ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ปศุสัตว์แนะดูแลสัตว์ช่วงฤดูโรคระบาดในสัตว์
20 มี.ค. 2565

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ กรมปศุสัตว์จึงขอความร่วมมือเกษตรกรหรือเจ้าของสัตว์ในการดำเนินการป้องกัน ควบคุม กำจัดหรือลดปริมาณแมลงพาหะนำโรค โดยการใช้สารกำจัดแมลงพาหะด้วยวิธีการฉีดพ่นบริเวณคอกหรือสถานที่พักอาศัยของสัตว์ ร่วมกับการใช้ยาฉีดพ่น หรือราดหลัง หรือหยดบนตัวสัตว์ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์บริเวณสถานที่เลี้ยงสัตว์หรือแหล่งรวมสัตว์ไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง หรือแหล่งเพาะพันธุ์แมลง ทำความสะอาดฆ่าเชื้อคอกสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้มีอุจจาระ ปัสสาวะหมักหมม ควรเก็บอุจจาระไว้ในสถานที่ป้องกันแมลง และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี รวมทั้ง เฝ้าระวังและสังเกตอาการของสัตว์ทุกวัน ซึ่งหากพบสัตว์ป่วยตายผิดปกติ หรือแสดงอาการป่วย เช่น ม้า ลา ล่อ แสดงอาการซึม มีไข้ (อุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) กินอาหารลดลง มีอาการบวมน้ำบริเวณขมับหรือคอ ตาแดงอักเสบชัก หรือกระวนกระวายคล้ายอาการเสียดท้อง

ส่วนในโค-กระบือ หากพบสัตว์แสดงอาการซึม มีไข้ (อุณหภูมิมากกว่า 39.5 องศาเซลเซียส) ไม่กินอาหาร มีตุ่มนูนตามผิวหนัง หายใจลำบาก ให้เกษตรกรหรือเจ้าของสัตว์ แจ้งเจ้าหน้ากรมปศุสัตว์ ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ หากไม่สะดวกสามารถโทรฯแจ้งมายังสายด่วนกรมปศุสัตว์ 06-3225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เข้าทำการตรวจสอบ ให้การช่วยเหลือและควบคุมโรคโดยทันทีและหากพบสัตว์ป่วยที่แสดงอาการสงสัยด้วยโรคระบาดข้างต้น ห้ามทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากฟาร์มโดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปยังท้องที่อื่นๆ

นอกจากนี้ ควรจะเข้มงวดเกี่ยวกับการห้ามยานพาหนะโดยเฉพาะรถรับซื้อสัตว์ รถอาหารสัตว์ รถรับซื้อมูลสัตว์ เข้าภายในฟาร์มโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องทำการฆ่าเชื้อยานพาหนะจากภายนอกทุกคันที่เข้า-ออกฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมถึงควบคุมแมลงพาหะด้วยสารกำจัดแมลงที่อาจมากับยานพาหนะดังกล่าวด้วย และงดการนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์ของโรคเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่

ทั้งนี้ หากกรณีเกษตรกรนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ควรมีการกักแยกสัตว์ออกจากฝูงเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 28 วันพร้อมทั้งกางมุ้งกันแมลงหรือใช้สารกำจัดแมลงเพื่อควบคุมแมลงพาหะอย่างเหมาะสมทั้งนี้ ขอเน้นย้ำให้เกษตรกรหรือเจ้าของสัตว์ ดูแลสัตว์ของตนเอง โดยการให้น้ำและอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพให้พอเพียงกับสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ที่ดีรวมทั้งหมั่นสังเกตอาการของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ป้องกันสัตว์ของตนเองไม่ให้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะนำโรคเข้าฟาร์ม ได้แก่ คน ยานพาหนะต่างๆ สัตว์ที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นต้น และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...