ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ชป. สั่งชลประทานทั่วประเทศรับมือฤดูฝนปี 65
03 พ.ค. 2565

ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) กรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำ(กทม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (1 พ.ค.65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 43,604 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีน้ำใช้การได้ประมาณ 19,667 ล้าน ลบ.ม. ได้มีการจัดสรรน้ำทั้งประเทศไปแล้ว 22,998 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 103 ของแผนฯ เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 10,179 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 3,483 ล้าน ลบ.ม. และมีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 6,305 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 111 ของแผนฯ ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้สิ้นสุดการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งแล้ว พบว่าทั้งประเทศมีการใช้น้ำเกินแผนเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด ทำให้การใช้เป็นไปตามแผนที่วางไว้และเพียงพอตลอดฤดูแล้งที่ผ่านมา หลังจากนี้จะเป็นการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน จึงได้กำชับให้โครงการชลประทานทั่วประเทศ ดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ที่ ครม.เห็นชอบ ทั้ง 13 มาตรการอย่างเคร่งครัด พร้อมติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ให้บริหารจัดการน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยคำนึงถึง ปริมาณ เวลา ผลกระทบ ความมั่นคงของอาคารชลประทาน และระเบียบกฎหมาย เป็นหลัก
รวมทั้งหมั่นตรวจสอบความมั่นคงของอาคารชลประทานให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ หากมีการปรับปรุงหรือซ่อมแซมให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยไว พร้อมกับจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือหากเกิดสถานการณ์น้ำหลาก จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ รวมทั้งระบบสื่อสารสำรองให้พร้อมใช้งานได้ทันที หมั่นกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญให้รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางในการบริหารจัดการในพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดได้ทราบอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างทันท่วงที

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...