง อย่างไรก็ตาม หลังจากไทยประกาศเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ก็มีคนลงทะเบียนไทยแลนด์พาสกว่า 3 แสนคน โดมีการเดินทางเข้าประเทศเฉลี่ยวันละ 1 หมื่นคน หากมีการเปิดสายการบินเพิ่มก็คาดว่าจะมีคนเดินทางมากยิ่งขึ้นไป

ด้าน พญ.พิมพ์พรรณ พิสุทธิ์ศาล อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การประเมินความเสี่ยงของผู้เดินทางทั้งภายในและนอกประเทศ จะไม่แตกต่างกัน คือ 1.ปัจจัยเสี่ยงบุคคล ประกอบด้วยอายุ โรคประจำตัว ความเสี่ยงติดเชื้อหรือการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าคนอื่น 2.ลักษณะการท่องเที่ยวและการเดินทาง เพื่อประเมินความสี่ยงให้เหมาะสมกับแต่ละคน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกคนอยากท่องเที่ยว แต่ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น แม้โควิดจะเป็นโรคประจำถิ่น(Endemic) แต่การไม่ติดเชื้อจะดีที่สุด เพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงอาการลองโควิด ทั้งนี้ คนไทยสามารถขอใบรับรองวัคซีนผ่านแอพพ์หมอพร้อม ซึ่งจะเป็นรูปแบบออนไลน์แต่ใช้ได้ทั้งในและนอกประเทศ เพราะผ่านการยืนยันตัวตนด้วยการกรอกข้อมูลในหมอพร้อมแล้ว

"ลักษณะการท่องเที่ยวตอนนี้เปลี่ยนไป จากที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ก็จะเริ่มกลุ่มเล็กและส่วนตัวมากขึ้น โดยข้อแนะนำคือ เมื่อกลับจากเที่ยวแล้วก็ควรตรวจหาเชื้อด้วย ATK ระหว่าง 3-5 วัน หรือเมื่อมีอาการ หรือตรวจด้วย RT-PCR" พญ.พิมพ์พรรณกล่าว

พญ.พิมพ์พรรณ กล่าวต่อว่า การป้องกันสุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะการท่องเที่ยวต่างประเทศหรือใช้ชีวิตประจำวันในประเทศ ก็จะเหมือนกันคือ การป้องกันติดเชื้อ เลี่ยงการเข้าที่คนแออัด สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างและล้างมือ โดยเฉพาะการติดเชื้อโควิดเมื่ออยู่ต่างประเทศ อาจส่งผลเรื่องการเดินทางกลับประเทศได้ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ฉะนั้นประกันสุขภาพการเดินทางมีความจำเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ การดูแลตนเองหากติดเชื้อเมื่ออยู่ต่างประเทศ ต้องดูมาตรการกักตัวในแต่ละประเทศ อย่างเช่นไทยยังต้องกักตัว 10 วัน ก่อนออกเดินทางได้

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ความรู้ด้านสุขภาพ ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ "กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" ที่จะมาอัพเดตสถานการณ์สุขภาพให้ทุกท่านในทุกๆ วัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...